มหาวิทยาลัยวอชิงตัน จัดสัมภาษณ์เดี่ยวกับคณบดีและศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์

อังคาร ๐๖ มีนาคม ๒๐๐๗ ๑๐:๕๐
กรุงเทพฯ--6 มี.ค.--ทีคิวพีอาร์
บริษัท ทีคิวพีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในนามของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ มีความยินดีขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชนเข้าร่วมงานสัมภาษณ์เดี่ยว และพบปะกับคณบดีและศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ ซึ่งจะมาเยือนกรุงเทพฯในวันที่ 12-13 มีนาคม 2550 เพื่อร่วมประชุมเกี่ยวกับกองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์ (McDonnell International Scholars Academy) รวมไปถึงประชุมประเด็นสำคัญอื่นๆที่มีผลต่อความสัมพันธ์ทางการศึกษากับประเทศไทย
การมาเยือนของคณบดีและศาสตราจารย์กว่า 21 ท่านจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ นับว่าเป็นโอกาสอันดียิ่งสำหรับสื่อมวลชนไทยที่จะได้ทำความรู้จัก ขอความคิดเห็น และพูดคุยซักถามศาสตราจารย์ทั้งหลายผู้ทรงคุณวุฒิ และมากซึ่งประสบการณ์ในการศึกษาในแขนงต่างๆ อาทิ แพทยศาสตร์ สุขภาพ พันธุกรรม วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ พืชศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ธรณีพิบัติ เศรษฐศาสตร์ ชีวแพทยศาสตร์ พลังงาน เทคโนโลยีชีวภาพ นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ สถาปัตยกรรม ฯลฯ โดยจะแบ่งการสัมภาษณ์เดี่ยวออกเป็น 5 กลุ่มย่อย (กรุณาดูเอกสารแนบ) ท่านสามารถเลือกสัมภาษณ์ศาสตราจารย์ท่านใดท่านหนึ่งใน 21 ท่าน หรือมากกว่านั้น ตามสาขาที่ท่านสนใจ กรุณาตรวจสอบวัน/เวลาที่ศาสตราจารย์พร้อมให้สัมภาษณ์ในเอกสารแนบ การสัมภาษณ์เดี่ยวจะจัดขึ้นใน:
วันจันทร์ที่ 12 & วันอังคารที่ 13 มีนาคม 2550
กรุณาตรวจสอบตารางเวลา และประวัติโดยสังเขปของศาสตราจารย์
ในเอกสารแนบ ตามสาขาที่ท่านสนใจและตามเวลาที่ท่านสะดวก
สถานที่: โรงแรมเพนนินซูล่า ถนนเจริญนคร กรุงเทพฯ
ห้องสาวิตรี
บริษัท ทีคิวพีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในนามของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ต้อนรับท่านในงานสัมภาษณ์เดี่ยวในครั้งนี้ โดยทีมงานจากทีคิวพีอาร์จะทำหน้าที่เป็นล่ามตลอดการสัมภาษณ์ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม หรือยืนยันเข้าร่วมงานฯ กรุณาติดต่อคุณอ้อม หรือดิฉัน ทางโทร 0-2260-5820 ต่อ 117, 08-6633-8171 หรืออีเมล์ [email protected]
วัน เวลาและกลุ่มต่างๆ ท่านสามารถเลือกศาสตราจารย์ที่ท่านสนใจซักถามและกลุ่มเวลาที่สะดวกในการให้สัมภาษณ์
12 มีนาคม 2550
กลุ่ม A 09.00-11.30น.
กลุ่ม B 12.00-13.30น.
กลุ่ม C 13.30-15.00น.
กลุ่ม D 15.00-17.00น.
13 มีนาคม 2550
กลุ่ม E 09.00-11.30น.
กลุ่ม F 14.00-17.00น.
รายละเอียดกลุ่ม / เวลาที่สะดวกให้สัมภาษณ์ และความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ โดยสังเขปของคณบดีและศาสตราจารย์ทั้ง 21 ท่าน:
กลุ่ม A, B หรือ F: สิ่งแวดล้อม นาโนเทคโนโลยี มลภาวะ — ศ. ดร. ประทิม บิสวาส ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาพลังงาน วิศวกรรมศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเคมี ณ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ท่านเป็นที่รู้จักระดับประเทศในผลงานด้านละอองของเหลว คุณภาพอากาศ และเทคโนโลยีอนุภาคนาโน
กลุ่ม A, B, C, D หรือ E: เทคโนโลยีชีวภาพ พืชศาสตร์ — ศ. ดร. วิลเลี่ยม เอช. แดนฟอร์ธ อธิการบดีกิตติคุณมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ ท่านมีบทบาทสำคัญต่อมหาวิทยาลัยและเมืองสำคัญในการปฏิวัติวงการพลังงานชีวภาพ ณ นครเซนต์หลุยส์ และเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีชีวภาพ พืชศาสตร์ ฯลฯ อีกทั้งท่านยังเป็นผู้สนับสนุนหลักแก่การศึกษาระดับชั้นประถมและมัธยมศึกษาให้มีคุณภาพดีที่สุดสำหรับนักเรียนในนครเซนต์หลุยส์
กลุ่ม A, B หรือ F: วิศวกรรมศาสตร์ด้านธรณีพิบัติภัย — ศ. ดร. เชอร์รี่ ไดค์ ผู้เชี่ยวชาญทางสถาปัตยกรรมการออกแบบอาคารเพื่อให้คงทนต่อธรณีพิบัติหรือแผ่นดินไหว ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลกด้านผลงานที่ศึกษาอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับพลังงานเคลื่อนที่ และการควบคุมโครงสร้าง การสั่นสะเทือน และวิศวกรรมศาสตร์ด้านธรณีพิบัติ
กลุ่ม A, B, E หรือ F: ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ — ศ. ดร. เจอรัลด์ แอล. เออร์ลี่ นักวิจัยแห่งสถาบันการศึกษาศิลปศาสตร์และวิทยาศาตร์แห่งอเมริกา ท่านเป็นนักวิจารณ์ประจำวิทยุสาธารณะแห่งชาติ "Fresh Air" ดร. เออร์รี่เป็นที่รู้จักระดับประเทศทางด้านการเขียนเรียงความและเป็นนักวิจารณ์วัฒนธรรมอเมริกัน และท่านยังเป็นผู้อำนวยการศูนย์มนุษยชาติ ท่านมีความเชี่ยวชาญทางด้านวรรณกรรมอเมริกันและอัฟริกันอเมริกันและอัตชีวประวัติอัฟริกันอเมริกัน
กลุ่ม A, B หรือ F: กฎหมายสากล — ศ. ดร. สตีเฟ่น เลอกอมสกี้ นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ท่านเป็นอดีตผู้อำนวยการผู้ก่อตั้งสถาบันนิติศาสตร์กฎหมายสากลและเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย การอพยพ และสิทธิมนุษยชนสากล
กลุ่ม A, B, E หรือ F: เศรษฐศาสตร์สากล — ศ. ดร. เจมส์ ลิตเติ้ล ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจสากล นโยบายธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์พัฒนา ท่านมีอิทธิพลอย่างมากในการเผยแพร่หลักสูตรธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยวอชิงตันไปยังต่างประเทศ และท่านมีบทบาทสำคัญในการริเริ่มหลักสูตร MBA เพื่อผู้บริหารในมหาวิทยาลัยวอชิงตัน และมหาวิทยาลัยฟูดาน ณ นครเซี่ยงไฮ้ ปัจจุบันหลักสูตรดังกล่าวได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสาร Financial Times ให้เป็นหลักสูตร EMBA ที่ดีที่สุดในประเทศจีน และติดอันดับ 8 ของโลก
กลุ่ม F: แพทยศาสตร์ — จอห์น เอฟ. แม็คดอนเนล อดีตประธานกรรมการบริษัท แม็คดอนเนลล์ ดักลาส คอร์ปอเรชั่น และผู้ก่อตั้งกองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์ (McDonnell International Scholars Academy) และปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการสภามหาวิทยาลัยวอชิงตัน ท่านเป็นผู้สนับสนุนหลักในการศึกษานานาชาติ และเป็นผู้สนับสนุนริเริ่มแห่งกองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ อีกทั้งท่านยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ โรงพยาบาล Barnes-Jewish หนึ่งในศูนย์กลางทางการแพทย์ชั้นนำสำหรับการวิจัยในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นพันธมิตรกันระหว่างโรงพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน
กลุ่ม A, B, C, D, E, หรือ F: การศึกษา — ศ. ดร. โรเบิร์ต อี. แตช คณบดีคณะศิลปศาสตร์ ท่านมีความเชี่ยวชาญในหลักสูตรริเริ่มเพื่อพัฒนาการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย รวมไปถึงวิถีทางในการย่นเวลาเพื่อจบการศึกษา และเพิ่มอัตราผู้สมัครระดับดุษฎีบัณฑิตได้อย่างน่าทึ่ง ท่านเคยเป็นผู้จัดการประชุมกองทุนเล่าเรียนเพื่อการศึกษานานาชาติ ณ กรุงปักกิ่ง (2548) และนคร เซี่ยงไฮ้ (2549) และล่าสุดท่านได้มีบทบาทสำคัญในบันทึกเหตุการณ์การศึกษาขั้นสูง ซึ่งเป็นหัวเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาระบบการจัดอันดับทางการศึกษาให้น่าเชื่อถือ และเป็นหลักสูตรการศึกษาที่ทันสมัยที่สุดในสหรัฐฯ
กลุ่ม A, B หรือ D: พืชศาสตร์ — ศ. ดร. ราล์ฟ เอส. ควอตราโน่ ศ.ประจำคณะศิลปศาสตร์และหัวหน้าคณะชีววิทยา มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์ หลุยส์ ท่านโด่งดังไปทั่วโลกด้านพืชศาสตร์ รูปแบบพัฒนาการของเมล็ดพันธุ์ และวิธีที่เมล็ดทำให้เซลล์มีคุณสมบัติหรือลักษณะพิเศษของพืชที่โตเต็มที่ในช่วงพัฒนาการของเมล็ดพันธุ์ ตัวอย่างพืชพื้นฐานที่อยู่ในงานทดลอง ได้แก่ วัชพืช และเมล็ดธัญพืชที่กำลังเติบโต
กลุ่ม A หรือ B: แพทยศาสตร์และสุขภาพ — ศ. ดร. แลร์รี่ ชาปิโร่ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารด้านการแพทย์และคณบดี มหาวิทยาลัยวอชิงตัน คณะแพทยศาสตร์ ซึ่ง U.S. News และ World report จัดอันดับให้เป็นหนึ่งในห้าคณะแพทยศาสตร์ที่ขึ้นชื่อมากที่สุดในประเทศ มากกว่า 1 ทศวรรษมาแล้วที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นคณะที่โดดเด่นมากที่สุดในสหรัฐฯ นอกจากนี้ ดร. ชาปิโร่ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านพันธุกรรมเด็กที่มีชื่อเสียงระดับโลก
กลุ่ม C, D, E หรือ F: เศรษฐศาสตร์ — ชานซ์เซลเลอร์ มาร์ค ไร้ท์ตั้น ประธานบริหาร หนึ่งในมหาวิทยาลัยด้านการวิจัยชั้นนำของสหรัฐฯ ที่มีงบประมาณประจำปี 1.6 พันล้านเหรียญดอลลาร์ และการวิจัยที่ได้รับเงินสนับสนุนรายปีมากกว่า 550 ล้านเหรียญดอลลาร์ ท่านเป็นอดีตประธาน MIT ช่วงก่อนปี 2538 และได้รับ “รางวัลอัจฉริยะ” จากแม็คอาร์เธอร์ สำหรับงานวิจัยที่โดดเด่นด้านเคมี ท่านเป็นอดีตประธานสมาคมมหาวิทยาลัยอเมริกา (มหาวิทยาลัย 62 แห่งชั้นนำในทวีปอเมริกาเหนือ) และหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ขั้นสูง
กลุ่ม A, B หรือ F: การแก้ไขปัญหาสังคม — ศ. ดร. โกตาม่า ยาดามะ ได้รับการยกย่องในเอเชียกลางในความพยายามริเริ่มความคิดให้บริการทางสังคมและโครงสร้างพื้นฐานนโยบายสาธารณะในประเทศด้อยพัฒนา ด้วยความท้าทายด้านการให้บริการมนุษยชนที่ยากลำบาก ท่านร่วมงานกับพันธมิตรมหาวิทยาลัยวอชิงตันและสถาบันสังคมแบบเปิดแห่งชาติในการอบรมผู้นำรุ่นใหม่ๆ เพื่อที่จะมาช่วยเหลือประเทศของพวกเขาในการสร้างระบบบริการทางสังคม ท่านยังเป็นทูตประจำกองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์ (McDonnell International Scholars Academy) ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่ม A, B หรือ E: วิศวกรรมศาสตร์และชีวแพทยศาสตร์ — ศ. ดร. แฟรงค์ ยิน ดำรงตำแหน่งประธาน หนึ่งในคณะที่โดดเด่นที่สุดของอเมริกา และเป็นผู้เชี่ยวชาญที่รู้จักกันเป็นอย่างดีทั่วโลกด้านเครื่องยนต์กลไก เซลล์ไฟฟ้าและเนื้อเยื่ออ่อน
กลุ่ม A, B หรือ F: ศิลปกรรม - คาร์มอน โคแลนจีโล คณบดีคนแรกแห่งสถาบันการศึกษาการออกแบบและทัศนศิลป์ แซม ฟอกซ์ แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ซึ่งจะเป็นต้นแบบแห่งชาติในด้านการสร้างสรรค์ การศึกษา และงานแสดงนิทรรศการงานสหวิทยาการและความร่วมมือ ท่านมีความชำนาญทางด้านผลกระทบของสื่อดิจิตอลต่อศิลปะร่วมสมัยและการศึกษาด้านศิลปกรรม การศึกษาแบบสหวิทยาการและศิลปะร่วมสมัย
กลุ่ม A, B หรือ F: การบริหารธุรกิจ — ศ. ดร. มาเฮรดรา อาร์. กุปตา คณบดีวิทยาลัยธุรกิจโอลิน และศ.การบัญชีและการบริหาร ดร. กุปตาร่วมงานกับมหาวิทยาลัยฟูดาน ประเทศจีนในการนำเสนอหลักสูตร EMBA อันดับหนึ่งแก่ชาวจีน ณ นครเซี่ยงไฮ้ โดยหลักสูตรดังกล่าวใกล้เคียงกับหลักสูตร EMBA ของวิทยาลัยโอลิน ณ นครเซนต์ หลุยส์โดยใช้อาจารย์และหลักสูตรเดียวกัน ท่านดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบรรณาธิการ The Accounting Review, Journal of Management Accounting research, Canadian Accounting Review และ Accounting Horizons และเป็นที่ปรึกษาทั้งบริษัทรัฐและเอกชนและเป็นวิทยากรตามงานประชุมเชิงปฏิบัติการและการประชุมต่างๆ ทั่วโลก
กลุ่ม A, B, C หรือ F: สุขภาพ — ศ. ดร. เอ๊ดวาร์ด เอฟ. ลอเลอร์ คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ สถาบันจอร์ช วอร์เรน บราวน์ ดร.ลอเลอร์มีประวัติโดดเด่นทางวิชาการด้านนโยบายเพื่อสุขภาพ ด้วยความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งเรื่องการดูแลสุขภาพ โครงการสวัสดิการสังคม และการฟื้นฟูสุขภาพ ระบบสุขภาพระดับสากล และการเจริญเติบโต
กลุ่ม A, B, C หรือ F: สิ่งแวดล้อมและพืชศาสตร์ — ศ. ดร. เอ็ดเวิร์ด เอส. มาเซียส รองอธิการบดีบริหารมหาวิทยาลัย คณบดีภาควิชาวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ท่านมีความเชี่ยวชาญทางด้านมลภาวะทางอากาศ และกรณีศึกษามลภาวะทางอากาศ ณ แกรนด์แคนยอน ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงโด่งดัง อีกทั้ง ท่านยังเป็นผู้นำการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย และเป็นผู้สนับสนุนหลักด้านพืชศาสตร์ เคมี และการวิจัยทางชีววิทยา
กลุ่ม A, B, E หรือ F: ศิลปกรรมศาสตร์ - เจฟฟ์ ไพค์ คณบดีวิทยาลัยศิลปกรรมและสถาบันศิลปกรรมและการออกแบบ แซม ฟ็อก ท่านศึกษาด้านผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิตอลต่อศิลปกรรมศาสตร์และการออกแบบ และเป็นผู้สนับสนุนการเรียนการสอนของนักศึกษาศิลปกรรมระดับวิทยาลัยและปริญญาตรี อีกทั้งยังเป็นผู้สนับสนุนนโยบายการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษาศิลปกรรม ได้เรียนรู้เพิ่มในวิชาแขนงอื่น อาทิ การบริหาร วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
กลุ่ม A, B หรือ F: กฎหมายสากล — ศ. ดร. เค้นท์ ดี. ซีเวอร์รุด นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณบดีสถาบันนิติศาสตร์ ท่านเป็นนักวิชาการทางด้านการเจรจาต่อรอง การว่าความคดีซ้อน การประกันภัย และกระบวนการทางแพ่ง นอกจากนี้ ท่านยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารในสถาบันนิติศาสตร์ และล่าสุดท่านเพิ่งจะพ้นวาระตำแหน่งประธานสมาคมคณบดีด้านกฏหมายอเมริกัน
กลุ่ม A, B, E หรือ F: เศรษฐศาสตร์ — ศ. ดร. ปิง หวัง ประธานศิลปศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ท่านมีความเชี่ยวชาญในด้านทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์มหัพภาค เศรษฐศาสตร์การเงิน เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสุขภาพและสังคม การเติบโตและการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก
กลุ่ม B, E หรือ F: ศิลปศาสตร์ & วิทยาศาสตร์ — ศ. ดร. เจมส์ วี. เวิร์ช ผู้อำนวยการกองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์ (McDonnell International Scholars Academy) ด้านศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ดร. เวิร์ชเป็นผู้นำหนึ่งในหลักสูตรกองทุนเล่าเรียนนานาชาติที่แหวกแนวมากที่สุดในโลก ซึ่งได้แก่ กองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติ แม็คดอนเนลล์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านความทรงจำร่วมและเอกลักษณ์ร่วม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO