สวรส. ชี้นโยบายหลักประกันสุขภาพ ผลักดันบุคลากรทำงานในระดับชุมชนมากขึ้น

พุธ ๒๒ สิงหาคม ๒๐๐๗ ๑๖:๓๐
กรุงเทพฯ--22 ส.ค.--สวรส.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) นำเสนอประสบการณ์การบริหารจัดการกำลังคนด้านสาธารณสุขไทยในที่ประชุมนานาชาติ ชี้นโยบายหลักประกันสุขภาพกระตุ้นให้มีการกระจายบุคลากรไปทำงานที่สถานพยาบาลปฐมภูมิในระดับชุมชนมากขึ้น
ในการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับการสาธารณสุขมูลฐาน ณ กรุงบัวโนสแอเรส ประเทศอาร์เจนตินาที่ผ่านมา นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการ สวรส. ได้นำเสนอประสบการณ์การแก้ไขปัญหากำลังคนด้านสาธารณสุขของประเทศไทย โดยชี้ให้เห็นว่าแม้ประเทศไทยจะมีความพยายามในการแก้ไขปัญหากำลังคนด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันยังมีปัญหาเรื่องการกระจายแพทย์อยู่มาก โดยพบว่าแพทย์ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร จังหวัดในภาคกลาง จังหวัดที่มีเศรษฐกิจดี และส่วนใหญ่เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ขณะที่ประเทศมีความต้องการแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมากกว่า
เมื่อรัฐบาลเริ่มดำเนินนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี 2545 มีความวิตกกังวลว่า ปัญหาการกระจายแพทย์อาจทำให้ประชาชนได้รับบริการอย่างไม่ทั่วถึง แต่ข้อมูลจากการศึกษากลับพบว่า อัตราการใช้บริการของผู้มีสิทธิประกันสุขภาพไม่สัมพันธ์กับอัตราแพทย์ต่อประชากรผู้มีสิทธิ โดยสรุปคือประชาชนสามารถได้รับบริการไม่แตกต่างกัน แต่ในพื้นที่ที่มีแพทย์จำนวนน้อยจะมีภาระงานสูงกว่าพื้นที่ที่มีแพทย์จำนวนมากกว่า แพทย์ที่มีภาระงานมากอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพบริการที่ให้กับประชาชนได้
นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้ผู้มีสิทธิใช้บริการเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 และการกำหนดให้ผู้มีสิทธิต้องลงทะเบียนและใช้บริการที่สถานพยาบาลปฐมภูมิเป็นแห่งแรก มีผลทำให้การใช้บริการที่สถานพยาบาลปฐมภูมิเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ทำให้ความต้องการบุคลากรที่สถานพยาบาลระดับปฐมภูมิเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การจ่ายเงินแบบเหมาจ่ายรายหัวให้สถานพยาบาลคู่สัญญายังทำให้มีการกระจายแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขไปยังสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ และพื้นที่ที่ขาดแคลนเพิ่มขึ้น เพราะสถานพยาบาลที่มีบุคลากรจำนวนมากต้องควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรของตนเอง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนโยบายการจ่ายเงินกลับไปกลับมาระยะแรกๆ ทำให้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ยั่งยืน
นพ.พงษ์พิสุทธิ์ กล่าวในท้ายที่สุดว่า การแก้ไขปัญหากำลังคนด้านสาธารณสุขเป็นเรื่องละเอียดอ่อน การเพิ่มค่าตอบแทนหรือการใช้มาตรการทางการเงินอื่นๆ สามารถกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้บ้างแต่อาจไม่ยั่งยืน ต้องใช้มาตรการหลายด้านประกอบกัน และต้องทำโดยมีความรู้ความเข้าใจในปัญหาอย่างถ่องแท้ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาในระยะยาว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
โทร.0-2270-1350-4 ต่อ 105 E-mail : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ