กรมส่งเสริมสหกรณ์ แนะ ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีวินัย ใส่ใจอาชีพ หมดหนี้แน่นอน

อังคาร ๑๔ สิงหาคม ๒๐๐๗ ๑๒:๒๓
กรุงเทพฯ--14 ส.ค.--กรมส่งเสริมสหกรณ์
กรมส่งเสริมสหกรณ์ย้ำ เกษตรกรต้องเชื่อมั่นและเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ อย่าปิดกั้นตัวเองและพร้อมเข้าถึงแก่นของการเกษตร เพื่อผลแห่งความสำเร็จในอนาคต
นางสาวสุพัตรา ธนเสนีวัฒน์อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์กล่าวถึงโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมส่งเสริมสหกรณ์ว่า “โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนเป็นโครงการที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้เปิดโอกาสให้เกษตรกรนำที่ดินของตน (กสน.3)มายื่นเป็นหลักประกันสินเชื่อกับ ธกส. เพื่อกู้เงินอย่างถูกต้องตามระบบและนำไปประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม โดยโครงการดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการที่ทำให้เกษตรกรนำเงินที่ได้มาไปลงทุนประกอบอาชีพต่างๆ ซึ่งประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ตั้งไว้”
อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ปัจจัยที่ทำให้การประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จเริ่มตั้งแต่การฝึกอบรมผู้แทนสหกรณ์ภาคการเกษตร การให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในการเลือกประกอบอาชีพ เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด การฝึกอบรมเกษตรกรให้มีความรู้และเข้าใจระบบกลไกของตลาดตลอดจนเทคนิควิธีการต่างๆ ในการประกอบอาชีพ การฟื้นฟูอาชีพของเกษตรกร ทั้งการให้งบประมาณถ่ายทอดเทคโนโลยีและงบประมาณสนับสนุนปัจจัยการผลิตต่างๆการประชาสัมพันธ์ประชุมชี้แจง ติดตาม กำกับ แนะนำการดำเนินงานตามโครงการ ทั้งนี้เกษตรกรต้องควบคุมการใช้จ่าย โดยไม่นำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์หรือนำไปใช้จ่ายในทางที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อีกทั้งเกษตรกรต้องเปิดใจและพร้อมที่จะรับความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมหรือถ่ายทอดและพยายามทำความเข้าใจวัตถุประสงค์หลักของโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนที่ตนเข้าร่วม และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือเกษตรกรจะต้องยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”
เกี่ยวกับโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน
โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2546 โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1.ให้เร่งรัดการออกเอกสารสิทธิสัญญา หนังสืออนุญาตต่างๆ เกี่ยวกับสินทรัพย์ที่จะนำมาแปลงเป็นทุน รวมทั้งการตรวจสอบรับรองความถูกต้องของเอกสารดังกล่าว 2.เปิดโอกาสให้ผู้ครอบครองเอกสารสิทธิ์ สัญญาและหนังสืออนุญาตสามารถใช้เอกสารเหล่านั้นเข้าถึงแหล่งทุนได้โดยเน้นผู้ครอบครองรายย่อยและธุรกิจขนาดเล็ก 3.ให้มีการปรับระบบข้อมูลสินทรัพย์และการประเมินสินทรัพย์ที่ถูกต้อง โปร่งใสมีความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย 4.ให้มีการจัดที่ดินและสินทรัพย์อื่นให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ