กรุงเทพฯ--9 ม.ค.--สำนักงานพืชสวนโลก
9 มกราคม 2550 / นายอิบบราฮิม ยูซุป เอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย ประจำประเทศไทย พร้อมด้วยนายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีแลกเปลี่ยนธงชาติไทย-อินโดนีเซีย ณ เวทีวัฒนธรรม เพื่อเปิดงานเฉลิมฉลองวันชาติประเทศอินโดนีเซียอย่างน่าประทับใจ พร้อมเตรียมการแสดงประจำชาติที่หาดูได้อยากกว่า 10 ชุดจัดแสดงเต็มอิ่มตลอด 9 วัน
นายอิบบราฮิม ยูซุป เอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ประเทศอินโดนีเซียนอกจากจะเข้าร่วมเฉลิมพระเกียรติโดยการจัดสวนเอกลักษณ์สไตล์อินโดแล้ว ในโอกาสพิธีเฉลิมฉลองวันชาติของประเทศอินโดนีเซีย ยังได้เตรียมนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศ โดยนาย อิสกันดาร์ แอนดี นาฮุง ผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และที่สำคัญได้กิจกรรมเฉลิมฉลองวันชาติอินโดนีเซียอย่างยิ่งใหญ่และน่าประทับใจในงานพืชสวนโลกอีกด้วย เพื่อให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติได้เรียนรู้และสัมผัสกับความเป็นมาทั้งด้านเศรษฐกิจ การเกษตร การท่องเที่ยว สังคม และศิลปวัฒนธรรมของประเทศ อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ได้จัดเตรียมการแสดงศิลปวัฒนธรรมมาอย่างเต็มรูปแบบ จำนวน 14 ชุดในระหว่างวันที่ 7 — 15 มกราคม ณ บริเวณเวทีวัฒนธรรม (Grand Amphitheatre) ได้แก่ ระบำเรโม (REMO DANCE) เป็นระบำพื้นเมืองที่มีมากในชวาตะวันตก เนื้อหาเกี่ยวกับวีรบุรุษในช่วงการต่อสู้เพื่ออิสรภาพอินโดนีเซีย แสดงถึงความอบอุ่นเพื่อต้อนรับแขกที่มาเข้าชม ระบำนกยูง (PEACOCK DANCE) เป็นระบำที่มีท่วงทำนองของดนตรีมโหรีพื้นเมืองของชวาตะวันตก ซึ่งมีแรงบันดาลใจจากชีวิตของนกยูง ด้วยสีสันที่สวยงาม ของเสื้อผ้า และการเคลื่อนไหวอย่างเป็นจังหวะของผู้เต้น ระบำ JEJER JARAN DAWUK ระบำพื้นเมืองที่รวบรวมวิถีชีวิตของคนในสังคมที่มีความหลากหลาย ระบำปาจู กันดรุง (PAJU GANDRUNG DANCE) เป็นระบำพื้นเมืองที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของสังคมที่เรียกว่า กันดรุง ระบำจาระนัน บูโต (JARANAN BUTO DANCE) เป็นการแสดงที่มีลักษณะพื้นฐานบนการแสดงศิลปะของคนที่ชื่อว่า จาระนัน พบมากในชวาตะวันตก นักเต้นทุกคนของจาระนันโดยปกติจะถือหุ่นละครม้าที่ทำจากไม้ไผ่ในตำนาน ระบำ JEMPARING (JEMPARING DANCE) เป็นการแสดงใหม่ที่รวมไว้ซึ่งเทคนิคและการเคลื่อนไหวที่พบได้ทั่วไปในระบำแบบดั้งเดิมของอาณาจักรสุราการ์ตา (Surakarta) ในชวากลาง ระบำนี้แสดงให้เห็นถึงภาพความแข็งแกร่งและกล้าหาญของกองทัพ JEMPARING ผู้ซึ่งฝึกฝนการต่อสู้กับศัตรู การเคลื่อนไหวของระบำถูกจัดอยู่ในลักษณะที่เป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ของพลังงาน อวกาศ และเวลา รวมกับความแตกต่างกันเล็กน้อยของดนตรี ซึ่งบ่งบอกลักษณะความเป็นวีระบุรุษ และลักษณะท่าทางของผู้เต้น
ระบำKlono Sembunglangu dance 12’15’’ ระบำนี้เป็นการแสดงแบบคลาสิกตามแบบดั้งเดิมของเกาะสุมาตรา ตอนกลางของจาวา ระบำแสดงถึงกษัตริย์ที่หลงรักหญิงสาวซึ่งเป็นเพียงทาสรับใช้ที่อยู่ในอาณาจักร ระบำแสดงถึงการแต่งตัวของกษัตริย์และการกระทำมีต่อหญิงสาว ทั้งหมดนี้ถูกแสดงออกมาอย่างมีระบบในลักษณะการเคลื่อนไหวที่นิ่มนวลแต่คล่องแคล่ว และเต็มไปด้วยอารมณ์ขัน ระบำKembang Pulus Dance-8’ ระบำวิถีชีวิตในสังคมที่ถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของธรรมชาติของระบำJaiponganโดยกลุ่มชนเผ่าSundaในชวาตะวันตกอินโดนีเซีย ระบำRantak เป็นระบำร่มดั้งเดิมซึ่งเกิดในสุมตราตะวันตกในเมือง MinangKabau เป็นการแสดงที่ใช้ในการต้อนรับแขก การเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่วของผู้เต้นเป็นเอกลักษณ์ของการต้อนรับของคนหนุ่มที่ต้อนรับแขก ระบำ Saman-5’ เป็นระบำจากAcehภูมิภาคที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับประเพณีและพิธีกรรมของอิสลาม ระบำOleg Tamulilingan เป็นระบำจากบาหลี ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของอินโดนีเซีย ท่าเต้นแสดงถึงความโรแมนติกของผึ้งตัวเมียและผึ้งตัวผู้ ระบำCendrawasih ได้รับแรงบันดาลใจจากนกที่เรียกว่า Cendrawasih ที่พบได้ในIrian Archipelago ความสวยงามชองนกและความมีเสน่ห์กระตุ้นให้เกิดการเต้นนี้ โดยมีดนตรีประกอบของKebyar Gamelan ที่คล่องแคล่วและน่าประทับใจ ระบำร่ม Umbrella เป็นระบำพื้นเมืองของชาวมารายัน ที่ก่อเกิดขึ้นในภูมิภาคหมู่เกาะสุมาตรา ระบำนี้แสดงถึงกิจกรรมของคู่หนุ่มสาวที่พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาผ่านระบำนี้ ลักษณะพิเศษของระบำคือลักษณะท่าทางการเคลื่อนไหวของแขนและขาของผู้เต้นที่เล่นกับร่ม ความเป็นหนึ่งเดียวของระบำสะท้อนผ่านความสอดคล้องของจังหวะดนตรีและการเคลื่อนไหว ระบำReog Dodog Dance เป็นระบำศิลปะพื้นเมืองอีกอันหนึ่งในยุค Tuluang Agung ซึ่งเป็นลักษณะที่มีการผสมผสานอย่างกลมเกลียวระหว่างความคล่องตัว ความกระฉับกระเฉง จังหวะ ดนตรีเชิงศิลป และระบำเวทอันวิเศษ
นอกจากจะได้ชมการแสดงทางวัฒนธรรมดั้งเดิมอย่างเต็มอิ่มแล้วนั้น ผู้เข้าชมงานยังสามารถดื่มด่ำกับความสวยงามและเอกลักษณ์ของสวนจากอินโดนีเซียซึ่งสร้างอยู่บนเนื้อที่ 1,500 ตารางเมตร โดยสื่อถึงแนวคิดการจัดสวนด้วยบ้านดั้งเดิมจากหลายภูมิภาคของประเทศ มีต้นไม้หลากชนิดทั่วบริเวณ รวมทั้งวัฒนธรรมบาหลีแสดงผ่านร่มและประตูใหญ่ด้านหน้าสวน รวมทั้งศาลาเล็กด้านใน เพื่อแสดงความหลากหลายของวัฒนธรรม
ทั้งนี้บ้านไม้ 3 หลังท่ามกลางเสียงดนตรีสไตล์อินโดเป็นบ้าน 3 สไตล์จากภาคต่างๆ ของอินโดนีเซีย ได้แก่บ้านเบตาวี (Betawi) บ้านโจโกล (Joglo) และบ้านรูมาซกาดัง (Rumah Gadang) โดยบ้านทั้งสามเป็นแบบบ้านดั้งเดิมที่สมัยนี้ไม่ค่อยได้พบเห็นมากนัก การก่อสร้างเน้นที่ประโยชน์การใช้งานเป็นหลัก บ้านเบตาวีเป็นบ้านไม้สไตล์กรุงจากาตาร์ เมืองหลวงของอินโดนีเซีย ด้านหน้ามีการจำลองกระดิ่งไม้ไผ่ ซึ่งเป็นวิธีสื่อสารเมื่อเกิดอุบัติภัยขึ้นที่บ้าน โดยไม้ไผ่จะสื่อถึงการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติ
บ้านโจโกลเป็นบ้านเปิดที่มีเสาค้ำหลังคา พื้นยกสูงประมาณ 2 ฟุต ไม่มีหน้าต่างและประตู สไตล์กรุงโจกยากาตาร์ (Yogyakarta) ซึ่งเป็นบ้านสำหรับการพักผ่อนและทำกิจกรรมทางสังคม เช่น การประชุม โดยมีเอกลักษณ์ที่การยกหลังคาเป็นชั้นๆ และทำหลังคาให้กว้างกว่าตัวบ้านเพื่อป้องกันน้ำฝนชะสาดเข้ามา ภายในบ้านยังมีเวทีสำหรับการแต่งงานที่จัดไว้เพื่อการตกแต่ง ประดับด้วยร่มจากตอนใต้ของเกาะสุมตรา ซึ่งมีอาณาจักรพุทธที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ นามว่า ศรีวิจายา (Sriwijaya) เดิมทีนั้นเวทีนี้ เคยเป็นที่ประทับของพระราชาและราชินี แต่ในปัจจุบันเป็นที่แต่งงาน โดยมีความเชื่อว่า วันแต่งงานเป็นวันพิเศษสำหรับคู่สมรส ดังนั้นจะมีการปฏิบัติต่อเจ้าบ่าวและเจ้าสาวเหมือนพวกเขาเป็นพระราชาและราชินี ทั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้สวมชุดแต่งงานประจำชาติอินโดนีเซียเพื่อถ่ายภาพเป็นที่ระลึกได้ รวมทั้งมีการแสดงผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มส่งตรงจากอินโดนีเซีย เช่น ชา กาแฟ โดยกาแฟจากที่นี่จะมีรสชาติที่มีเอกลักษณ์ ค่อนข้างขม และกลิ่นเข้มข้นสไตล์อินโด
บ้านรูมาซกาดังเป็นบ้านสไตล์เกาะสุมาตราตะวันตก มี 3 ห้อง โดยมีเอกลักษณ์เด่นที่รูปร่างหลังคาที่เป็นทรงหัวกระบือ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชาวสุมาตราตะวันตก บ้านสไตล์นี้เป็นที่นิยมในสมัยก่อนมาก เนื่องจากมีเนื้อที่กว้างและมีจำนวนห้องมาก เหมาะกับครอบครัวขยาย แต่ในปัจจุบันค่อนข้างหาบ้านแบบนี้พบยาก เนื่องจากมีคนเมืองที่มีชีวิตแบบครอบครัวเดี่ยวมากกว่า
นอกจากบริเวณบ้านจะตกแต่งไปด้วยต้นไม้นานาชนิด ร่มหลากสีทั้งสไตล์สุมาตราและบาหลี รูปปั้นเด็กเล่นดนตรี เพื่อต้องการให้ผู้เข้าชมสัมผัสถึงความจริงใจในการต้อนรับพวกเขาเข้าสู่สวนอินโดนีเซีย และยังมีอนุสาวรีย์แห่งชาติที่จำลองจากส่วนกลางของเมืองจากาตาร์ สร้างโดยประธานาธิบดีคนแรก เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้รำลึกถึงอิสรภาพของอินโดนีเซีย จากการที่นำบ้านหลากสไตล์ ของประดับตกแต่งจากหลายภูมิภาคของอินโดนีเซียดังที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายอย่างแท้จริง
“อินโดนีเซียและไทยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดมาช้านานโดยมีความสัมพันธ์ทางการทูตมาเกือบ 60 ปี โดยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองดำเนินไปได้ด้วยดีตลอดมา ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งในระดับทวิภาคีและกรอบพหุภาคี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความร่วมมือในกรอบอาเซียน นอกจากนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันได้มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันอย่างลึกซึ้ง ทั้งทางวรรณคดี อาหาร เครื่องแต่งกาย และเครื่องดนตรี เป็นต้น ดังนั้น การมีส่วนร่วมในงานพืชสวนโลกครั้งนี้ จึงเป็นการแสดงถึงมิตรไมตรีและความปรารถนาดีอย่างจริงใจต่อมิตรเพื่อนบ้านเฉกเช่นประเทศไทย โดยเฉพาะในวโรกาสสำคัญยิ่งของกษัตริย์ไทยและปวงชนชาวไทยทุกคน และหวังว่าผู้ที่ได้เข้ามาชมการจัดแสดงสวนและกิจกรรมทางศิลปะวัฒนธรรมต่างๆของอินโดนีเซียอย่างเช่นการเฉลิมฉลองวันชาติในครั้งนี้ จะได้ซึมซับถึงความงดงามของวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของชาวอินโดกลับไป”นายอิบบราฮิม กล่าว