ไทย ซัมมิท เลือกอินเตอร์เมคพัฒนาระบบบาร์โค้ด เก็บข้อมูลชิ้นส่วนรถยนต์และสินค้าคงคลัง

อังคาร ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๗ ๑๒:๐๑
กรุงเทพฯ--27 ก.พ.--คอร์ แอนด์ พีค
ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ชั้นนำได้สร้างมาตรฐานการทำงานด้วยการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบคอมพิวเตอร์พกพาของ อินเตอร์เมค รุ่น 730 และสแกนเนอร์ รุ่น VT1800
บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนรายใหญ่ในไทยให้กับอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ อุตสาหกรรมประกอบรถจักรยานยนต์ เครื่องจักรกลทางการเกษตรและเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้สร้างมาตรฐานให้กับระบบบาร์โค้ดเพื่อติดตามและบันทึกข้อมูลวัตถุดิบและสินค้าพร้อมขายของบริษัทโดยใช้ระบบบาร์โค้ดร่วมกับคอมพิวเตอร์พกพาของบริษัท อินเตอร์เมค รุ่น 730 และสแกนเนอร์ของบริษัท อินเตอร์เมค รุ่น VT1800 ในการอ่านระบบบาร์โค้ด
ด้วยการดำเนินธุรกิจที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว กลุ่มบริษัทไทยซัมมิทจึงต้องการให้ระบบติดตามที่มีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการจัดการสินค้าคงคลังและวัตถุดิบที่สามารถตรวจสอบได้ทั้งหมด โดยก่อนหน้าที่จะนำระบบบาร์โค้ดของบริษัท อินเตอร์เมคมาใช้งาน กลุ่มบริษัทไทยซัมมิทใช้พนักงานติดตามและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองด้วยสัดส่วนสูงสุดถึง 95%
จากแรงงานคนสู่ดิจิทัล
หลังจากทำการตรวจสอบข้อเสนอมากมาย ในที่สุดกลุ่มบริษัทไทยซัมมิทก็ตัดสินใจนำระบบบาร์โค้ดของบริษัท อินเตอร์เมคมาใช้งานนำร่อง การทดลองใช้ดังกล่าวประสบความสำเร็จทั้งในส่วนของบริษัทเองและพนักงาน โดยระบบบาร์โค้ดของบริษัท อินเตอร์เมค ได้แก้ไขปัญหา ชั้นวางสินค้าจำนวนมาก (เช่น ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเมื่อพนักงานป้อนข้อมูลด้วยตนเอง) และ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือระบบนี้ได้ช่วยพนักงานเพิ่มความสามารถในการผลิตและยังปรับปรุงการดำเนินงานให้รวดเร็วขึ้นด้วย
กลุ่มบริษัทไทยซัมมิทนำระบบบาร์โค้ดของบริษัท อินเตอร์เมคมาใช้ในสองโครงการ ได้แก่ โครงการบาร์โค้ดสำหรับสินค้าพร้อมขาย (Finished Goods Bar Code Project) และโครงการ บาร์โค้ดสำหรับวัตถุดิบ (Raw Material Bar Code Project) ทั้งสองโครงการใช้คอมพิวเตอร์พกพารุ่น 730 และสแกนเนอร์ VT1800 ของบริษัท อินเตอร์เมคในการอ่านและบันทึกข้อมูล
ทั้งสองโครงการช่วยติดตามการดำเนินการในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับการเส้นทางเดินของวัตถุดิบที่สามารถแบ่งออกเป็นส่วนส่วน ได้แก่ กระบวนการนำเข้า กระบวนการผลิต และกระบวนการส่งออก ปัจจุบันโครงการบาร์โค้ดสำหรับสินค้าพร้อมขายที่ใช้ติดตามกระบวนการส่งออกของสินค้าพร้อมขาย และโครงการบาร์โค้ดสำหรับวัตถุดิบที่ใช้ติดตามกระบวนการนำเข้าของวัตถุดิบที่นำเข้ามาจากซัพพลายเออร์กว่า 300 ราย ประสบความสำเร็จในการใช้งานอย่างดี ขณะที่ส่วนของกระบวนการผลิตยังอยู่ระหว่างขั้นตอนการออกแบบและกำหนดจุดควบคุมอยู่
โครงการบาร์โค้ดสำหรับสินค้าพร้อมขายอยู่ในระยะแรกของการพัฒนาและนำระบบบาร์โค้ดของบริษัท อินเตอร์เมคไปใช้งาน เนื่องจากมูลค่าของกระบวนการส่งออกหรือสินค้าพร้อมขายได้รับการจัดอันดับให้มีมูลค่าสูงสุดเหนือกระบวนการอื่นๆ ทั้งหมด ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้วางในคลังสินค้าที่แบ่งพื้นที่ออกเป็น 7 ส่วนตามชนิดของผลิตภัณฑ์หรือลูกค้าโออีเอ็ม เช่น อีซูซุ มิตซูบิชิ โตโยต้า และนิสสัน คลังสินค้าเหล่านี้ใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์พกพาของบริษัท อินเตอร์เมค รุ่น 730 ในการจัดการเส้นทางเดินของวัตถุดิบนำเข้าและส่งออกจากสินค้าคงคลัง โดยใช้สแกนเนอร์แบบพกพาอ่านป้ายบาร์โค้ดที่อยู่บนตู้สินค้าและส่งผ่านข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นฐานข้อมูลด้วยระบบไร้สาย เพื่ออัพเดทเข้าสู่ระบบอีอาร์พีที่เป็นระบบประมวลผลกลางของบริษัทฯ ส่วนบัตรบันทึกข้อมูลสินค้าจะติดตั้งไว้ที่จุดปลายทางของผู้ใช้และสแกนด้วยสแกนเนอร์ของบริษัท อินเตอร์เมค รุ่น VT1800
โครงการบาร์โค้ดสำหรับวัตถุดิบถูกนำไปใช้ติดตามวัตถุดิบที่นำมาจากซัพพลายเออร์กว่า 300 รายแล้ว โดยกลุ่มบริษัทซัมมิทได้ใช้เครื่องสแกนบาร์โค้ดของ อินเตอร์เมค VT1800 สแกนรหัสบาร์โค้ดที่ติดอยู่กับใบกำกับภาษีของซัพพลายเออร์ที่ส่งมาพร้อมสินค้าทุกรายการ เพื่อยืนยันข้อมูลที่ระบุไว้ในใบสั่งซื้อก่อนหน้าที่จะมีการส่งมาจากแผนกจัดซื้อของกลุ่มบริษัทซัมมิท
“เราต้องการเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีความทนทานสูง สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมในโรงงานของเราได้ จากการพิจารณา ประเมิน และวิจัยหลายๆ ข้อเสนอ เราพบว่าบริษัท อินเตอร์เมคสามารถเติมเต็มความต้องการของเราได้ และผลิตภัณฑ์ก็ใช้งานง่าย สะดวกสบาย ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์พกพารุ่น 730 เพื่อการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็ว และสแกนเนอร์ รุ่น VT1800 สำหรับการอ่านบาร์โค้ดในใบส่งมอบสินค้า” นายปรีชา พัวสุทธิ ผู้จัดการฝ่ายวัโครงการอีอาร์พี บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด กล่าว และว่า “เครื่องอ่านบาร์โค้ดของบริษัท อินเตอร์เมคช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากแรงงานคนให้เหลือน้อยที่สุด เพิ่มประสิทธิภาพในรวบรวมข้อมูลและมีความแม่นยำสูง พร้อมทั้งเร่งกระบวนการทำงานของบริษัทให้รวดเร็วขึ้น โดยถ้าโปรแกรมการตรวจสอบข้อมูลได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมแล้ว บริษัทสามารถข้ามขั้นตอนการตรวจสอบด้วยสายตาไปใช้ระบบการสแกนด้วยโปรแกรมอัตโนมัติได้”
นอกจากนี้ บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ทยังมีแผนขยายการใช้งานระบบบาร์โค้ดไปยังบริษัทอีก 10 แห่งของกลุ่มบริษัทไทยซัมมิทในอนาคตอันใกล้ด้วย
บริษัท อินเตอร์เมค
บริษัท อินเตอร์เมค (ชื่อในตลาดหุ้นนิวยอร์ก : IN) พัฒนา ผลิต และผสานเทคโนโลยีที่สามารถระบุ ติดตาม และจัดการสินทรัพย์ในซัพพลายเชนได้ เทคโนโลยีหลักของบริษัท ได้แก่ อาร์เอฟไอดี ระบบคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่และระบบเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด รวมถึงสื่อป้ายผนึก ผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทถูกนำไปใช้เพื่อปรับปรุงด้านการผลิต คุณภาพ และการตอบสนองของการดำเนินธุรกิจของลูกค้าในอุตสาหกรรมหลายแห่งทั่วโลก สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท อินเตอร์เมค เยี่ยมชมได้ที่ www.intermec.com
บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด
บริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด ผู้นำด้านการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ในอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ อุตสาหกรรมประกอบรถจักรยานยนต์ เครื่องจักรกลทางการเกษตร และ เครื่องใช้ไฟฟ้า ด้วยการนำของนายพัฒนา จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตประธานของกลุ่มบริษัท ไทยซัมมิท ทำให้กลุ่มบริษัทไทยซัมมิทมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากจุดเริ่มต้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2520 จนถึงปัจจุบัน มีบริษัทในเครือกว่า 30 บริษัท ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนประกอบประเภทต่างๆ ได้แก่ ชิ้นส่วนการขึ้นรูป ชิ้นส่วนการประกอบ ชิ้นส่วนพลาสติกประเภทฉีดและเป่า อลูมิเนียมฉีด สายไฟรถยนต์ แชสซี แม่พิมพ์โลหะและพลาสติก อุปกรณ์จับประกอบชิ้นงาน, รวมถึงเครื่องจักรในงาน สายการผลิตขั้นพื้นฐาน กลุ่มบริษัทไทยซัมมิทมีฐานการผลิตอยู่ที่ สมุทรปราการ แหลมฉบัง ระยอง อยุธยา นครนายก ปราจีนบุรี ประเทศมาเลเซียและอินเดีย โดยในปี 2548 กลุ่มบริษัทฯ มีผลประกอบการของกลุ่มมากกว่า 20,000 ล้านบาท โดยในส่วนของบริษัท ไทยซัมมิท โอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด มียอดจำหน่าย 6,000 ล้านบาทในปี 2548 โดยมีพนักงานทั้งสิ้น 4,000 คน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ