กรุงเทพฯ--14 มิ.ย.--สสวท.
ปัจจุบันมีการแปรรูปกระดาษเพื่อเศรษฐกิจอีกมาก ทำให้ป่าไม้ลดลงและเกิดผลกระทบต่อการนำวัตถุดิบจากป่าไม้มาทำเยื่อกระดาษก็ยังมีความจำเป็นในชีวิตประจำวันและในอนาคต
จากเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้ น.ส.แก้วกาญจน์ ไทยประยูร ด.ญ. สุวพร พงศ์ธีระวรรณ น.ส.จีรนันท์ เพชรแก้ว นายนรเทพ พิกุลทอง และ น.ส. พัชรา ชูทอง นักเรียนจากโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นโรงเรียนแกนนำของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้พยายามมองหาวัตถุดิบอื่นๆ ในธรรมชาติที่จะพบเห็นได้โดยทั่วไปมาทดแทนเยื่อกระดาษที่ขาดแคลน
นักเรียนกลุ่มนี้ พบว่า ลักษณะเส้นใยจากใบตะไคร้ มีลักษณะเป็นเส้นใยที่แข็งแรงและเหนียว ทนต่อแรงดึงได้ เยื่อกระดาษมีความละเอียดและเรียบ มีช่องว่างระหว่างเส้นใยน้อย มีความสามารถในการดูดซึมน้ำได้ดี มีคุณสมบัติเป็นกลางไม่มีใครนำมาใชัประโยชน์ใด ๆ น่าจะนำมาผลิตเป็นกระดาษทดแทนไม้ที่กำลังลดลงเรื่อย ซึ่งการทำเช่นนี้เป็นการอนุรักษ์ และ สงวนป่าไม้เอาไว้ได้อีกทางหนึ่ง และนอกจากนั้นยังเป็นการนำเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาพัฒนาให้เกิดคุณค่าในสังคม
การทำเยื่อกระดาษจากตะไคร้อาศัยพลังงานความร้อนและพลังงานเคมีเพื่อให้ได้เส้นใยที่เหมาะสมต่อการนำมาทำกระดาษที่สวยงาม โดยขั้นตอนประกอบด้วย ศึกษาวิธีการในการผลิตกระดาษ ศึกษาอัตราส่วนของสารเคมีที่เหมาะสมในการทำเยื่อกระดาษจากตะไคร้ ศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำเยื่อกะดาษ
ศึกษาส่วนของใบตะไคร้ที่เหมาะสมต่อการนำมาทำเยื่อกระดาษ ศึกษาคุณสมบัติของเยื่อกระดาษที่ผลิตได้ และศึกษาการประยุกต์ใช้กระดาษเป็นผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับคุณสมบัติที่ตรวจสอบได้
ส่วนวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ บีกเกอร์ขนาด 100 และ 600 มิลลิลิตร แท่งแก้วคน ชุดตะเกียงแอลกกอฮอล์ เครื่องชั่ง คีมคีบเยื่อ กล่องพลาสติก ไม้บด แผ่นกระดาน กาละมัง ใบตะไคร้ และตะแกรงร่อนเยื่อกระดาษ
ในการผลิตกระดาษนั้น เริ่มจากนำใบตะไคร้มาหั่นให้มีขนาด 3 เซนติเมตร แล้วต้มด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 2 ชั่วโมง นำเยื่อตะไคร้ที่ได้ไปล้างด้วยน้ำให้สะอาดและทำการฟอกสีด้วยสารฟอกขาว
หลังจากนั้นนำไปร่อนด้วยตะแกรงร่อน ผึ่งลมให้แห้ง จะได้กระดาษที่มีเนื้อแน่นเรียบ สวยงาม เส้นใยเล็กละเอียดเกาะตัวกันแน่นจึงทนทานต่อแรงดึง ลักษณะของกระดาษที่ได้เหมาะที่จะนำมาทำงานประดิษฐ์เช่นเดียวกับกระดาษสา ไม่เหมาะที่จะนำมาทำกระดาษสำหรับเขียนหรือกระดาษเพื่อใช้วาดภาพระบายสี เนื่องจากกระดาษมีการดูดซับน้ำได้ดี และเนื้อกระดาษมีลวดลายของเส้นใยตะไคร้
กระดาษจากตะไคร้ที่ประดิษฐ์ขึ้นสามารถแก้ปัญหาในการใช้วัตถุดิบเพื่อการผลิตกระดาษ และเป็นการตอบสนองความต้องการของสังคมที่มีความต้องการกระดาษเพื่องานประดิษฐ์เพิ่มมากขึ้น จากขั้นตอนการผลิตที่ไม่ซับซ้อน และใช้วัตถุดิบที่เหลือทิ้งจากการเกษตรซึ่งมีอยู่มากมายทุกภาคของไทย เนื่องจากตะไคร้เป็นพืชที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารไทย และตัดใบทิ้ง
นับว่าโครงงานนี้เป็นการฝึกทักษะการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้จริง ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ช่วยได้ทั้งในแง่เศรษฐกิจ และคว้ารางวัลระดับนานาชาติกลับมาให้ได้ชื่นชม
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
- พ.ย. ๐๔๘๒ ภาพข่าว: รณรงค์สวมหมวกนิรภัย
- พ.ย. ๒๕๖๗ สจล. เผย 3 สุดยอดนวัตกรรมสร้างสรรค์ ฝีมือเด็กไทยหัวใจเกษตร ชนะเลิศโครงการ “KMITL INNOVATIVE AWARDS 2015”
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: ปตท. มอบรางวัลโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์ ปตท. ประจำปี 2557 (PTT YOUTH CAMP2014) ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี