ซีเกทร่วมกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยประกาศรายชื่อทีมรถอัจฉริยะไร้คนขับจำนวน 8 ทีม

จันทร์ ๒๖ มีนาคม ๒๐๐๗ ๑๐:๓๕
กรุงเทพฯ--26 มี.ค.--ซีเกท เทคโนโลยี
ซีเกทร่วมกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ประกาศรายชื่อทีมรถอัจฉริยะไร้คนขับจำนวน 8 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบชิงชนะเลิศ การแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย
บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับสมาคมวิชาการ หุ่นยนต์ไทย ภาควิชาเมคาโทรนิคส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) และสมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจำนวน 8 ทีม จากการจัดการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย (Thailand Intelligent Vehicle Challenge) รอบคัดเลือก ณ สนามบางกอก เรซิ่ง เซอร์กิต (Bangkok Racing Circuit (BRC) ด้านหลัง ซีคอนสแควร์ โดยทีมที่ทำคะแนนสูงสุดจำนวน 8 ทีมแรกได้รับรางวัลทีมละ 50,000 บาท เพื่อนำไปพัฒนา ประสิทธิภาพของรถอัจฉริยะไร้คนขับ โดยทั้งแปดทีมจะเข้าแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 23 พฤษภาคม ศกนี้
ทีมที่ทำคะแนนสูงสุด 8 ทีมแรกและผ่านการคัดเลือกเข้าแข่งขันในรอบสุดท้ายมีดังนี้
1. ทีมลิตเติ้ล เม็ค (Little MEC) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (เอไอที) รถวิ่งได้ระยะทาง 471 เมตร
2. ทีมแอโรโทรนิคส์ วัน (Aerotronix I) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (เอไอที) รถวิ่งได้ระยะทาง 421 เมตร
3. ทีมแจ็ค-โอ-แลนเทิร์น (Jack-O-Lantern) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รถวิ่งได้ระยะทาง 207 เมตร 30 เซ็นติเมตร
4. ทีมบาร์ท แล็บ เวฮิคูลัม (BART LAB Vehiculum) มหาวิทยาลัยมหิดล รถวิ่งได้ระยะทาง 145 เมตร 45 เซ็นติเมตร
5. ทีมไอซีเอส (ICS) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ รถวิ่งได้ระยะทาง 121 เมตร
6. ทีมดาร์ค ฮอร์ส (Dark Horse) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รถวิ่งได้ระยะทาง 120 เมตร
7. ทีมคาปูชิโน่ (Capucino) มหาวิทยาลัยนเรศวร รถวิ่งได้ระยะทาง 117 เมตร 80 เซ็นติเมตร
8. ทีมแบล็ค ไนท์ (Black Knight) มหาวิทยาลัยนเรศวร รถวิ่งได้ระยะทาง 117 เมตร 30 เซ็นติเมตร
นอกจากนี้ คณะกรรมการตัดสินได้ลงมติพิเศษเห็นพ้องทีมต้องกันให้ ทีมเรียล (Real) จากมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ซึ่งสามารถทำผลงานเป็นที่น่าประทับใจ ให้เข้าแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ และได้รับเงินสนับสนุน จำนวน 30,000 บาทด้วย โดยรถสามารถวิ่งได้ ระยะทาง 97 เมตร 17 เซนติเมตร รองศาสตราจารย์ ดร. มนูกิจ พานิชกุล ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ ประเทศไทย และอาจารย์ประจำภาควิชาเมคาโทรนิคส์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย กล่าวว่า “การแข่งขันรถอัจฉริยะ ไร้คนขับรอบคัดเลือกในวันนี้ นับว่าประสบผลสำเร็จอย่างมาก เนื่องจากทุกทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันสามารถทำผลงานได้ดีมาก แม้ว่าจะเป็นการแข่งขันในปีแรกก็ตาม ทุกทีมได้แสดงให้เห็นศักยภาพด้านการพัฒนาหุ่นยนต์ผสมผสานกับ ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ โปรแกรมมิ่ง ยานยนต์และอื่นๆ ซึ่งนอกจากความสามารถในศาสตร์ต่างๆที่กล่าวมาแล้วนั้น สมาชิกในทีมยังต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจด้วย เชื่อว่าในรอบชิงชนะเลิศ การแข่งขันจะเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากในเส้นทางการแข่งขันจะมีทั้งสิ่งกีดขวางและสัญญานจราจรต่าง ๆ ที่รถอัจฉริยะต้องตัดสินใจเลือกเส้นทางให้เหมาะสม ในโอกาสนี้ก็ขอเชิญผู้สนใจติดตาม ร่วมชมและเชียร์ทั้งเก้าทีมได้ ในวันที่ 23 เดือนพฤษภาคมนี้ ที่สนามบางกอก เรซิ่ง เซอร์กิต (Bangkok Racing Circuit (BRC)”
การแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ประเทศไทย จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ และความชำนาญ ในสาขาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติและยานยนต์ ตลอดจนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวและสนับสนุนการทำกิจกรรมนอกหลักสูตร เตรียมความพร้อมให้กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทย ในการทำโครงการรถอัจฉริยะและ เพื่อคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมสังเกตการณ์การพัฒนา รถอัจฉริยะ ในระดับนานาชาติ”
กติกาการแข่งขัน รถของแต่ละทีมจะต้องสามารถ ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเองโดยปราศจากคนขับทั้งโดยตรง หรือแบบบังคับทางไกล รถจะต้องสามารถเคลื่อนที่ไปบนเส้นทางที่กำหนดให้โดยใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ ที่ทำให้สามารถแบ่งแยกถนนออกจากสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ และบังคับรถให้วิ่งบนถนนได้ รถอัจฉริยะที่เคลื่อนที่ ได้ระยะทางไกลที่สุด เร็วที่สุด จะเป็นทีมชนะเลิศ
“การแข่งขันนี้เป็นการใช้เทคโนโลยีระดับสูงสุดและเงินทุนในการพัฒนาค่อนข้างมาก ทำให้ทีมรถอัจฉริยะที่เข้าร่วมแข่งขันต้องทุ่มเทกำลังสมองและกำลังทรัพย์ไปที่ทีมตัวแทนสถาบันของตนเองอย่างเต็มที่” รองศาสตราจารย์ ดร. ประภาส จงสถิตวัฒนา นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยกล่าว
นายเจฟฟรีย์ ดี ไนการ์ด รองประธานปฏิบัติการประเทศไทย บริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “บริษัทซีเกท มีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการจัดการแข่งขันสร้างรถอัจฉริยะชิงแชมป์ ประเทศไทย ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาไทยนำทฤษฏีที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนมา ปรับใช้ในการพัฒนารถอัจฉริยะไร้คนขับ การแข่งขันครั้งนี้ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีของเยาวชนไทย โดยการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนเหล่านี้ เพื่อให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในการสร้าง และพัฒนาสังคม ฐานความรู้ ตลอดจนเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวต่อไป”
สำหรับรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ศกนี้ บริษัทซีเกทสนับสนุนการจัดการแข่งขันและ รางวัล สำหรับทีมรถอัจฉริยะไร้คนขับที่ได้รับรางวัลดังนี้คือ รางวัลชนะเลิศ 200,000 บาทและได้ไปสังเกตการณ์การแข่งขัน Urban Challenge ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 รางวัลรองชนะเลิศ เงินรางวัล 100,000 บาท รางวัลเทคนิคยอดเยี่ยม เงินรางวัล 50,000 บาท รางวัลความคิดสร้างสรรค์ เงินรางวัล 50,000 บาท รางวัลศิลปะยอดเยี่ยม เงินรางวัล 50,000 บาท
สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย
สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2543 โดยกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจและดำเนินงานเกี่ยวข้องกับ วิศวกรรมหุ่นยนต์อันประกอบไปด้วย นักวิชาการ นักวิจัย และนักอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและ เผยแพร่ความรู้และความเข้าใจในวิทยาการด้านหุ่นยนต์ จัดกิจกรรมการปฏิบัติงานทางวิชาการ เพื่อพัฒนาความรู้ และเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ เป็นศูนย์กลางทางด้านข่าวสารในวิทยาการใหม่ ๆ ของหุ่นยนต์ ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศและสร้างเครือข่ายนักวิจัยและวิชาการเพื่อส่งเสริมการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ในสาขาหุ่นยนต์ และวิศวกรรมอัตโนมัติ ท่านสามารถติดต่อสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยได้ที่ โทร. 0-2218-6956 หรือเว็บไซต์ www.trs.or.th
บริษัทซีเกท
ซีเกทคือผู้นำทั่วโลกในการออกแบบ การผลิตและการตลาดฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อันหลากหลาย สำหรับองค์กร เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ (Mobile Computing) และอุปกรณ์อุปโภคบริโภค (Consumer Electronics) รูปแบบการดำเนินธุรกิจของซีเกทช่วยเสริมสร้างความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีและ การผลิตระดับโลกเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีคุณภาพ ในระดับชั้นนำของอุตสาหกรรม ไปยังลูกค้าทั่วโลก รวมทั้งเป็นผู้ผลิตที่มีต้นทุนต่ำในตลาดทั้งหมดที่เรามีส่วนร่วม บริษัทมีความมุ่งมั่นในการส่งมอบ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรางวัลและมีคุณภาพดีที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการบันทึกข้อมูลที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาในโลก ท่านสามารถพบซีเกทได้ทั่วโลกและพบข้อมูลซีเกทที่ www.seagate.com
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ รศ. ดร. มนูกิจ พานิชกุล โทรศัพท์ 0-2524-5229 Email: [email protected]
นางสาวขวัญจิต สุดสวัสดิ์ โทรศัพท์ 0-2715-2919, 081-835-8094 Email: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ