“มูดี้ส์” ประกาศคงเรตติ้ง SME BANKที่ Baa1 ธนาคารที่ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อผู้ประกอบการไทย

จันทร์ ๐๒ กรกฎาคม ๒๐๐๗ ๑๒:๒๙
กรุงเทพฯ--2 ก.ค.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
นายพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) เปิดเผยว่า การทบทวนความน่าเชื่อถือด้านเครดิตโดยสถาบันจัดอันดับระดับโลก Moody’s Investors Service ได้ประกาศให้ธนาคารมีสถานะความน่าเชื่อถือคงที่ สำหรับการออกตราสารด้านเงินฝากของธนาคาร และเครดิตขององค์กรไว้ที่ Baa1 เฉกเช่นกับปีที่ผ่านมา โดยอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารในฐานะผู้ออกตราสารระดมเงินฝากที่ Baa1 นี้เป็นระดับเดียวกับที่มูดี้ส์ให้กับการออกตราสารโดยรัฐบาลไทย ซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นในการสนับสนุนจากภาครัฐ
ทั้งนี้ มูดี้ส์ยังคงเชื่อมั่นว่า SME BANK เป็นสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแล และดำเนินนโยบายจากภาครัฐทั้งจากกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรม โดยที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่กว่า 97% ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด ซึ่งบทบาทของ SME BANK ยังเป็นกลไกสำคัญในการให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนแก่ผู้ประกอบการทั่วประเทศ ที่มีโอกาสน้อยกว่าในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินเอกชน และธนาคารพาณิชย์ในระบบ
นอกจากนั้น มูดี้ส์ยังประเมินว่าพื้นฐานทางการเงินของ SME BANK ที่เกิดจากการดำเนินงานตามนโยบายภาครัฐถือว่าเป็นรูปแบบที่ใกล้เคียงกับบรรดาธนาคารเพื่อการพัฒนาในประเทศอื่นอีกหลายประเทศ ส่วนรายได้ที่เป็นส่วนต่างจากการดำเนินงานของ SME BANK แม้จะอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารพาณิชย์ ก็เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถดำเนินธุรกิจและเป็นการลดภาระการแบกรับภาระด้านต้นทุนจากดอกเบี้ยเงินกู้ได้
มูดี้ส์ยังคงให้ความเชื่อมั่นว่า SME BANK จะสามารถแก้ไขภาระหนี้ที่เกิดจากการที่ธนาคารเข้าไปช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการ ที่ประสบปัญหาจากวิกฤติการณ์ทางการเงินในเอเชีย และภาระความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูงจากกลุ่มลูกหนี้ตามนโยบายในรูปของหนี้ด้อยคุณภาพ หรือ NPL ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหา คือ การเร่งหามาตรการใหม่ ๆในการแก้ไขปัญหา NPL ควบคู่กับการอัดฉีดเงินทุนเพิ่มเติมจากภาครัฐ
นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า มูดี้ส์ให้ความเห็นว่า SME BANK มีงานที่ท้าท้ายที่ต้องเร่งทำอีกหลายประเด็น ได้แก่ ข้อจำกัดในการให้สินเชื่อเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการสร้างรายได้ให้กับธนาคาร ความจำเป็นในการปรับเพิ่มเงินกันสำรองหนี้ด้อยคุณภาพตามมาตรฐานระหว่างประเทศที่จะเริ่มมีผลในอนาคต การพัฒนาระบบ Core Banking และระบบบริหารความเสี่ยงที่ต้องใช้เวลาดำเนินโครงการจนถึงปี 2009 ตลอดจนความไม่แน่นอนทางการเมือง และสถานการณ์โดยรวมในตลาดการธนาคาร การแข่งขันเพื่อดึงลูกค้ากลุ่มเอสเอ็มอี รายใหญ่จากธนาคารพาณิชย์ และสถานะทางการเงินที่อ่อนแอลงจากผลการดำเนินงาน
ฝ่ายสื่อสารองค์กร 02-684-6001-4

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ