กรุงเทพฯ--28 มิ.ย.--พิตอน คอมมิวนิเคชั่น
สถาบันพระปกเกล้า โดยสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล เปิดรับสมัครหลักสูตรประกาศนียบัตรแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้ง รุ่นที่ 5 ประจำปี 2550 ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน — 2 สิงหาคม 2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีในเรื่องนโยบายสาธารณะเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการความขัดแย้งด้วยวิธีอื่น และมีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติเกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธีเรื่องนโยบายสาธารณะ รวมทั้งสามารถกำหนดเงื่อนไขแห่งความสำเร็จที่จำเป็นสำหรับสันติวิธีในบริบทของสังคมไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 หมวดวิชา ได้แก่
1. ความหมายและความสำคัญของการจัดการความขัดแย้ง
2. ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับสันติวิธีและธรรมชาติของความขัดแย้งในสังคมไทย
3. ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
4. กระบวนการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม
5. การพัฒนาคุณสมบัติส่วนบุคคลสำหรับการจัดการความขัดแย้งโดยสันติวิธี
โดยหลักสูตรนี้มีรูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วยการบรรยายแบบมีส่วนร่วม การอภิปรายระดมความคิดเห็นและการนำเสนอกลุ่มย่อย โดยมุ่งให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มุมมองและข้อมูลกับวิทยากร อย่างเชื่อมประสานกับเนื้อหาของแต่ละวิชา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้สูงสุด นอกจากนี้ ในทุกหัวข้อวิชานักศึกษาต้องจัดทำกิจกรรมทางวิชาการ โดยถือเป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่วิทยากรจะใช้สำหรับการวัดและประเมินผลด้วย
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการระดับ 5 ขึ้นไป ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน เจ้าหน้าที่พนักงานของหน่วยงานของรัฐ หรือองค์การมหาชน หรือเป็นเจ้าหน้าที่หรือพนักงานของหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ 5 ขึ้นไป และเป็นนักการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับ
ท้องถิ่น เป็นนักวิชาการหรือนักสื่อสารมวลชน เป็นผู้นำขององค์กรพัฒนาเอกชนหรือผู้นำชุมชน โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษาทั้งสิ้นประมาณ 5 เดือน จำนวน 159 ชั่วโมง
หลักสูตรนี้เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2550 ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามและขอรายละเอียดได้ที่สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า หมายเลขโทรศัพท์ 0 — 2527-7830 — 39 ต่อ 2407-2408 หมายเลขโทรสาร 0 — 2527 — 7819 ในวันและเวลาราชการ หรือที่ www.kpi.ac.th
เกี่ยวกับสถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า เป็นองค์กรอิสระอยู่ในกำกับดูแลของประธานรัฐสภา และเป็นสถาบันทางวิชาการแห่งชาติที่มีพันธะกิจหลักในการเผยแพร่ความรู้ เรื่องการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย รวมทั้ง ทำการศึกษาวิจัยปัญหาและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างมีระบบ สถาบันพระปกเกล้าประกอบด้วย 8 หน่วยงาน คือ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา สำนักวิจัยและพัฒนา สำนักฝึกอบรม เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สำนักงานเลขาธิการ และพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ข้อมูลเพิ่มเติม www.kpi.ac.th )
- ธ.ค. ๒๕๖๗ สมัครเข้าร่วมงานประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
- ธ.ค. ๒๕๖๗ สถาบันพระปกเกล้ารับสมัครผู้เข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร ไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในเศรษฐกิจการเมืองโลก (TAG) รุ่นที่ 7
- ธ.ค. ๒๕๖๗ สถาบันพระปกเกล้ารับสมัครผู้เข้าศึกษาหลักสูตรการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะสำหรับนักบริหารระดับสูง(ปศส.) รุ่นที่ 15