กรุงเทพฯ--28 ส.ค.--ธนาคารไทยพาณิชย์
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ประเภทออมทรัพย์ ปี พ.ศ.2550 ครั้งที่ 1 อายุ 4 ปี และ 7 ปี จำนวนรวม 40,000 ล้านบาท โดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปจองซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม ถึง 4 กันยายน 2550 นั้น
รุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์นั้น ได้เปิดให้จองซื้อได้ทุกสาขาทั่วประเทศ ซึ่งมีอยู่กว่า 840 สาขา โดยเปิดให้จองซื้อตามลำดับก่อนหลัง ปรากฎว่าได้รับความสนใจเป็นอย่างดีจากลูกค้าประชาชนทั่วไป เนื่องจากเป็นการลงทุนที่มีความมั่นคง ได้ผลตอบแทนที่แน่นอน และมีอัตราดอกเบี้ยที่จูงใจ โดยพันธบัตรอายุ 4 ปี จ่ายดอกเบี้ย 4.25 % และพันธบัตรอายุ 7 ปี จ่ายดอกเบี้ย 5 % นับว่าเป็นการจูงใจเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในขณะนี้
บรรยากาศการเปิดให้จองในวันแรก (27 สิงหาคม 2550) ที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารมีลูกค้ามาจองคิวรายแรกตั้งแต่ก่อนตี 4 และเริ่มมีปริมาณมากขึ้นจนกระทั่งก่อนเปิดให้จองในเวลา 8.30 น. มีลูกค้าเข้าคิวประมาณ 100 คน นอกจากนี้สาขาขนาดใหญ่ของธนาคารทั่วประเทศ ได้มีลูกค้าให้ความสนใจมารอคิวตั้งแต่ก่อนเปิดทำการ สำหรับยอดจอง ณ เวลา 12.30 น. มีลูกค้าจองทั้งสิ้น 7,157 ราย คิดเป็นมูลค่า 11,327 ล้านบาท ซึ่งเกินกว่ายอดที่ธนาคารได้รับการจัดสรร อยู่เกือบ 4,000 ลบ. ( ธนาคารได้รับจัดสรรพันธบัตร ทั้งสิ้น 7,355 ล้านบาท )
ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าปัจจุบันประชาชนมีความชื่นชอบการลงทุนที่มีความมั่นคงสูง มีผลตอบแทนอยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งจะเห็นได้จากยอดจองพันธบัตรที่มีประชาชนให้ความสนใจและจองซื้อเกินยอดจัดสรรในเวลาอันรวดเร็ว
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net
- ก.พ. ๒๕๖๘ ธนาคารไทยพาณิชย์ชี้แจง กรณีการส่งข้อความบนโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับประสบการณ์การสมัครใช้บริการ SCB พร้อมเพย์
- ก.พ. ๒๕๖๘ ไทยพาณิชย์ยกระดับบัตรเดบิต ถอนเงินสดได้กว่า 1 ล้านเครื่องทั่วโลก
- ๒๔ ก.พ. ไทยพาณิชย์ คว้า 2 รางวัลยอดเยี่ยมระดับเอเชียจากงาน Asian Management Excellence Awards 2025
- ๒๔ ก.พ. ธนาคารไทยพาณิชย์ส่งมอบปริมาณโลหิต 73 ล้านซีซีให้แก่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย พร้อมเปิดโครงการ "ไทยพาณิชย์รวมใจไทยให้โลหิต" ประจำปี 2568
- ๒๔ ก.พ. ไทยพาณิชย์ ร่วมกับ NIA และ depa เปิดหลักสูตร IBE รุ่น 6 "DIGITAL SUSTAINOVATION" หนุนเอสเอ็มอีมุ่งพัฒนานวัตกรรมเพื่อเติบโตยั่งยืน