กรุงเทพฯ--22 พ.ค.--กทม.
นายอภิรักษ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีหลายองค์กรระดับโลกพร้อมจะให้การสนับสนุนทั้งด้านเงินทุนและด้านวิชาการแก่เมืองต่างๆ ที่ดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขภาวะโลกร้อนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น สถาบันการเงินรายใหญ่ 5 ราย ได้แก่ เอบีเอ็น แอมโร, ซิตี้แบงก์, ดอยช์ทแบงก์, เจพีมอร์แกน และยูบีเอส ที่ประกาศความร่วมมือร่วมกับ Clinton Climate Initiative (CCI) ของมูลนิธิคลินตัน และ 15 เมือง ได้แก่ กรุงเทพฯ เบอร์ลิน ชิคาโก้ ฮุสตัน โจฮานเนสเบิร์ก คาราชิ เมลบอร์น เม็กซิโกซิตี้ นิวยอร์ก โรม เซาท์เปาโล โตเกียว และโตรอนโต เพื่อสนับสนุนเงินกองทุนธนาคารละ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ภาครัฐ เอกชน เจ้าของอาคารในเมืองต่างๆ ใช้ เป็นเงินทุนในโครงการปรับปรุงตึกประหยัดพลังงาน เช่น การลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ต่างๆ เป็นแบบประหยัดพลังงาน เพื่อจะลดพลังงานได้ถึง 20-50%
นอกจากนี้ผู้ว่าฯกทม. ยังมีโอกาสได้พบปะกับรองผู้ว่าการธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งนำเสนอเรื่องเงินกองทุนในการพัฒนาเมือง ทั้งด้านการพัฒนาระบบการจราจร การขนส่งมวลชน การควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การปรับปรุงทางเดินทาง เส้นทางจักรยาน เพื่อนำไปสู่การรักษาภาวะสมดุลของสภาพอากาศและแก้ไขปัญหาโลกร้อน อย่างไรก็ดีกทม. จะนำข้อเสนอต่างๆ ไปพิจารณาต่อไปว่าจะอยู่ในสถานะและความจำเป็นที่จะรับการสนับสนุนกองทุนจากสถาบันการเงินเหล่านี้หรือไม่
- พ.ย. ๒๕๖๗ ทุกหน่วยประเมินผล พร้อมปรับแผนให้มีประสิทธิภาพ
- พ.ย. ๒๕๖๗ เคอี กรุ๊ป ผนึกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ จัดตั้งไพรเวทอีควิตี้ทรัสต์ จัดหาเงินลงทุนเพื่อช่วยปลดล็อคโครงการที่ต้องการสภาพคล่อง
- พ.ย. ๒๕๖๗ "เวโล แลบส์" จับมือ "ไอเรมิต" ปลดล็อกตลาดการชำระเงินข้ามพรมแดนมูลค่า 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์ในฟิลิปปินส์
- พ.ย. ๒๕๖๗ QNB รักษาตำแหน่งแบรนด์ธนาคารมูลค่าสูงสุดในตะวันออกกลางและแอฟริกา ด้วยมูลค่า $6.028 พันล้าน