นามิกิตั้งเป้าใช้ชิ้นส่วนในประเทศเพิ่มมั่นใจศักยภาพคนไทยหลังร่วมโครงการผู้ซื้อพบผู้ขาย

พุธ ๐๖ มีนาคม ๒๐๐๒ ๑๔:๔๒
กรุงเทพฯ--6 มี.ค.--บีโอไอ
บริษัทผลิตชิ้นส่วนโทรศัพท์มือถือ ขานรับนโยบายบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่นลดต้นทุนการผลิต เห็นศักยภาพของผู้ผลิตชิ้นส่วนไทย ตั้งเป้าใช้ชิ้นส่วนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น เตรียมขยายกำลังการผลิตรองรับความต้องการของลูกค้า
นายทาเคอิ ทาคาโทชิ ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ บริษัทนามิกิ พริซิชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยภายหลังการจัดโครงการผู้ซื้อพบผู้ขายครั้งที่ 60 ของหน่วยพัฒนาการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (BUILD) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ว่า ขณะนี้บริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีนโยบายที่จะใช้ชิ้นส่วนในการผลิตที่เป็นชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากททางบริษัทเห็นว่าผู้ผลิตชิ้นส่วนของไทยเริ่มมีศักยภาพในการผลิตชิ้นส่วนที่ได้มาตรฐานเพิ่มมากขึ้นและหากทางบริษัทสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้จะทำให้สามารถขายสินค้าได้เพิ่มมากขึ้น โดยขณะนี้ได้เตรียมการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นด้วย
"ขณะนี้บริษัทนามิกิ ได้มีการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตโดยผู้ผลิตที่เป็นชิ้นส่วนโดยคนไทยน้อยมากเพราะส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น แต่ขณะนี้เริ่มที่จะลดการนำเข้าจากญี่ปุ่นและหันมาใช้ชิ้นส่วนในภูมิภาคนี้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเริ่มจากการนำเข้าจากมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ และคาดว่าจากโครงการผู้ซื้อพบผู้ขายของหน่วย BUILD จะสามารถสร้างโอกาสในการพบปะกับผู้ผลิตชิ้นส่วนที่เป็นคนไทย และเกิดการซื้อขายกันขึ้นได้" นายทาเคอิกล่าว
โดยแผนการจัดซื้อชิ้นส่วนของบริษัทนามิกิฯ ในปี 2545 จะพยายามใช้ชิ้นส่วนในภูมิภาคเพิ่มมากขึ้นจนถึง 50% และบางส่วนอาจจะเป็นจากผู้ประกอบการที่เป็นคนไทย ที่สามารถผลิตชิ้นส่วนที่ได้มาตรฐานตามที่บริษัทต้องการได้ ชิ้นส่วนที่ทางบริษัทนามิกิฯ ต้องการซื้อภายในประเทศไทยมีดังนี้คือ SFACER COMMULATOR BAR, SHAFT, COPPER WIRE, PLASRIC PART, BRUSH, HOUSING, CAP, SYNRHESIZE RUBBER, COUNRER WEIGHT, TERMINALAND PLASTIC PULLEY
อนึ่งบริษัทนามิกิ พริซิชั่นฯ เป็นบริษัทที่ผลิตมอเตอร์สำหรับใช้ในการสั่นของโทรศัพท์มือถือซึ่งได้ผลิตเพื่อส่งออก 100% ให้กับโทรศัพท์มือถือยี่ห้อดัง เช่น โนเกีย โมโตโรล่า อัลคาเทล โดยมียอดการส่งออกในปี 2544 ประมาณ 53 ล้านชิ้น ส่วนในปี 2545 นี้จะสามารถผลิตเพื่อส่งออกได้ประมาณ 59 ล้านชิ้น ส่วนผลิตภัณฑ์อีกชนิดคือ VOLUMETRIC INFUSION PUMPS ในปี 2544 ทำการส่งออกได้ประมาณ 93 ล้านชิ้น และในปี 2545 นี้จะทำการส่งออกประมาณ 68 ล้านชิ้น
ตลาดสำคัญของบริษัท คือ สหรัฐอเมริกา ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย, ฮังการี, เยอรมัน ฮังการี, เม็กซิโก, บราซิล, เกาหลี, ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ โดยได้มีการตั้งเป้าหมายการส่งออกในปี 2545 เพิ่มขึ้นประมาณ 20% ทั้งที่เป็นการขยายกลุ่มลูกค้าเดิม และลูกค้ามีมูลค่าการส่งออกรวมทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ประมาณ 2,300 ล้านบาทต่อปี โดยผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มความต้องการเพิ่มสูงขึ้นคือมอเตอร์สำหรับใช้ในโทรศัพท์มือถือ--จบ--
-สท-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๕๑ BLA กวาดกำไรปี 67 รวม 3,623 ล้านบาท โตพุ่ง 42% เคาะจ่ายปันผลปี 2567 หุ้นละ 0.68 บาท รวม 1,159 ล้านบาท
๑๓:๒๓ TIDC จับมือ G42 ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของไทย พร้อมเสริมศักยภาพ AI
๑๓:๔๓ WPH ฟอร์มสวย! โชว์รายได้ปี67 ทะลุ 2,000 ลบ.โตขึ้น 39% กำไรแตะ 283 ลบ.เพิ่มขึ้น 198%
๑๓:๓๓ บลจ. ไทยพาณิชย์ ประเดิมกองทุนสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ พร้อม IPO กองทุนแรก SCBSBUSD6M1 เปิดเสนอขาย 24 ก.พ. 68 - 3 มี.ค. 68
๑๓:๐๓ ท่าเรือประจวบ จัดงาน Town Hall 2025 ชูแผนธุรกิจ มุ่งสู่ Blue Port
๑๓:๔๗ Kan Grooves จิ๋วแต่แจ๋ว เดี่ยวกลองสุดมันส์ พร้อมทัพนักดนตรีมากความสามารถอีกเพียบ
๑๓:๐๘ บีทูเอส Pokemon PLAY LAB Fun Fest by B2S ครั้งแรกในไทย ครบครันที่สุด สำหรับคนรักโปเกมอน
๑๓:๐๗ กรุงไทยร่วมกับ มหามกุฎราชวิทยาลัย ยกระดับการศึกษายุคดิจิทัลผ่าน Krungthai Campus Application
๑๓:๐๓ SPCG ประกาศกำไรสุทธิปี 67 ที่ 746.8 ล้านบาท เตรียมจ่ายปันผลครึ่งปีหลัง 0.70 บาทต่อหุ้น สะท้อนฐานะการเงินแข็งแกร่ง
๑๓:๔๖ BEM NEW HORIZONS สร้างโอกาสอย่างยั่งยืน บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งอนาคตให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ