โครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วระยะที่ 5 ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย

พุธ ๐๒ ตุลาคม ๒๐๐๒ ๐๙:๒๗
กรุงเทพฯ--2 ต.ค.--กสท.
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ดำเนินโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วระยะที่ 5 วงเงินลงทุนรวม 1,800 ล้านบาท โดยใช้เงินรายได้ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย รวมทั้งยกเว้นการทำสัญญาการค้าต่างตอบแทนสำหรับโครงการฯ ดังกล่าว
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นโครงการต่อเนื่องจากระยะที่ 4 ซึ่งคณะรัฐมนตรีเคยอนุมัติไปแล้ว และเป็นโครงการที่ใช้วงเงินลงทุนของการสื่อสารแห่งประเทศไทย และมีการดำเนินการร่วมกับหน่วยงาน โทรคมนาคมระหว่างประเทศของประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งมีแผนการดำเนินการก่อสร้างและจัดหาชัดเจนในปี 2545 -2546 ประกอบกับสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคมให้ทันสมัยและทั่วถึง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณให้ความเห็นชอบด้วย
กระทรวงคมนาคมได้รับรายงานจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วระยะที่ 5 ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อใช้เป็นระบบสื่อสัญญาณหลักระบบหนึ่งสำหรับรองรับปริมาณการใช้วงจร (Traffic) ระหว่างประเทศที่จะเพิ่มขึ้น
1.2 เพื่อขยายจำนวนวงจรติดต่อกับประเทศสหรัฐอเมริกาทำให้สามารถรองรับบริการโทรคมนาคมทุกรูปแบบโดยไม่มีข้อจำกัด โดยเฉพาะบริการที่ทันสมัย เช่น บริการ Internet และ Asynchronous Transfer Mode (ATM)เป็นต้น ซึ่งบริการเหล่านี้จำเป็นต้องใช้แถบความถี่กว้าง (Wide Bandwidth) เพื่อรับ - ส่งข้อมูลความเร็วสูง
1.3 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความมั่นคงของข่ายสื่อสัญญาณระหว่างประเทศของประเทศไทยให้มีศักยภาพทัดเทียมกับประเทศอื่น เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจแก่การสื่อสารแห่งประเทศไทยในการเข้าสู่การเปิดเสรีบริการโทรคมนาคม
2. เป้าหมาย ร่วมจัดสร้างข่ายเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว Thailand-Malaysia-Indonesia-Singapore cable (TMIS) ขนาดไม่ต่ำกว่า 20 Gbps (20,000 ล้านบิทต่อวินาที) โดยมีเป้าหมายแล้วเสร็จใช้งานได้ในไตรมาสที่สี่ของปีพ.ศ. 2546 ข่ายเคเบิลใต้น้ำใยแก้วนี้ จะมีจุดขึ้นบกในประเทศไทยที่ ตำบลเก้าเส้ง จังหวัดสงขลา โดยจะติดตั้งอุปกรณ์ที่สถานีเคเบิลใต้น้ำชลี 2 - สงขลา การดำเนินการจัดสร้างจะร่วมกับหน่วยงานโทรคมนาคมระหว่างประเทศของประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย (หากการสรรหาแล้วเสร็จ)
3. ระยะเวลาดำเนินงาน อายุโครงการมีกำหนดระยะเวลา 17 ปี (รวมระยะเวลาก่อสร้างและจัดหา 2 ปี(ปี พ.ศ. 2545 - 2546)) โดยเริ่มเปิดใช้งานในไตรมาสที่สี่ของปี พ.ศ. 2546
4. เงินลงทุนของโครงการ โครงการนี้จะใช้เงินลงทุนจากเงินรายได้ของการสื่อสารแห่งประเทศไทยเองเป็นวงเงินทั้งสิ้น 1,800 ล้านบาท
5. ผลตอบแทนการลงทุน การลงทุนของโครงการจะมี Internal Rate of Return (IRR) เท่ากับร้อยละ17.16 Net Present Value (NPV) และ Benefit Cost Ratio (B/C) เท่ากับ 611.39 ล้านบาท และ 1.47 ตามลำดับ ที่อัตราส่วนลดร้อยละ 12 เนื่องจากการดำเนินการจัดสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว TMIS ตามโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วระยะที่ 5 นี้ เป็นการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาคีต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน การรวมสัญญาการค้าต่างตอบแทน (Counter Trade) ไว้ในสัญญาจ้างจัดสร้างฯ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากทุกภาคีสมาชิก ซึ่งเมื่อยึดถือตามนโยบายของรัฐบาลในแต่ละประเทศจะก่อให้เกิดความไม่สมดุลขึ้นในแต่ละภาคี ดังนั้น การสื่อสารแห่งประเทศไทยจึงเห็นสมควรขอยกเว้นการทำสัญญาการค้าต่างตอบแทนสำหรับโครงการนี้ เช่นเดียวกับโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วระยะที่ 4--จบ--
-สส-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ