TESA ขอเชิญผู้สนใจ ร่วมกิจกรรม TESA Tea Talk ครั้งที่ 4

อังคาร ๑๘ พฤศจิกายน ๒๐๐๓ ๑๗:๑๗
กรุงเทพฯ--18 พ.ย.--TESA
เชิญร่วมกิจกรรม TESA Tea Talk ครั้งที่ 4
ในหัวข้อเรื่อง
"Smart Card , Smart Tag (RF-ID) ไทยจะใช้ ทำอย่างไร
ให้เกิดการผลิตขึ้นในประเทศ และโอกาสทองของการสร้างนักพัฒนาไทย"
โดย
ดร.อิทธิ ฤทธาภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์
คุณมานพ ธรรมสิริอนันต์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด
สำหรับกิจกรรม TESA Tea Talk ครั้งที่ 4 จะขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม 2546 เริ่มตั้งแต่เวลา 15.00น.-18.00น. ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ โทร: 02-641-1960
ในครั้งนี้ ได้นำเสนอประเด็นที่คาราคาชัง และคาใจ ในเรื่อง "Smart Card , Smart Tag (RF-ID) ไทยจะใช้ ทำอย่างไรให้เกิดการผลิตขึ้นในประเทศ และโอกาสทองของการสร้างนักพัฒนาไทย"
พร้อมทั้ง การแสดงความพร้อมของนักพัฒนาในประเทศไทย และผู้ที่เกี่ยวข้องในเทคโนโลยีนี้ทุกฝ่าย เช่น คนออกแบบชิป ผู้ผลิตชิป ภาคเอกชน และภาครัฐ ในฐานะผู้ใช้อย่างแท้จริง (เราจะเป็นผู้ซื้อ และผู้ใช้ที่ดี ต่อไปไม่อีกแล้วนะค่ะ เราต้องเป็นผู้ผลิต เพื่อใช้บ้าง)
โดยได้เชิญผู้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนี้ทุกฝ่าย มาร่วมเสวนา เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านสามารถตั้งคำถาม เพื่อคลายข้อสงสัยที่ค้างคาใจ ในเรื่องนี้มานาน อีกทั้งจะยังช่วยตอบคำถามเพิ่มเติมต่อไปได้อีกว่า เทคโนโลยีจะสร้างโอกาสทองให้กับนักพัฒนาไทยได้จริงแท้แน่นอนอย่างไรอีกบ้างด้วย
ต้องติดตาม สอบถาม ตรวจสอบ และประเมินผลกันเอาเอง ในวันนั้นนะค่ะ
(แก่นของการเสวนาในครั้งนี้ ก็ เพื่อประกาศให้สังคมรับรู้ว่าคนไทย เรา ก็มีคนที่มีความสามารถ และรอบรู้ในเทคโนโลยีนี้อยู่หลายท่านเหมือนกัน หากมีการร่วมมือกันอย่างจริงจังและจริงใจ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และนักพัฒนาแล้ว เราก็สามารถพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาใช้เองได้
เพราะเรามีทีมนักพัฒนาคนไทยที่สามารถออกแบบชิป (ผ่านประสบการณ์ในการออกแบบชิปหลายตัวให้คนทั่วโลกใช้มาแล้ว และยอมสละโอกาสที่ดี กลับมาทำงานให้กับประเทศไทย ในฐานะนักพัฒนา และมุ่งมั่นให้เกิดอาชีพนักวิจัยและพัฒนาขึ้นในประเทศไทย ด้วยความเจ็บปวดบ้าง แต่ยังไม่ยอมแพ้ค่ะ) นอกจากนี้เราก็ยังมีโรงงานที่ผลิตชิปได้ด้วย
เมื่อสองส่วนประกอบที่ลงตัวกันแล้ว ไฉนจึงไม่ส่งเสริมให้เกิดการออกแบบและผลิตขึ้นในประเทศไทยเราล่ะ? (หากใครมีคำตอบที่ดี ช่วยมาบอกกันด้วยนะค่ะ ในเวที Tea Talk N.4) เพราะอย่างน้อยที่สุดเงินตราไม่ต้องไหลออกนอกประเทศ และส่งลูกให้เกิดมีบริษัท ออกแบบและพัฒนาเกิดขึ้น อีกหลายบริษัท คนไทยมีโอกาสซึมซับในเทคโนโลยีเหล่านี้ มีความชำนาญเพิ่มขึ้น อีกหน่อย ก็สามารถต่อยอดพัฒนาในสิ่งที่ยิ่งใหญ่ และมีเทคโนโลยีเป็นของตนเองมากขึ้นด้วย
หมายเหตุ:ข้อมูลเพิ่มเติมบางส่วน จากเอกสารการตอบข้อสงสัย เกี่ยวกับเรื่องบัตรสมาร์ทการ์ด และโรงงานผลิตชิป โดยดร.อิทธิ ได้นำเสนอข้อมูลเป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. รัฐบาลจะใช้สมาร์ทการ์ด อันนี้เป็นนโยบาย ผมไม่บอกว่าดีหรือไม่ดี แต่ตัวชิปยังต้องนำเข้า ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC)ซึ่งเตรียมความพร้อมของงาน chip fabrication ในเมืองไทยมาจนพร้อมแล้วในปัจจุบันแต่ยังขาดเครื่องจักรให้ครบวงจรได้ทำเรื่องเสนอจะเข้าครม.ว่าหากรัฐบาลจะซื้อชิปมาใช้ก็อยากให้มีเงื่อนไขว่าให้ผู้ขายชิปต้องเข้ามาผลิตในประเทศ เพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมชั้นสูงขึ้นในประเทศ และเป็นแนวทางที่ประเทศอื่น ๆ เขาก็ใช้กันในการดึงการลงทุนในอุตสาหกรรมชั้นสูงเข้าประเทศ และการเข้ามานั้นทางเราก็จะเปิดประมูลเพื่อหาผู้ผลิตชิปที่ให้ข้อเสนอที่ดีที่สุดว่า จะถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสมาร์ทการ์ดชิปให้แก่ TMEC เพื่อทำการผลิตในประเทศ และเราได้คำนวณราคาต้นทุนในการนี้เรียบร้อยแล้วว่า จะไม่เกิน 72 บาทต่อชิป (และหากรัฐบาลสนับสนุนซื้อชิปที่ผลิตนี้จะสามารถคืนทุนได้ในเวลา 5ปี) ดังนั้นข่าวที่เขียนบอกว่าต้นทุนเรา 82 บาท นำเข้า72บาท ถูกกว่านั้น เขียนผิดครับ และถ้าต้นทุนนำเข้าถูกกว่านี้จริง เราก็ยินดีที่จะรู้ว่าบริษัทไหนที่พร้อมเสนอราคาที่ต่ำกว่านี้ นั่นคือยุทธศาสตร์ของเราคือการใช้ตลาดของรัฐเป็นตัวดึงให้ผู้ผลิตสมาร์ทการ์ดชิปรายใหญ่(มีหลายรายให้เลือกได้)สนใจเข้ามาผลิตในประเทศ และTMEC มีความพร้อมด้านระบบพื้นฐาน คน และ เครื่องจักรบางส่วนอยู่แล้ว และจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าเพราะราคา 72 บาทนั้นถูกกว่าที่คุย ๆ กันในท้องตลาด (และหากไม่คิดค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร ต้นทุนการผลิตต่อชิปจะเท่ากับ 40 บาท) และนอกจากประหยัดเงินแล้ว ยังเกิดฐานของอุตสาหกรรมชั้นสูงขึ้นในประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดอุตสาหกรรมชั้นสูงต่อเนื่องอื่น ๆ ตามมา ตรงนี้ผมสามารถใช้เวลาเมื่อไหร่ก็ได้กับทุกท่านที่สนใจและหวังดีกับประเทศที่จะคุยกันจริง ๆ และสามารถเปิดเสวนาได้ทุกเวลาครับ
2. เรื่องโรงงานไมโครชิปสร้างมลพิษที่เขียนในข่าวนั้น ผมคิดว่าสับสนกับโรงงานอื่นหรือเปล่าไม่ทราบ เพราะปัจจุบันนี้ประเทศที่ยังไม่มีโรงงานผลิตไมโครชิปทุกประเทศอยากให้มีและส่งเสริมการลงทุนให้คนเข้าไปลงทุนกันมากมายแม้แต่ในยุโรป คือ เยอรมัน ไอร์แลนด์ และเบลเยี่ยม และในอเมริกาคือแถวรัฐวอชิงตันและรัฐอื่นๆ สิงคโปร์และไต้หวันมีโรงงานอยู่เต็มเกาะนอกจากจะไม่มีใครเห็นว่าเป็นมลพิษแล้ว เขายังสนับสนุนการลงทุนด้านนี้อย่างเต็มที่ ญี่ปุ่นมีโรงงานเต็มทั้งสี่เกาะกลัวมากว่าโรงงานจะย้ายหนีออกจากประเทศตัวเอง และแม้แต่อเมริกาก็กลัวโรงงานจะย้ายออกจากประเทศตัวเองไปประเทศที่ต้นทุนถูกกว่า ผมขอเรียนเชิญทุกท่านที่ซีเรียสกับเรื่องนี้ไปเยี่ยมศูนย์ TMEC เพื่อจะได้เห็นว่าระบบต่าง ๆ มันมีอะไรและเริ่มอย่างไรจบอย่างไร ครับ ผมและทีมยินดีต้อนรับเต็มที่ครับ
3. ส่วนเรื่องที่บอกว่ามีการล็อคสเปกเพื่อให้ผ่านครม.แล้วจะเอาเจ้าที่มีเทคโนโลยีเก่ามาทำนั้น ขอเรียนย้ำว่าเราจะเปิดประมูลหาผู้ผลิตชิปที่ให้ข้อเสนอที่ดีที่สุด ซึ่งตอนนี้เจ้าที่สำคัญ ๆ คือ Infineon, Philips, Hitachi(Renesas), OKI และอื่น ๆ นั้นได้มาแสดงความสนใจแล้วว่าหากรัฐบาลมีนโยบายดังว่าจริงเขาก็พร้อมที่จะเสนอตัวมาทำการผลิตกับเราในประเทศไทยที่ TMEC และชิปที่จะผลิตนั้นสเปคจะถูกกำหนดโดยผู้ใช้ซึ่งตอนนี้เจ้าภาพคือกระทรวงICT และกำลังมีการประสานกันเพื่อหารือแนวทางนี้ครับ ส่วนเรื่องการผลิตจะช้าไม่ทันใช้ ฯลฯ นั้น เราได้คุยกันว่าการเปิดประมูลเพื่อเลือกผู้เสนอชิปนั้น คนชนะจะต้องพร้อมเข้ามาผลิตในประเทศกับเรา โดยในระหว่างที่ยังผลิตไม่ได้ก็จะสามารถเอาชิปเข้ามาขายให้รัฐบาลในราคาที่ชนะการประมูลได้ นั่นคือแนวคิดการผลิตชิปในประเทศของTMECจะไม่ทำให้เกิดการล่าช้าของฝ่ายผู้ใช้แต่อย่างใดครับ
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะเข้าใจแนวคิดและความคุ้มค่าที่เรานำเสนอนี้และหากมีข้อสงสัยแนะนำประการใด ยินดีรับฟังอย่างเต็มที่ครับ
ต่อจากนั้น ก็จะเสวนาเรื่อง “การสนับสนุนเงินทุน ในบริษัททางด้านการวิจัยและพัฒนา โดย อ.ประยูร เชี่ยววัฒนา จากธนาคารไทยธนาคาร
หลังจากพักทานอาหารว่างกันแล้ว จะมีการพูดคุยเกี่ยวกับโจทย์จากบริษัท ทศท.คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท เทเลคอม เอเชีย จำกัด(มหาชน) และบริษัท จัดการและบริหารทรัพยากรน้ำ จำกัด
หากภาคเอกชนท่านใดที่สนใจจะนำโจทย์เข้าพูดคุยกันในครั้งนี้ (นอกเหนือจากที่ได้เอ่ยนาม) ขอความกรุณาช่วยแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพื่อความสะดวกในการจัดเตรียมและเชิญผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่อไปด้วย ส่วนนักพัฒนา หากต้องการพื้นที่เพื่อแสดงผลงานและปิดโปสเตอร์ สามารถแจ้งความจำนงมาได้ก่อนวันที่ 30 พฤศจิกายน 2546
โปรดสำรองที่นั่งล่วงหน้า เพื่อความสะดวกในการจัดเตรียมและบริการทุกท่าน ภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2546 เท่านั้น ฟรี!!!!(ที่นั่งมีจำนวนจำกัด)
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
ขนิษฐา ประสารสุข
- Activity Manager& Co-ordinator
Thai Embedded Systems Association:TESA
www.tesa.or.th
26th Floor CP Tower2 Rachadaphisek Rd., Dindaeng, Bangkok 10320 Thailand
Tel:+66 (0) 2641-1595 Fax:+66 (0) 2641-1597--จบ--
-รก-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ เขตบึงกุ่มแจงประเด็นร้องเรียน - สร้างความเข้าใจการสั่งรื้ออาคารต่อเติมปากซอยนวมินทร์ 24
๑๖:๑๓ MOTHER เปิดฉากเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุน ดีเดย์โรดโชว์ออนไลน์ 22 ม.ค.68
๑๖:๐๑ M STUDIO ขึ้นแท่นสตูดิโอผู้ผลิตและจัดจำหน่ายหนังไทยอันดับ 1
๑๖:๐๐ จับตา จัดเก็บภาษีความเค็มขนมขบเคี้ยว เพิ่มทางเลือกสุขภาพ ลดเสี่ยงโรค NCDs
๑๕:๐๐ จุฬาฯ ร่วมกับ PMCU ชวนน้องๆนิสิต นักศึกษาทุกมหาวิทยาลัย ส่งผลงานออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ประกวดภายใต้แนวคิด Chula For
๑๕:๐๐ กลุ่มสมอทอง เข้าร่วมโครงการ Kick off การขับเคลื่อนปาล์มน้ำมัน
๑๕:๐๐ สจส. เร่งสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารหน้าตลาดมีนบุรี
๑๕:๒๐ ลีเอนจาง คลินิก ตอกย้ำความเป็นผู้นำในวงการความงาม คว้ารางวัล Silver Shine ประเดิมศักราชใหม่! ในงาน Nebula Nova: The New Star of
๑๔:๑๗ กลุ่มไทยรุ่งเรือง ส่งน้ำตาลแบรนด์ ษฎา สร้างสีสันงานเทศกาลตรุษจีนเยาวราช 2568 พร้อมเปิดตัวน้ำตาลกรวดธรรมชาติ
๑๔:๔๓ อลิอันซ์เปิด Allianz Risk Barometer 2025 เผยปัจจัยเสี่ยงของธุรกิจไทยชูอัคคีภัยและการระเบิดขึ้นแท่นความเสี่ยงอันดับหนึ่งทางธุรกิจ