ILCT: สิทธิบัตรเทคโนโลยีการเผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ กับปัญหาข้อกฎหมาย

จันทร์ ๐๕ มกราคม ๒๐๐๔ ๑๔:๒๖
กรุงเทพฯ--5 ม.ค.--ที่ปรึกษากฎหมายสากล
โดย ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ
บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายสากล จำกัด
[email protected]
หนังสือพิมพ์ เอเชียน วอลท์ สตรีท เจอร์นัล (Asian Wall Street Journal) ฉบับลงวันที่ 16 ธันวาคม 2546 ได้ตีพิมพ์เกี่ยวกับเรื่องสิทธิบัตรเทคโนโลยีการเผยแพร่ภาพและเสียงผ่านสื่อต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่สนใจของชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก และอาจมีผลกระทบต่อธุรกิจการเผยแพร่ภาพและเสียงผ่านสื่อต่าง ๆ ทุกประเภททั่วโลกไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ ทีวี คอมพิวเตอร์ ฯลฯ กล่าวคือ บริษัท อคาเชีย รีเซิร์ช คอร์ป. (Acacia Research Corp.) อ้างว่าบริษัทตนเป็นเจ้าของสิทธิบัตรเทคโนโลยีการรับ-ส่งข้อมูลภาพ เสียงและการรับส่งข้อมูลผ่านระบบวีดีโอดิจิตอลทางสื่อประเภทต่าง ๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา 5 สิทธิบัตรและสิทธิบัตรทั่วโลกมากกว่า 17 ประเทศ อคาเชีย วางแผนที่จะเรียกเก็บค่าใช้สิทธิ (royalty fee) ในสิทธิบัตรเทคโนโลยีการเผยแพร่ภาพและเสียงจากยาฮู (Yahoo) และ วอลท์ดิสนีย์และบริษัทที่เผยแพร่ออกอากาศผ่านทางอินเตอร์เน็ททั่วโลก โดยอัตราค่าใช้สิทธิในสิทธิบัตรของตนคิดเป็นอัตรา 4% ของรายได้จากการเผยแพร่ภาพและเสียงผ่านทางอินเตอร์เน็ทและสื่อประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภายในโรงแรม สถานี เคเบิ้ลทีวีผ่านดาวเทียม หรือ ระบบใด ๆ ทุกประเภท โดยอคาเชีย ได้เริ่มส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังสื่อต่าง ๆ ให้ชำระค่าใช้สิทธิบัตรของตนโดยอ้างว่า บริษัท ดอทคอม รวมถึงบริษัทสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย โรงแรมต่าง ๆ ได้ละเมิดสิทธิบัตรในการเผยแพร่ภาพและเสียงของตน ดังนั้น จึงต้องชำระค่าใช้สิทธิ ในสิทธิบัตรดังกล่าว มิจฉะนั้น จะดำเนินคดีตามกฎหมาย
จริง ๆ แล้วเรื่องราวเช่นนี้ เคยเกิดขึ้นเมื่อสองปีที่แล้วตอนที่บริษัท บีที หรือ (BT - British Telecom) ฟ้องร้องผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ทรายหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาว่าละเมิดสิทธิบัตรในเทคโนโลยีไฮเปอร์ ลิงค์ (Hyper Link) และเรียกร้องค่าเสียหาย ท้ายที่สุดศาลอเมริกันมีคำพิพากษาว่า บีที ไม่มีสิทธิในการอ้างสิทธิบัตรในเทคโนโลยีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไฮเปอร์ ลิงค์ เนื่องจาก สิทธิบัตรของ บีที เป็นการส่งข้อมูลสื่อสารในระบบคอมพิวเตอร์แบบเก่าจึงไม่มีสิทธิที่จะอ้างสิทธิบัตรการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเพื่อเรียกร้องค่าใช้สิทธิเพิ่มเติมแต่อย่างใด ข้อที่น่าพิจารณา คือ หากคดีดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศไทย สิทธิบัตรเกี่ยวกับการเผยแพร่ภาพและเสียงดังกล่าวจะสามารถจดทะเบียนสิทธิบัตรในประเทศไทยได้หรือไม่
โดยหลักทั่วไปตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 การยื่นจดสิ่งประดิษฐ์เพื่อได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตร ต้องมีองค์ประกอบที่ใช้ในการจดสิทธิบัตรกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ดังนี้
มาตรา 5 ภายใต้บังคับมาตรา 9 การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่
(2) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และ
(3) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม
จากหลักเกณฑ์ดังกล่าว หาก อคาเชีย ต้องการได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตรในสิ่งประดิษฐ์การเผยแพร่ภาพและเสียงดังกล่าว อคาเชีย ต้องพิสูจน์ว่าเทคโนโลยีการเผยแพร่ภาพและเสียงดังกล่าวมีความใหม่หรือมีการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น ในกรณีที่อคาเชียได้ยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตรในต่างประเทศแล้ว อคาเชียต้องยื่นจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ภายในประเทศไทย ภายในระยะเวลา 12 เดือน นับจากวันที่จดทะเบียนสิทธิบัตรครั้งแรกในต่างประเทศ มิจฉะนั้น สิทธิบัตรดังกล่าวจะไม่สามารถจดทะเบียนได้เพราะขาดความใหม่
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสิทธิบัตรดังกล่าวจะได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทย กฎหมายสิทธิบัตรของไทย อเมริกาและหลักสากลก็มีหลักเกณฑ์ในเรื่องของการป้องกันการผูกขาดในเรื่องของเทคโนโลยี ซึ่งมีระบุไว้ในมาตรา 51 ของกฎหมายสิทธิบัตรของไทย ที่ให้อำนาจอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาในการนำสิทธิบัตรที่รับจดทะเบียนออกให้บุคคลอื่นเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือ วิจัย ได้ หรือ นำสิทธิบัตรดังกล่าวออกใช้เพื่อประโยชน์แก่สาธารณชนโดยเจ้าของสิทธิบัตรจะได้รับค่าตอบแทนตามสมควร
สุดท้ายนี้ คงต้องดูกันว่า ศาลอเมริกันจะว่าอย่างไร จะวินิจฉัยแนวเดียวกันกับคดี บีที หรือไม่ ความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่า อคาเชียไม่น่าจะมีสิทธิเด็ดขาดในเทคโนโลยีดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว มิจฉะนั้น คงโกลาหลกันน่าดู อย่างไรก็ตาม คงต้องพิจารณาข้อถือสิทธิ (claim) ของสิทธิบัตรดังกล่าวเป็นหลัก สิ่งที่เห็นชัดเจนจากกรณีนี้ คือ ในยุคดิจิตัลการแข่งขันทางการค้าค่อนข้างสูง ดังนั้น ใครสามารถครอบครอง ผูกขาดหรือควบคุมสื่อเทคโนโลยีได้ บุคคลนั้นจะเป็นผู้ทำกำไรสูงสุดครับ--จบ--
-รก-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO