ชายเสื่อมสมรรถภาพทั่วโลกอยากกลับมามีเซ็กซ์เช่นเดิม แพทย์ชี้คนไทยกล้าพบหมอมากขึ้นเพื่อรักษาโรคนี้

อังคาร ๐๖ มกราคม ๒๐๐๔ ๑๓:๓๗
กรุงเทพฯ--6 ม.ค.--แอ๊ดวานซ์ อะโกร
ชายไทยและเทศที่ป่วยเป็นโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศทั่วโลกต่างโหยหาวิธีที่จะกลับมามีเซ็กซ์ได้อย่างปกติดังเดิม ทั้งพบหมอเพื่อช่วยรักษา และใช้ยาเพื่อช่วยให้มีสมรรถภาพที่ดีชั่วคราว แพทย์ไทยชี้คนไทยกล้าเข้ามาปรึกษามากขึ้น เพื่อทำให้เกิดความสุขในชีวิตรัก และต้องการยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
สถาบันอินเตอร์เนชั่นแนล โซไซตี้ ฟอร์ เมนส์ เฮลท์ (International Society for Men's Health) เครือข่ายทางด้านวิทยาศาสตร์ระหว่างชาติและเป็นศูนย์การแพทย์หลายสาขาของยุโรปได้ทำการทดลองสำรวจผู้ชายวัย 40 - 70 ปีที่มีปัญหาเรื่องโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ หรือ อีดี (Erectile Dysfunction) จำนวน 973 ราย จาก 12 ประเทศ ใน 3 ทวีป รวมทั้งผู้ชายวัย 45 ปีขึ้นไปอีก 2,164 ราย พบว่าร้อยละ 81 ให้ความเห็นว่า อีดีมีผลกระทบด้านลบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก นอกจากนี้ ยังมีผู้ชายอีกร้อยละ 69 ที่ป่วยเป็นโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศและเคยได้รับการบำบัดโดยยาที่มีอยู่ในปัจจุบันยอมรับว่า สามารถกลับมามีเพศสัมพันธ์ได้จริง แต่คุณภาพของเพศสัมพันธ์นั้นไม่เหมือนกับที่เคยเป็นเนื่องจาก มีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาและขั้นตอนการใช้ยา
นายแพทย์นพพร เชยพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ กล่าวว่า จากประสบการณ์การรักษามากว่า 15 ปี พบว่าปัจจุบันผู้ชายไทยที่มีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศกล้าปรึกษาแพทย์มากขึ้น กล้าที่จะพูดคุยถึงสาเหตุ การแก้ไข และยอมรับการรักษา ต่างจากเมื่อก่อนที่ผู้ป่วยด้วยโรคนี้ไม่กล้าที่จะมาพบหมอเนื่องจากมีความเขินอาย ไม่ต้องการให้ใครรู้ว่าตัวเองมีปัญหาทางด้านนี้ ก็จะพากันไปสรรหาวิธีแก้ไขกันเอาเอง ซึ่งก็มีบางรายที่ทำผิดวิธีไปจนก่อให้เกิดอันตรายตามมาก็มี
ผู้ป่วยที่เข้ามาปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้น มีหลายรายที่ถามหาการรักษาที่ได้ผลดี ทำให้กลับมามีเพศสัมพันธ์ได้เหมือนสมัยหนุ่มๆ ที่มีเพศสัมพันธ์ได้ดังใจ ไม่ต้องมาเสียอารมณ์ในการนั่งคอยกว่ายาจะออกฤทธิ์ และไม่ต้องระวังว่าประสิทธิภาพของยาจะลดลงหากกินพร้อมอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่สำคัญคือในการที่ผู้ป่วยจะต้องกินยาทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์นั้นยังทำให้รู้สึกว่าถูกตอกย้ำว่าเป็นผู้ที่เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวที่ต้องการนี้คงต้องรอไปก่อน เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มียาชนิดไหนที่จะสามารถครอบคลุมได้ทุกความต้องการ
นายแพทย์นพพร กล่าวเสริมอีกว่า สำหรับหนทางที่จะช่วยทำให้สถานการณ์ดีขึ้นอาจเป็นเรื่องของการปรับพฤติกรรมอื่นๆ ร่วมด้วย อาทิ การออกกำลังกาย การพักผ่อน การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การรักษาโรคบางชนิดจะช่วยให้ร่างกายอยู่ในภาวะที่ดีขึ้นโดยอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาบ่อยๆ
ทั้งนี้ จากความต้องการของผู้ป่วยดังที่กล่าวมาแล้ว ก็น่าจะเป็นข้อมูลให้กับผู้ผลิตเวชภัณฑ์ที่จะทำหน้าที่ในการคิดค้นตัวยาที่มีประสิทธิภาพเต็มที่ ไม่ต้องใช้เวลานานในการออกฤทธิ์ และทำให้ผู้ใช้ยามีเพศสัมพันธ์ได้อย่างราบรื่น เสมือนไม่ใช่ผู้ป่วยด้วยโรคอีดี
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
จรรยา นุกูลกิจ โทร. 0 - 2 663-3226 ต่อ 36--จบ--
-รก-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๑๒ กลุ่มสยามกลการ และ ครอบครัวพรประภา ผนึกกำลังกับโรงเรียนไฮเกต แห่งสหราชอาณาจักร เตรียมเปิดโรงเรียนนานาชาติไฮเกต ประเทศไทย ในปี 2569 ใกล้สนามกอล์ฟสยามคันทรีคลับ
๑๓:๕๖ จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคนรวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
๑๑:๑๙ เวลคัมแบคออนบอร์ด! บางกอกแอร์เวย์สต้อนรับฤดูกาลท่องเที่ยว พร้อมกลับมาให้บริการในเส้นทางบินตรง เชียงใหม่ - กระบี่ เชื่อมต่อการท่องเที่ยวเมืองไฮไลต์ในล้านนา และอันดามัน เริ่มแล้ววันนี้
๑๑:๕๑ ITC สุดปัง โชว์ผลงานไตรมาส 3 กวาดยอดขาย 4.4 พันล้านบาท ดันกำไรพุ่ง 51% ตอกย้ำความเป็นผู้นำ เดินหน้าขยายธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงทั่วโลก
๑๑:๕๕ หัวเว่ย ดิจิทัล พาวเวอร์ และลีสซิ่งไอซีบีซี (ไทย) ประกาศความสำเร็จโครงการเช่าซื้อเพื่อสนับสนุนการใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์ เดินหน้าช่วยขับเคลื่อนเส้นทางสู่เป้าหมาย Net Zero
๑๑:๔๑ LYN INFINITE เปิดตัวคอลเลกชั่น WINTER 2024 กับแคมเปญ Miss Artificial ที่จะพาผู้หญิงทุกคนก้าวสู่ซีซันใหม่อย่างมีสไตล์
๑๐:๒๑ สมาคมธนาคารไทย ร่วมมือกับภาครัฐเตรียมออกมาตรการลดภาระชำระหนี้ ช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและธุรกิจขนาดเล็ก
๑๐:๒๗ A5 ประกาศความสำเร็จ ย้ายเข้าเทรด SET ตอกย้ำศักยภาพธุรกิจ สู่การเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมาภิบาล
๑๐:๕๔ LPN ส่งแคมเปญใหญ่ 'SHOCK PRICE' ช็อกราคา ส่งท้ายปี ดันยอดขายโค้งสุดท้ายปี 67 พร้อมรับข้อเสนอสุดว้าว! 8 พ.ย. - 31
๑๐:๓๔ ดรีมมี่ ร่วมด้วยช่วยฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังน้ำลด สมทบทุน-มอบสินค้าอุปโภคบริโภค และของใช้จำเป็น รวมมูลค่ากว่า 300,000