กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่จัดสัมมนาโครงการพัฒนาสินค้าที่เพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์ของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าตามพิกัดศุลกากร 7213 และ 7214

พฤหัส ๐๘ มกราคม ๒๐๐๔ ๑๐:๐๒
กรุงเทพฯ--8 ม.ค.--กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
นายอนุสรณ์ เนื่องผลมาก อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม แถลงว่า กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ร่วมกับสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย กำหนดจัดสัมมนา "โครงการพัฒนาสินค้าในเชิงพาณิชย์ของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าตามพิกัดศุลกากร 7213 และ 7214" ในวันพฤหัสบดีที่ 8 มกราคม 2547 ณ ห้องกมลมาศ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ และในวันศุกร์ที่ 9 มกราคม 2547 ดูงานที่บริษัท เหล็กบูรพาอุตสาหกรรมจำกัด จังหวัดระยอง และที่บริษัท เหล็กสยาม (2001) จำกัด จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นโรงงานนำร่องของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลการวิจัย พัฒนาการผลิตเหล็กลวดเกรด SWRCH6A และสลักภัณฑ์ อุตสาหกรรมตีขึ้นรูปร้อน และอุตสาหกรรมตกแต่งทางกล โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมสัมมนาประมาณ 110 ราย
ตามที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ร่วมกับสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินโครงการภายใต้แผนปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมระยะที่ 2 เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศให้สามารถผลิตสินค้าเหล็กลวด และเหล็กเส้นคุณภาพสูงทดแทนการนำเข้า ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 9,000 ล้านบาท ในปี 2546 และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามความเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์เครื่องจักร และชิ้นส่วนอะไหล่ต่างๆ ซึ่งการดำเนินงานโครงการระยะแรก เป็นการศึกษาวิจัยข้อมูลทางการตลาด การนำเข้า และศักยภาพการผลิตของผู้ผลิตในประเทศ ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2545 และโครงการระยะที่สอง เป็นการวิจัยพัฒนาการผลิตสินค้า ซึ่งได้คัดเลือกสินค้ากลุ่มพิกัดศุลกากร 7213 คือเหล็กลวดชั้นคุณภาพเกรด SWRCH6A ตามมาตรฐาน JIS (Japanese Induslrial Standard) ใช้ในอุตสาหกรรมสลักภัณฑ์และสินค้ากลุ่มพิกัดศุลกากร 7214 คือ เหล็กเส้นชั้นคุณภาพเกรด S45C ตามมาตรฐาน JIS (Japanese Induslrial Standard) ใช้ในอุตสาหกรรมตีขึ้นรูปร้อน (Hot Forging) และอุตสาหกรรมตกแต่งทางกลอื่นๆ ทั้งนี้ การคัดเลือกสินค้าดังกล่าวเนื่องจากมีมูลค่าการนำเข้าสูง และมีความเป็นไปได้ในการผลิต
โครงการดังกล่าวมีโรงงานนำร่องที่เข้าร่วมโครงการ 2 โรงงาน คือ โรงงานของบริษัท เหล็กสยาม (2001) จำกัด และบริษัท เหล็กบูรพาอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งมีผลการวิเคราะห์สู่กระบวนการผลิตดังนี้
สินค้ากลุ่มพิกัดศุลกากร 7213 คือ เหล็กลวดชั้นคูณภาพเกรด SWRCH6A และ SWRCH45K ทดลองหลอมและรีด โดย บริษัท เหล็กสยาม (2001) จำกัด ได้ศึกษาตั้งแต่การหลอมเหล็กด้วยเตาอาร์คไฟฟ้า (Electric Are Fumace) การหล่อเหล็กด้วยเครื่องหล่อเหล็กชนิดต่อเนื่อง (Continuous Casting) และการรีดเหล็ก (Hot Rolling) ซึ่งจะใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ และการติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นเพิ่มเติม คือ อุปกรณ์ป้องกันไม่ให้อากาศสัมผัสกับเหล็กเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อบกพร่อง เช่น รูพรุน และสิ่งเจือปนที่ทำลายคุณสมบัติการขึ้นรูปของเหล็กแท่งที่ผลิต และนอกจากนี้จะใช้เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่สำหรับการหลอมเหล็ก การปรุงแต่งส่วนผสม และการหล่อเหล็กส่วนในการรีดเหล็กนั้นจะใช้วิธีการควบคุมอัตราการเย็นตัวเพื่อควบคุมโครงสร้างทางโลหะวิทยาให้เหมาะสมผลการทดสอบสามารถใช้งานได้เทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์เหล็กลวดเกรด SWRCH6A และ SWRCH45K ที่นำเข้าจากต่างประเทศ
สินค้ากลุ่มพิกัดศุลกากร 7214 คือ เหล็กเส้นชั้นคูณภาพเกรด S45C ตามมาตรฐาน JIS (Japanese Induslrial Standard) ทดลองผลิตโดย บริษัท เหล็กบูรพาอุตสาหกรรม จำกัด ได้พัฒนาปรับปรุงตัวแปรและอุปกรณ์ในการรีดเหล็ก (Hot Rolling) ให้เหมาะสม เหล็กลวดและเหล็กเส้นที่ผ่านการทดลองผลิต บริษัทฯ ได้ส่งเหล็กเส้นให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องทดสอบการใช้งานในโรงงานตีขึ้นรูปร้อน และอุตสาหกรรมตกแต่งทางกลที่สนใจเข้าร่วมโครงการนำไปทดสอบการใช้งาน ผลการทดสอบสามารถใช้งานได้เทียบเท่าผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นเกรด S45C ที่นำเข้าจากต่างประเทศ
ผลสำเร็จของโครงการดังกล่าว จะสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กมีข้อมูลและแนวทางที่จะพัฒนาสินค้าให้มีมูลค่าสูงได้ รวมทั้งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อเนื่องซึ่งส่วนใหญ่เป็น SMEs จะสามารถหาแหล่งวัตถุดิบภายในประเทศได้ในราคาถูกและสะดวกรวดเร็ว แทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการประหยัดเงินตราและระยะเวลาในการสั่งซื้อได้ในอนาคต
ผู้ที่สนใจที่จะเข้าร่วมสัมมนาสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียด และสมัครเข้าร่วมสัมมนาได้ที่สำนักอุตสาหกรรมพื้นฐาน กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ โทร. 0-22-2-3617 หรือ สถาบันเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย โทร. 0-2713-6547-50--จบ--
-วอ/รก-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ