ไข้เลือดออกป้องกันได้หากทุกฝ่ายร่วมมือกัน

พฤหัส ๐๘ มกราคม ๒๐๐๔ ๑๔:๐๖
กรุงเทพฯ--8 ม.ค.--กทม.
เมื่อวานนี้ (7 ม.ค.47) เวลา 13.30 น. ที่ห้องอเนกประสงค์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ดร.ธารินทร์ สงวนเสริมศรี รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานพิธีเปิดการอบรม “โครงการอบรมแนวทางเร่งรัดการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในสถานศึกษา ปี 2547” รุ่นที่ 2 โดยมี นพ.ชาญชัย คุ้มพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย นพ.ชัชชัย วัชรพฤกษาดี ผู้อำนวยการ กองควบคุมโรค และผู้เกี่ยวข้องร่วมพิธี
ผู้อำนวยการกองควบคุมโรค กล่าวว่า สำนักอนามัยจัดโครงการอบรมแนวทางเร่งรัดการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในสถานศึกษา ปี 2547 ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมเป็นข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร ครูอนามัยโรงเรียนทั้งสังกัดกรุงเทพมหานครและสังกัดหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,632 คน โดยแบ่งการอบรมเป็น 6 รุ่น ๆ ละ ครึ่งวัน ตั้งแต่วันที่ 6-13 มกราคม 2547 แบ่งตามพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ประสานงานที่ 1-6 ของสำนักอนามัย เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการ ควบคุมโรคไข้เลือดออกในสถานศึกษา ได้แก่ ครูอนามัยโรงเรียนประจำสถานศึกษา พยาบาลอนามัยโรงเรียนของศูนย์บริการ สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ฝ่ายการศึกษาของสำนักงานเขต รวมทั้งเพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษาได้จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรค ไข้เลือดออกแบบบูรณาการ โดยมุ่งเน้นการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะแพร่เชื้อไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องและจริงจังทุก 7 วัน เนื่องจากสถิติเมื่อปี 2546 ตั้งแต่ต้นปีถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในเขตกรุงเทพมหานครทั้งสิ้นจำนวน 8,158 ราย และมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวถึง 9 ราย เมื่อแยกตามกลุ่มอายุ พบว่าผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกถึงร้อยละ 65 เป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนอายุระหว่าง 5-24 ปี เสียชีวิตจำนวน ทั้งสิ้น 5 ราย
สำหรับการอบรมรุ่นที่ 2 นี้ ผู้เข้ารับการอบรมเป็นบุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ศูนย์ประสานงานที่ 2 ครอบคลุม พื้นที่ 7 สำนักงานเขต ได้แก่ เขตลาดกระบัง เขตประเวศ เขตบางนา เขตพระโขนง เขตสวนหลวง เขตวัฒนา และเขตคลองเตย รวมทั้งสิ้น 238 คน แยกเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครจากสำนักอนามัยและสำนักงานเขต จำนวน 93 คน และผู้เข้ารับการอบรมจากหน่วยงานที่ไม่ได้สังกัดกรุงเทพมหานคร 145 คน
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า โรคไข้เลือดออกแม้เป็นโรคติดต่ออันตรายที่สามารถทำให้สูญเสียชีวิตได้ แต่ก็สามารถควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดได้โดยการตัดวงจรการแพร่ระบาด สำหรับวิธีที่ให้ผลดีและง่ายที่สุดคือการกำจัดลูกน้ำยุงลายซึ่งต้องดำเนินการพร้อมกันทุกพื้นที่ในกรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้จากสถิติพบผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตอยู่ในกลุ่มวัยเรียนมากที่สุด ดังนั้นการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในสถานศึกษาจึงนับเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากยุงลายมักชอบหากินในเวลากลางวันซึ่งเป็นเวลาที่เด็กกลุ่มดังกล่าวอยู่ในโรงเรียน ซึ่งครูต้องเอาใจใส่เฝ้าสังเกตอาการของเด็กนักเรียน หากเด็กนักเรียนมีอาการป่วยคล้ายอาการของโรคไข้เลือดออกต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันทีเพื่อป้องกันการสูญเสียชีวิต
อนึ่ง การป้องกันและปราบปรามโรคไข้เลือดออกเป็นนโยบายสำคัญของกรุงเทพมหานครและของรัฐบาล จึงขอทุกสถานศึกษาได้ร่วมมือกันป้องกันโรคโดยการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ตลอดจนให้ความรู้แก่นักเรียนเพื่อจะได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้ เลือดออก และร่วมมือกันป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องต่อไป--จบ--
-นห-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ