"ยุติธรรม" จัดบรรยายพิเศษ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ครั้งที่ 2

พุธ ๑๔ มกราคม ๒๐๐๔ ๑๐:๑๒
กรุงเทพฯ--14 ม.ค.--กระทรวงยุติธรรม
เมื่อวานนี้ (13 ม.ค. 47) นายกิตติ ลิ้มชัยกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม หัวหน้ากลุ่มภารกิจ ด้านพัฒนาพฤตินิสัย เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการบรรยายพิเศษ โดยวิทยากรต่างประเทศเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ครั้งที่ 2 เรื่อง "Restorative Justice Practices in Canada and Selected Countries in Asia" (แนวทางการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในระบบงานยุติธรรมของประเทศแคนาดา และบางประเทศในเอเซีย) ณ โรงแรมแกรนด์ กทม.
รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า การสัมมนาครั้งนี้ เป็นการนำความรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อจะนำระบบงานต่าง ๆ นั้นไปประยุกต์ใช้ต่อไปในอนาคต กระบวนการยุติธรรม เชิงสมานฉันท์นั้น มีหลายประเทศที่ได้มีการนำมาใช้และประสบความสำเร็จ ความจริงกระบวนการ ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ สำหรับสังคมตะวันออก หรือแม้แต่ประเทศไทย อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นเรื่องที่มีอยู่แล้ว แต่ว่ามีการใช้ในขอบเขตที่จำกัด เพราะฉะนั้น การนำหลักการหรือแนวคิดของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้โดยตรงในกระบวนการยุติธรรม อาจจะดูเป็นเรื่องใหม่ เพราะเราจะต้องมีการเตรียมการ จะต้องมีการปรับปรุงและทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะว่าโดยหลักการกระบวนการนี้จะต้องเกิดจากการยินยอมพร้อมใจกันทั้ง 3 ฝ่าย ฝ่ายแรกคือ ผู้เสียหายหรือเหยื่อ ฝ่ายที่ 2 คือ ชุมชนหรือสังคม และฝ่ายที่ 3 คือ ผู้กระทำผิด ที่ต้องยอมรับในสิ่งที่ตนได้กระทำลงไป เพื่อจะทำให้สังคมหรือชุมชนนั้น เกิดความสงบสุข ซึ่งเป็นเป้าหมายใหญ่ของแนวความคิดนี้
"การที่เราจะนำระบบงานนี้มาใช้อย่างเต็มรูปในกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด ก็จำเป็นจะต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ที่หน่วยงานอื่นหรือประเทศอื่นได้มีการดำเนินการมาสำเร็จแล้ว เราจะได้มีการเรียนรู้และเลือกเอาสิ่งที่เหมาะสมกับสังคมไทยมาใช้ ซึ่งกระทรวงยุติธรรม ได้เชิญวิทยากร ต่างประเทศ คือ Mr. David Daubney เลขาธิการคณะกรรมการปฏิรูประบบการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด กระทรวงยุติธรรม ประเทศแคนาดา ซึ่งจะนำเสนอในเรื่องของประสบการณ์ในประเทศแคนาดา และ Prof. Tatsuya Ota, Associate Professor of law, Keio University, Japan จะนำเสนอแนวคิดและระบบ
งานนี้ที่ใช้หลายประเทศในทวีปเอเซีย ซึ่งเชื่อว่าสิ่งที่ได้รับ เราจะนำไปประยุกต์ใช้กับคนไทย และนำไปสู่ความสงบสุขของสังคมไทยในที่สุด โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับความรู้ความเข้าใจและนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ที่สำคัญคือ เป็นการนำความคิดเหล่านี้ไปพัฒนา ประยุกต์ใช้สำหรับ คนไทยในอนาคต" นายกิตติ กล่าว
ด้าน ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ กล่าวว่า กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เป็นแนวคิด และกระบวนวิธีปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด เหยื่อ และชุมชน ให้ได้รับความยุติธรรม ด้วยการเยียวยาและประสานรอยร้าวด้านจิตใจของเหยื่อ การแสดงความรับผิดชอบต่อผลของการกระทำของผู้กระทำความผิด และการเรียนรู้จากอาชญากรรมร่วมกันระหว่างชุมชนอย่างสันติวิธีควบคู่กับการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีในกระบวนการยุติธรรม เช่น ภารกิจด้านการแก้ไขฟื้นฟู ผู้กระทำความผิดในชุมชน กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ สามารถนำมาใช้ได้ในทุกขั้นตอนของงาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ในการทำงานด้วยการศึกษา รูปแบบ แนวทาง และการนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในระบบงานยุติธรรมของต่างประเทศ ทั้งทางตะวันตกและตะวันออก ที่มีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาพอสมควร เป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ จึงนับว่าเป็นโอกาสของสำหรับการศึกษา ดังนั้น เพื่อประโยชน์ต่อการกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในระบบงานยุติธรรมในฐานะทางเลือกหนึ่ง ที่จะนำมาเสริมประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา กรมคุมประพฤติ จึงได้ร่วมกับกรมราชทัณฑ์ และสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้จัดการบรรยายพิเศษ โดยวิทยากรต่างประเทศ ซึ่งครั้งถือนี้เป็นครั้งที่ 2 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยนักวิชาการ พนักงานคุมประพฤติ บุคลากรที่เกี่ยวข้องในและนอกกระบวนการยุติธรรม ผู้แทนองค์กรเอกชน สื่อมวลชน และประชาชน ผู้สนใจ จำนวนกว่า 80 คน--จบ--
-นห-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ