(ต่อ1) ผลการประชุมคณะรัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม ประจำวันที่ 13 มกราคม 2547

พุธ ๑๔ มกราคม ๒๐๐๔ ๑๑:๓๑
กรุงเทพฯ--14 ม.ค.--ศูนย์ปชส. กระทรวงคมนาคม
2. เรื่อง อนุมัติยกเลิกสัญญาเงินกู้จากธนาคารยุโรปเพื่อการลงทุนของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการอนุมัติยกเลิกสัญญาเงินกู้จากธนาคารยุโรปเพื่อการลงทุนของบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติให้บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) ยกเลิกสัญญาเงินกู้จากธนาคารยุโรปเพื่อการลงทุน (European Investment Bank : EIB) ในวงเงิน 23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
2. อนุมัติให้ บวท. ใช้แหล่งเงินกู้ภายในประเทศ วงเงิน 898.16 ล้านบาท แทนการกู้จาก EIB
ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้ บวท. จะสามารถลดภาระที่เกิดจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยในขณะปัจจุบัน โดยยังไม่ต้องเสียค่าปรับให้กับ EIB เนื่องจากยังไม่มีการเบิกจ่ายเงินกู้ และเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการใช้สภาพคล่องทางการเงินภายในประเทศ ทั้งนี้ หากได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้โดยเร็ว ก็จะเป็นประโยชน์ในการลดภาระค่าใช้จ่ายของ บวท. และสามารถดำเนินโครงการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์บริการจราจรทางอากาศและหอบังคับการบินพร้อมอาคารสำนักงาน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้อย่างรวดเร็วต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมรายงานว่า บวท. ขอยกเลิกสัญญาเงินกู้จาก EIB วงเงิน 23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ(898.16 ล้านบาท) และขอใช้แหล่งเงินกู้ภายในประเทศแทนจำนวนเงินที่จะกู้จาก EIB เพื่อใช้ดำเนินการโครงการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์บริการจราจรทางอากาศและหอบังคับการบิน พร้อมอาคารสำนักงาน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีเหตุผลความจำเป็น ดังนี้
1. เป็นการลดภาระหนี้เงินกู้จากต่างประเทศ และสนับสนุนการใช้แหล่งเงินกู้ภายในประเทศ ประกอบกับสัญญาการกู้เงินระหว่าง บวท. กับ EIB เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ (ระยะเวลา 15 ปี) ณ ปัจจุบัน ร้อยละ 5.06 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ภายในประเทศในขณะนี้ โดยมีธนาคารพาณิชย์ 5 แห่ง ให้การสนับสนุนในการให้กู้เงิน ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยระหว่าง EIB กับภายในประเทศ ดังตารางต่อไปนี้
ตารางเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
--------------------------------------------------------------------------------------------
รายการ เงินกู้จากธนาคารภายในประเทศ เงินกู้จากธนาคาร EIB
--------------------------------------------------------------------------------------------
เงินกู้สำหรับโครงการจัดหาอุปกรณ์ อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว อัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (ตลอด
บริการจราจรทางอากาศและหอบังคับ (ตลอดระยะเวลา 15 ปี) ระยะเวลา 15 ปี) ณ ปัจจุบันใน
การบิน พร้อมอาคารสำนักงาน ณ ณ ปัจจุบัน ในอัตราดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ 5.06 ต่อปี
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ร้อยละ 1.75 ต่อปี (ดอกเบี้ย
เงินฝากประจำ 6 เดือน
+ 0.75%)
--------------------------------------------------------------------------------------------
ทั้งนี้ มีเงื่อนไขการกู้เงินจาก EIB คือ หาก บวท. เบิกเงินกู้มาเพื่อดำเนินการแล้ว และมีการชำระคืนเงินกู้ก่อนกำหนด บวท. จะต้องเสียค่าปรับในอัตราเท่ากับดอกเบี้ยเงินกู้ในงวดนั้น ๆ หักด้วยอัตราอ้างอิงคิดลด ณ วันที่จ่ายคืนก่อนกำหนด แต่หาก บวท. ยกเลิกสัญญาการกู้เงินกับ EIB โดยยังไม่มีการเบิกจ่ายเงินกู้ ก็จะไม่มีการกำหนดค่าปรับไว้ (ขณะนี้ บวท. ยังไม่ได้เบิกจ่ายเงินกู้)
2. บวท. มีภาระค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์อะไหล่ที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว หาก บวท. กู้จาก EIB เพื่อดำเนินโครงการฯ นี้ จะทำให้รายได้ที่เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ของ บวท. ไม่เพียงพอกับรายจ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งจะมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
(ยังมีต่อ)
-รก-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ