ธนาคารไทยพาณิชย์ ประกาศผลประกอบการและฐานะการเงินประจำปี 2546 ก่อนการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอิสระ

อังคาร ๒๐ มกราคม ๒๐๐๔ ๐๙:๔๔
กรุงเทพฯ--20 ม.ค.--ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารไทยพาณิชย์ แจ้งผลประกอบการเบื้องต้นสำหรับสำหรับปี 2546 ก่อนการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอิสระ โดยธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 12,460 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับขาดทุนสุทธิ 12,487 ล้านบาทในปีก่อน เนื่องจากในปีก่อนมีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญจำนวน 24,825 ล้านบาท ขณะที่ในปีนี้มีการตั้งสำรองทั่วไปจำนวน 2,400 ล้านบาท สำหรับไตรมาสสี่ของปี 2546 ธนาคารมีกำไรสุทธิ 3,256 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากกำไรสุทธิ 3,232 ล้านบาทในไตรมาส 3/2546 และขาดทุน 13,533 ล้านบาทในไตรมาส 4/2545
คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า "ผลประกอบการในปี 2546 ออกมาเป็นที่น่าพอใจ โดยธนาคารสามารถสร้างสถิติใหม่ได้ทั้งในแง่ของกำไรสุทธิและสินทรัพย์รวมที่สูงเป็นประวัติการณ์ของธนาคาร และยังสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้นให้อยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 20 ทั้งนี้เนื่องจากการรุกตลาดอย่างเป็นขั้นตอนทุกกลุ่มธุรกิจ ทำให้รายได้จากกลุ่มลูกค้าสินเชื่อเติบโตขึ้น
นอกจากนี้กลุ่มบริษัทในเครือด้านธุรกิจการเงินทั้งหลักทรัพย์ ประกัน เช่าซื้อ ลีสซิ่ง การจัดการกองทุนรวมและอื่นๆยังสามารถสร้างกำไรให้กับธนาคารได้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบ 400 ล้านบาท"
คุณหญิงชฎายังกล่าวต่อไปอีกว่า "นอกจากการรุกตลาดแล้วธนาคารยังให้ความสำคัญในแง่ของประสิทธิภาพการจัดการดังจะเห็นได้จากการบริหารส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin) ให้สูงขึ้นเป็นร้อยละ 2.6 อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานต่ำกว่าร้อยละ 50 ซึ่งเป็นไปตามที่ธนาคารได้วางเป้าหมายไว้ นอกจากนี้ สินเชื่อด้อยคุณภาพยังได้ลดลงถึงเกือบ 30,000 ล้านบาทจากปีก่อน โดยมียอดคงค้าง 89,791 ล้านบาทหรือประมาณร้อยละ 17 ซึ่งนับเป็นความพยายามของธนาคารที่จะลดหนี้ด้อยคุณภาพให้เหลือต่ำกว่าร้อยละ 5 ภายในระยะเวลา 3 ปี"
ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร กล่าวถึงนโยบายการดำเนินธุรกิจในระยะต่อไปว่า "ธนาคารมีเป้าหมายที่จะรักษาผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นให้อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2547 นี้ ธนาคารจะมุ่งเน้นในด้านการเติบโตในทุกกลุ่มธุรกิจผ่านเครือข่ายของธนาคารทั้งสาขาและบริษัทในเครือ เข้าสู่เป้าหมายในการเป็น Universal Banking เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวสูงขึ้น ขณะที่ธนาคารมีความพร้อมในการแข่งขันจากการที่โครงการปรับปรุงธนาคารที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องได้สร้างรากฐานการดำเนินธุรกิจที่ดีไว้"
รายละเอียดผลประกอบการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1. รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ
ธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิจากดอกเบี้ยจ่ายในปี 2546จำนวน 19,074 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 จากปีก่อนเนื่องจากการลดอัตราดอกเบี้ยในไตรมาส 1 ถึง 3 ของปีนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ทำให้มีรายได้ดอกเบี้ยรับจากหนี้มีปัญหาที่กลับมาเป็นหนี้ดีเพิ่มขึ้น โดยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin) ในปีนี้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.5 ในปีก่อนเป็นร้อยละ 2.7
สำหรับไตรมาสที่สี่ รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิมีจำนวน 5,145 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 4,659 ล้านบาท และ 4,412 ล้านบาท ในไตรมาสที่สามของปีนี้และไตรมาสที่สี่ของปีก่อนตามลำดับ ทั้งนี้ รายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มาจากลูกหนี้ที่มีการปรับโครงสร้างหนี้ที่สามารถจ่ายดอกเบี้ยที่ค้างอยู่เดิมได้
2. รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย
สำหรับงวดปี 2546 ธนาคารมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยจำนวน 9,298 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 จากปีก่อน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการ 449 ล้านบาท ซึ่งมาจากการเพิ่มขึ้น ของค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการให้สินเชื่อ และรายได้จากค่าธรรมเนียมลูกค้ารายย่อยทั้งจากผลิตภัณฑ์เดิม เช่น ค่าธรรมเนียมบัตร ATM บัตรเครดิตรวมถึงธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ (SCB Easy Bank) และจากผลิตภัณฑ์ใหม่เช่น Bancassurance นอกจากนี้ ส่วนแบ่งรายได้จากบริษัทย่อยและบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น 396 ล้านบาทจากภาวะทางธุรกิจที่ดีขึ้นของกลุ่มธุรกิจการเงินทั้งหลักทรัพย์ ประกัน เช่าซื้อ ลีสซิ่งและการจัดการกองทุนรวม ในขณะที่กำไรจากเงินลงทุนลดลง 515 ล้านบาทเนื่องจากมีการขายเงินลงทุนน้อยลง ประกอบกับการตั้งสำรองเผื่อการด้อยค่าของตราสารหนี้บางส่วน
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2546 ธนาคารมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในไตรมาสนี้จำนวน 2,163 ล้านบาท ลดลง 758 ล้านบาท จากไตรมาสก่อนซึ่งมีจำนวน 2,921 ล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องจากกำไรจากเงินลงทุนลดลง 684 ล้านบาทจากการตั้งสำรองเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุนในตราสารหนี้
3. ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย
ธนาคารมีค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยในปี 2546 จำนวน 13,512 ล้านบาท ลดลง 600 ล้านบาท เนื่องจากในปีนี้มีการตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์รอการขายลดลง และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่และอุปกรณ์ลดลงจากการปรับอายุการใช้งานของอาคารจาก 20 ปี เป็น 50 ปี สำหรับอัตราส่วนค่าใช้จ่าย ต่อรายได้จากการดำเนินงาน (Operating cost to income ratio) ลดลงจากร้อยละ 53 ในปีก่อน เป็นร้อยละ 48 ในปีนี้ ธนาคารมีค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยในไตรมาสนี้จำนวน 3,452 ล้านบาท ลดลง 296 ล้านบาทจากไตรมาสก่อน เนื่องจากในไตรมาสก่อนมีการตั้งค่าเผื่อค่าใช้จ่ายในการขายสินทรัพย์รอการขาย และค่าเผื่อ การด้อยค่าของสินทรัพย์รอการขายรวม 470 ล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 3,278 ล้านบาทเป็น 3,452 ล้านบาท
4. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ในปีนี้ ธนาคารตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 2,400 ล้านบาท จากการตั้งสำรองเป็นการทั่วไป (General reserve) เดือนละ 200 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 ธนาคารมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 72,374 ล้านบาท และมีอัตราส่วนสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อจัดชั้นมีปัญหา(NPL)ร้อยละ 80.6
งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 ธนาคารมียอดสินเชื่อ 506,315 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21,204 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.4 จากสิ้นปี 2545 และเพิ่มขึ้น 15,044 ล้านบาทหรือร้อยละ 3.1 จากไตรมาสก่อน สินเชื่อที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่มาจากสินเชื่อลูกค้าบุคคล โดยเฉพาะสินเชื่อเคหะ และสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีการขยายตัวเล็กน้อย ในปีนี้ ธนาคารได้มีการตัดหนี้สูญจำนวน 9,895 ล้านบาททั้งจากการปรับโครงสร้างหนี้และการจำหน่ายหนี้สูญ
ธนาคารมียอดเงินฝาก 607,132 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2545 จำนวน 38,530 ล้านบาท ขณะที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน จำนวน 16,237 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.7 สำหรับสัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากของธนาคารในไตรมาสนี้ ยังทรงตัวที่ร้อยละ 83.4
ธนาคารมีส่วนของผู้ถือหุ้น 75,524 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2545 และไตรมาส 3/2546 จำนวน 23,406 ล้านบาทและ 8,829 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากกำไรสุทธิในแต่ละงวด และกำไรจากการตี ราคาหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นตามภาวะตลาดทุน
เงินกองทุนตามกฎหมาย (ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 มีจำนวน 66,101 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 12.8 ของสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งเป็นส่วนของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ประมาณร้อยละ 7.1 ของสินทรัพย์เสี่ยง (ยังไม่รวมกำไรของงวดปี 2546 จำนวน 12,460 ล้านบาท ทั้งนี้ หากรวมกำไรของปี 2546 แล้วเงินกองทุนชั้นที่ 1 จะเป็นประมาณร้อยละ 9.5)
สินเชื่อจัดชั้นมีปัญหา
ธนาคารมีสินเชื่อจัดชั้นมีปัญหา (NPLs) ตั้งแต่ชั้นต่ำกว่ามาตรฐานลงมาตามคำนิยามของ ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ สิ้นปี 2546 จำนวน 89,791 ล้านบาทหรือร้อยละ 17.51 ลดลง 29,021 ล้านบาทจากปีก่อนซึ่งมีจำนวน 118,811 ล้านบาท สินเชื่อจัดชั้นมีปัญหามีจำนวนลดลงส่วนหนึ่งเนื่องจากการตัดหนี้สูญและจากการแก้ปัญหาหนี้ที่มีความคืบหน้าขึ้น
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน), 9 ถนนรัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
ทีมนักลงทุนสัมพันธ์ โทร: 662-544-4222, แฟกซ์: 662-937-7931, Web site http://www.scb.co.th,
E-mail: [email protected]จบ--
-รก-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ