เขตดอนเมืองรายงานผลการจดทะเบียนแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจน

พฤหัส ๒๙ มกราคม ๒๐๐๔ ๑๔:๔๐
กรุงเทพฯ--29 ม.ค.--กทม.
เขตดอนเมือง นายสวง ลุย วิริยะผล ผู้อำนวยการเขตดอนเมือง กทม. เปิดเผยว่า เขตเปิดรับจดทะเบียนผู้ประสบปัญหาสังคมและความยากจน ตั้งแต่วันที่ 5 ม.ค. — 28 ก.พ. 47 ขณะนี้เขตได้ดำเนินการรับลงทะเบียนอย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่ามีประชาชนมาลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก ยอดรวมทั้งหมด 4,644 คน โดยแยกตามประเภทของปัญหาเป็นที่ดินทำกิน 14 ราย นักศึกษาที่ต้องการทำงาน 37 ราย ถูกหลอกลวง 25 ราย หนี้สินภาคประชาชน 1,759 ราย คนจนไม่มีที่อยู่อาศัย 2,809 ราย และปัญหาอื่นๆ เช่น ปัญหาว่างงาน 1,106 ราย
ทั้งนี้เขตฯ ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสายในชุมชนทุกชุมชนให้ประชาชนได้รับทราบนโยบายเป็นระยะอย่างต่อเนื่องและมาลงทะเบียนแจ้งข้อมูลรายละเอียดเพื่อเป็นฐานข้อมูลให้รัฐบาลกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาในอนาคต จึงขอเชิญผู้ประสบปัญหาด้านต่างๆ มาลงทะเบียนได้ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 28 ก.พ. 47 เวลา 09.00-16.00 น. ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์ ณ วัดเวฬุวนาราม พร้อมนำบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านมาเป็นหลักฐานในการยื่นจดทะเบียนฯ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2565 3103, 0 2929 5450, 0 2929 5454 และ 0 2929 5463--จบ--
-นห-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ