"เผด็จภัย" เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอ้อยและน้ำตาลทราย

อังคาร ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๐๔ ๐๙:๔๓
กรุงเทพฯ--17 ก.พ.--กระทรวงอุตสาหกรรม
“เผด็จภัย”เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอ้อยและน้ำตาลทราย เรียกประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งราชการ โรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อย หวังสรุปแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมได้ภายในเมษายน 47 นี้
นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายหรือ สอน. เปิดเผยว่าในเดือนเมษายน 2547 นี้
แนวทางการแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายจะมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมและสามารถปฏิบัติได้ ซึ่งในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547 นี้ ทางนายเผด็จภัย มีคุณเอี่ยม รองปลัดกระทรวง อุตสาหกรรมที่ได้รับมอบหมายจาก นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้ามาดูแลและแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้น จะเรียกหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง โรงงานน้ำตาล และชาวไร่อ้อย เข้าหารือ เพื่อสรุปปัญหาทั้งหมด และหาแนวทางแก้ไขปัญหา
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายนั้น ได้มีแนวทางเบื้องต้นคือ กำหนดพื้นที่เพาะปลูกและกำหนดปริมาณอ้อยต่อปีให้อยู่ที่ 65 ล้านตัน โดยในส่วนนี้รัฐบาลจะ ชดเชยราคาให้ในกรณีที่ราคาอ้อยตกต่ำ แต่ส่วนที่เกินจะไม่มีการรับประกันราคาหรือช่วยเหลือ นอกจากนี้จะต้องปรับเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกอ้อยและโรงงานน้ำตาล โดยลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามเพื่อให้การส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายสอดคล้องกับข้อเท็จจริงมากยิ่งขึ้น ทางสอน.ได้ว่าจ้างให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรหรือ สศก. จำนวน 7 ล้านบาท เพื่อสำรวจและศึกษาต้นทุนการผลิตอ้อย ในปี 2546/2547 เพื่อเป็นฐานข้อมูลใหม่ใช้สำหรับการจ่ายเงินสนับสนุนและช่วยเหลือของรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมาการคำนวณและปัจจัยสำหรับการคำนวณนั้นจะใช้อัตราเฉลี่ยจากทั่วประเทศทำให้เกิดความลักลั่นกันในกลุ่มเกษตรกร
นอกจากนั้น “ขณะนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายพยายามที่จะเข้ามาหาทางแก้ไขปัญหาต่างของอุตสาหกรรมนี้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะปัจจุบันอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายสามารถสร้างรายได้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ โดยการจำหน่ายภายในและต่างประเทศได้ปีละไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท และสร้างรายได้ให้กับภาคเกษตรกรและการขนส่งกว่า 20,000 ล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับเกษตรกรชาวไร่อ้อยกว่า 100,000 ครัวเรือนและแรงงานในภาคเกษตรและการขนส่งอีกหลายหมื่นคน แต่อุตสาหกรรมนี้ยังประสบปัญหาและเป็นอุปสรรคในด้านการค้า เช่น ตลาดน้ำตาลของโลกถูกบิดเบือนจากการอุดหนุนการส่งออกโดยเฉพาะจากกลุ่มประเทศยุโรป ราคาน้ำตลาดโลกตกต่ำ ชาวไร่อ้อยมีภาระหนี้และโรงงานขาดสภาพคล่อง ขาดปัจจัยเอื้อหนุนการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพทำให้ต้นทุนการผลิตสูงไม่มีศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งรัฐบาลเร่งเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมนี้มาโดยตลอดจึงได้เร่งหาแนวทางการแก้ไขปัญหา" นายณัฐพล กล่าว--จบ--
-รก-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO