กทม. พัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อปรับปรุงการบริหารการเงินการคลัง

พฤหัส ๐๔ มีนาคม ๒๐๐๔ ๑๓:๔๗
กรุงเทพฯ--4 มี.ค.--กทม.
นายวัตตะ ฮุนพงษ์สิมานนท์ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานครได้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการบริหารงานด้านการเงินการคลังตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ภายใต้โครงการจัดระบบข้อมูลและข่ายงานระบบคอมพิวเตอร์ของกรุงเทพมหานคร (โครงการ MIS) ซึ่งประกอบด้วย 8 ระบบงาน ได้แก่ ระบบงานงบประมาณ ระบบงานรายได้ ระบบงานจัดซื้อ ระบบงานจัดจ้าง ระบบงานการเงิน ระบบงานบัญชี ระบบงานบัญชีทรัพย์สิน และระบบงานบุคลากร โดยมีการติดตั้งเครือข่ายที่เชื่อมโยงหน่วยงานในสังกัดกทม.ทั้งหมด 67 หน่วยงานเข้าด้วยกัน อันประกอบด้วย 50 สำนักงานเขต และ 17 สำนัก นับถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 8 ปีแล้ว
รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนกทม. กล่าวต่อว่า คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร โดย นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ นายมุดตาฝ้า หมันงะ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้พิจารณาเห็นว่าระบบดังกล่าวสามารถเอื้อประโยชน์ต่อการบริหารงานของกทม. โดยคณะผู้บริหารสามารถทราบสถานการณ์การเงินที่เป็นปัจจุบันของกรุงเทพมหานครและสามารถกำหนดแผนการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจได้ถูกต้อง ชัดเจน จึงได้อนุมัติงบประมาณ จำนวน 87.5 ล้านบาท ให้สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร ดำเนินการปรับปรุงระบบเครือข่ายตามโครงการดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยพัฒนาระบบโปรแกรม แบบ Web-based Application ที่จะทำให้ระบบสารสนเทศของกรุงเทพมหานครมีการเชื่อมโยงผ่านระบบ Internet สามารถให้บริการข้อมูลกับผู้บริหารในระดับต่าง ๆ รวมถึงหน่วยงานที่ต้องการใช้ข้อมูลได้ทันที
ในการนี้สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการประกวดราคาจัดหาผู้รับจ้าง โดยเปิดซองประกวดราคา เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2546 มีบริษัทที่เข้าร่วมเสนอราคา จำนวน 2 ราย คือ บริษัท สยามเทลเทคคอมพิวเตอร์ จำกัด และบริษัท อินเตอร์ เนชั่นแนล รีเสิร์ช คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ปรากฏว่า บริษัท สยามเทลเทคคอมพิวเตอร์ จำกัด เป็นผู้ชนะการประกวดราคา คาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ประมาณเดือนมีนาคม 2547 กำหนดแล้วเสร็จภายใน 540 วัน นับแต่วันทำสัญญา โดยผู้รับจ้าง จะทะยอยส่งมอบระบบงานเป็นระยะๆ ตามสัญญาทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดนโยบายในการปรับปรุงระบบการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) เพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวสู่ยุคระบบเศรษฐกิจที่ดำเนินด้วยความรู้ ดำเนินด้วยความรวดเร็ว (Economy of Knowledge, Economy of Speed) อย่างทัดเทียมนานาอารยประเทศ การดำเนินการโครงการ MIS ของกรุงเทพมหานครจึงสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับนโยบายรัฐบาล สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐได้ตรงตามเป้าหมายอย่างรวดเร็ว โดยกรุงเทพมหานครได้ประสานงานกับสำนักงานกำกับและบริหารโครงการ GFMIS ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอโครงสร้างระบบงาน รายละเอียดของข้อมูล และการกำหนดรหัสมาตรฐานเกี่ยวกับระบบงาน GFMIS เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2547 และทางสำนักงานฯ GFMIS พร้อมให้ข้อมูลรายละเอียดตามคำขอของกรุงเทพมหานคร ทุกประการ--จบ--
-นห-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ