กทม. ป้องกันโรคอุจาระร่วงเชิงรุก พร้อมเร่งกำจัดหนูในตลาดสด

อังคาร ๒๓ มีนาคม ๒๐๐๔ ๑๑:๐๙
กรุงเทพฯ--23 มี.ค.--กทม.
เมื่อวานนี้ (22 มี.ค.47) เวลา 11.00 น. ที่ห้องอเนกประสงค์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นพ.ประพันธ์ กิติสิน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานแถลงข่าว “พบกัน จันทร์ละหน คนกับข่าว” ครั้งที่ 123 เรื่อง สถานการณ์โรคอุจาระร่วงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และการกำหนดมาตราการควบคุมหนูที่เป็นพาหะนำโรคเลปโตสไปโรซิส โดยมี นพ.ปิตินันท์ ณัฐรุจิโรจน์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร และ นายชาญชัย คุ้มพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย ร่วมแถลงข่าว
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคอุจจาระร่วงในพื้นที่กรุงเทพมหานครว่า จากการเฝ้าระวังโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากปี 46 มีรายงานผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงตลอดปีจำนวน 62 ราย แต่ในปี 2547 ช่วงระหว่างเดือนม.ค.-มี.ค. 47 มีรายงานผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงมากถึง 212 ราย เสียชีวิต 2 ราย กรุงเทพมหานครมีความ ห่วงใยต่อสถานการณ์ดังกล่าวจึงได้ดำเนินโครงการป้องกันควบคุมโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง โดยปรับบทบาทการทำงาน เน้นให้ชุมชนมี ส่วนร่วมอย่างจริงจัง พร้อมทั้งพัฒนาระบบเครือข่ายเฝ้าระวังและควบคุมโรค และมีหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่เชิงรุกเข้าสู่ชุมชนด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง และมุ่งมั่นให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความรู้ในการรักษาเบื้องต้นด้วยการใช้ผง น้ำตาลเกลือแร่อย่างถูกวิธี โดยเฉพาะแหล่งก่อสร้างซึ่งถือเป็นกลุ่มเสี่ยง ขณะเดียวกัน กทม.ยังได้ประสานการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภายในกทม.และหน่วยงานภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประสานงานกับการประปานครหลวงในการแก้ไขปัญหา การขาดแคลนน้ำสะอาดเพื่อใช้อุปโภคบริโภค อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคอุจจาระร่วงได้ นอกจากนี้ ปัจจุบันตลาดใน กทม.ทั้งที่อยู่ในความดูแลของภาคเอกชนและภาครัฐ จำนวน 155 แห่ง ได้ตกลงที่จะให้มีการล้างตลาดทุกวัน เพื่อลดอัตราการแพร่กระจายโรคอุจจาระร่วงอีกด้วย
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวต่อไปว่า ในการดำเนินงานด้านสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการบริโภคของประชาชนกรุงเทพมหานครนั้น นอกจากการดำเนินงานด้านสุขาภิบาลในแหล่งจำหน่ายอาหารเพื่อควบคุมโรคอุจาระร่วงอย่างแรงแล้ว กรุงเทพมหานครยังให้ความสำคัญกับการควบคุมและป้องกันสัตว์นำโรค โดยได้ดำเนินโครงการ ”ตลาดสะอาด ปลอดหนู”เพื่อสร้างความ มั่นใจด้านอาหารปลอดภัยแก่ผู้บริโภค โดยสำนักอนามัยได้เริ่มโครงการดังกล่าว มาตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา พบว่าหนูที่พบส่วนใหญ่เป็นหนูท่อ สำหรับผลการดำเนินการที่ผ่านมาได้ผลในระดับหนึ่ง โดยระหว่างเดือนตุลาคม 2546 — กุมภาพันธ์ 2547 กำจัดหนูได้ทั้งสิ้นประมาณ 5,000 ตัว แต่ยังมีหนูจำนวนมากมาจากบ้านเรือนและอาคารต่างๆ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนที่เป็นเจ้าของบ้านเรือนและอาคารต่างๆ ในการควบคุมปริมาณหนู โดยการกำจัดขยะและเศษอาหารอย่างถูกสุขาภิบาล จัดอาคารบ้านเรือนให้สะอาด เป็นระเบียบ และช่วยกำจัดหนูโดยใช้กรงดัก กาวดัก หรือใช้เหยื่อพิษตามความเหมาะสม--จบ--
-นห-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ