(ต่อ1): ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์ เสนอภาพยนตร์ The Passion of the Christ

พุธ ๒๔ มีนาคม ๒๐๐๔ ๑๔:๐๖
กรุงเทพฯ--24 มี.ค.--ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟ็อกซ์
ภาษาอารามิค - ภาษาโรมันโบราณมีชีวิต
หนึ่งในการตัดสินใจในตอนต้นๆ ของเมล กิบสันในฐานะผู้กำกับเรื่อง The Passion of the Christ นั้นก็คือการที่จะให้พระเยซูคริสต์ในภาพยนตร์ของเขาพูดภาษาเดียวกับที่พระเยซูคริสต์พูดเมื่อกว่าสองพันปีที่แล้วมา และภาษานั้นคือภาษา อารามิค เป็นภาษาโบราณที่ใช้การออกเสียงเหมือนภาษาเซมิติคที่ค่อนข้างจะใกล้เคียงกับภาษาฮีบรู ซึ่งในปัจจุบันในทางด้านภาษาศาสตร์ถึงว่า เป็น "ภาษาที่ตายแล้ว" แต่ยังใช้เป็นภาษาท้องถิ่นของชนกลุ่มน้อยที่อยู่ห่างไกลในส่วนหนึ่งของตะวันออกกลาง แต่ในครั้งหนึ่งนั้น ภาษาอารามิค ได้เคยเป็น ภาษาที่คุ้นลิ้น ในสมัยนั้น ที่ใช้เป็นภาษาในการสอนและทางการค้าในโลกยุคเก่า เหมือนอย่างเช่นภาษาอังกฤษของโลกปัจจุบัน ในช่วงคริสตวรรษที่ 8 นั้น ภาษาอารามิคได้ถูกใช้อย่างกว้างขวางโดยชนชาติชาวอียิปต์ ไปจนชาวเอเซียถึงปากีสถานและเป็นภาษากลางที่ใช้ในจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่อย่าง อาซิเรีย บาบิโลน และต่อมาจักรวรรดิชาลดีนและยังเป็นภาษาทางราชการของแมสโสโปเตเมีย ภาษานี้ยังเผยแผ่ไปสู่ปาเลสไตน์และเข้าแทนที่ภาษาฮีบรูซึ่งเคยเป็นภาษากลางในช่วงระหว่าง ค.ศ. 721 ถึง ค.ศ. 500 กฎหมายของชาวยิวได้รับการตั้งระบอบ อภิปราย และถ่ายทอดเป็นภาษาอารามิค ซึ่งเป็นภาษาพื้นฐานของ ทัลมุดพระเยซูคริสต์ควรจะใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนที่ในยุคปัจจุบันเรียกกันว่า ภาษาอารามิคตะวันตก ซึ่งเป็นภาษาของชนชาวยิวในระหว่างยุคสมัยของพระองค์ ภายหลังที่พระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้วชาวคริสเตียนในยุคแรก ๆ บันทึกข้อความในพระคัมภีร์เป็นภาษาอารามิค เผยแพร่เรื่องราวชีวิตของพระเยซูคริสต์และคำสั่งสอนของพระองค์ไปสู่ดินแดนต่างๆ เมื่อภาษาอารามิคเป็นภาษาโบราณที่ใช้สื่อแนวคิดทางศาสนา ภาษานี้จึงเป็นเสมือนสิ่งเชื่อมโยงสองศาสนาคือจูดาอิซึ่มและคริสเตียนเข้าด้วยกัน ศาสตราจาร์ย ฟรานซ์ โรเซนทัล เขียนไว้ในหนังสือ Journal of Near Eastern Studies ว่า "ในความเห็นของผมนั้น ประวัติศาสตร์ของภาษาอารามิคเป็นตัวแทนของชัยชนะอย่างแท้จริงของจิตวิญญาณมนุษยชาติซึ่งแสดงออกได้ทางภาษา (ซึ่งเป็นการแสดงออกโดยตรงจากจิตใจออกมาสู่ภาษากาย) มันค่อนข้างมีพลังเข้มข้นที่จะประกาศเรื่องราวของจิตใจ " และสำหรับตัว กิบสันนั้น มันมีบางสิ่งที่ทรงพลังจนเกินบรรยายที่จะได้ยินคำพูดของพระเยซูคริสต์พูดเป็นภาษาดั้งเดิมของพระองค์แต่ในการที่จะทำให้ภาษาอารามิคกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่งในภาพยนตร์นั้นมันเป็นการท้าทายที่ยิ่งใหญ่ ทั้งหมดก็คือจะทำอย่างไรที่จะสร้างภาพยนตร์ที่ใช้ภาษาที่สูญหายไปแล้วในช่วงคริสต์ศตวรรษแรกให้เกิดขึ้นในช่วงสมัยกลางศตวรรษที่ 21นี้ ? กิบสันได้ขอความช่วยเหลือจากบาทหลวง วิลเลี่ยม ฟูลโก ประธานของ Mediteranean Studies ที่ มหาวิทยาลัย รอยัล แมรี่มอนท์ ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญชั้นเยี่ยมทางด้านภาษาอารามิคและ วัฒนธรรมของเซมิติคสมัยเก่า บาทหลวงฟูลโกได้แปลบทภาพยนตร์เรื่อง The Passion of the Christ ทั้งหมดเป็นภาษา อารามิคในยุคต้นศตวรรษสำหรับผู้แสดงชาวยิว และใช้ภาษา "ละตินชาวบ้าน" สำหรับตัวแสดงที่เป็นชาวโรมัน โดยรวบรวมความรู้ในด้านภาษาและวัฒนธรรมทั้งหมดที่เขามีอยู่ หลังจากได้แปลบทภาพยนตร์เรียบร้อยแล้ว ฟูลโกยังร่วมงานในฐานะผู้ฝึกหัดของบทสนทนาในแต่ละฉากและยังเป็นที่ปรึกษาแบบ "ตามตัวได้" ให้กับทีมงานสร้าง โดยจะให้คำแนะนำในการแปลและปรึกษาได้ทันท่วงที เพื่อให้แน่ใจว่าภาษาที่ใช้เป็นที่รับรอง กิบสันยังได้ขอคำปรึกษาจากผู้ที่พูดภาษาอารามิคว่าภาษาที่ใช้ในภาพยนตร์นั้นเป็นภาษาที่ใช้พูดกันจริง ความงดงามที่ได้ยินภาษาที่ตายแล้วกลับมาใช้พูดกันอีกครั้งหนึ่งนั้น เขาทบทวนให้ฟังว่า ทำให้เกิดความเร้าใจ
ในที่สุดแล้ว ตัวแสดงหลายเชื้อชาติของภาพยนตร์เรื่อง The Passion of the Christ นั้นจะต้องเรียนรู้ภาษาอารามิค - ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการออกเสียง - นับได้ว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มศิลปินกลุ่มใหญ่ที่ต้องเรียนรู้ภาษาโบราณ ด้วยกันทั้งหมด สำหรับตัวกิบสันแล้วภาพยนตร์ "เสียงต่างประเทศ" นั้นมีข้อดีคือ: การที่ต้องเรียนรู้ภาษาอารามิคร่วมกันทำให้เกิดความสามัคคีกันในกลุ่มนักแสดงที่มาจากหลายชาติหลายภาษา แตกต่างกันทางวัฒนธรรมและภูมิหลัง "ในการที่รวมนักแสดงจากทั่วโลกไว้ในที่เดียวกัน และให้เรียนรู้ภาษาที่จะใช้เหมือนกันนั้นทำให้เกิด ความรู้สึกกลมกลืน และสิ่งที่พวกเขาจะต้องทำร่วมกัน และความเชื่อมโยงของภาษาที่เกินความเข้าใจ" เขากล่าว มันยังเป็นการบังคับให้ผู้แสดงต้องพิจารณาทางด้านร่างกายและอารมณ์ ความคิดนอกเหนือไปจากการใช้คำธรรมดา "การพูดภาษาอารามิคเป็นการดึงเอาความแตกต่างออกมาจากตัวแสดง" กิบสันให้ข้อสังเกตุ "คงเป็นเพราะพวกเขาต้องชดเชยความชัดเจนของภาษาพูดของ ตัวเอง ทำให้เกิดการแสดงออกในระดับที่แตกต่างกัน ในความหมายก็คือมันกลายเป็นการทำหนังแบบเก่าที่เราต้องมาเล่าเรื่องด้วยจินตนาการแท้ ๆ และแสดงให้เห็นความรู้สึกมากกว่าสิ่งอื่นใด"
แรงงานของความรักที่ยิ่งใหญ่กว่า: นักแสดงรับบทของพวกเขา
จากจุดเริ่มต้นนั้น เมล กิบสัน ตะหนักดีว่าส่วนสำคัญในการทำหนัง เรื่อง The Passion of the Christ นั้นคือต้องหานักแสดงที่มีความสามารถอย่างสูงสุดที่จะแสดงออกถึงความเป็นมนุษย์และทางจิตวิญญาณเหนือความเป็นธรรมชาติอย่างพระเยซูคริสต์ กิบสันเฟ้นหานักแสดงที่สามารถเข้ากับบทได้อย่างครบบริบูรณ์ และ ชื่อเสียงจะต้องไม่แทรกแซงกับลักษณะที่เหมือนจริงอย่างที่ผู้กำกับกำลังมองหา
กิบสันเฟ้นหาจนมาถึง เจมส์ คาวิเซล ที่เคยเล่นในภาพยนตร์เรื่อง The Count of Monte Cristo กิบสันจับตาดูภาพที่เขาเห็นของ คาวิเซล - โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายตาที่หยั่งลึกและแสดงความหมายให้เห็นอย่างแจ่มชัด ซึ่งสิ่งนี้เองที่กิบสันรู้สึกได้ถึงความสามารถที่หาได้ยากที่จะสามารถสื่อให้เห็นแก่นสารของความรักและความเมตตาสงสารผ่านความเงียบสงัด
เมื่อกิบสันโทรหาคาวิเซล เขาค่อนข้างงกับคำตอบที่ได้รับคือ "เมล ไหนกัน?" กิบสันตอบกลับแบบหยอกเย้าว่า "ก็เมล บรู๊คส์ ไง" แต่การสนทนาต่อมากลายเป็นจริงเป็นจังเมื่อกิบสันอธิบายถึงบทที่เขามีอยู่ในหัวสำหรับคาวิเซล - บทที่ตัวกิบสันเองบอกกับคาวิเซลว่ามันเป็นบทที่ยากเต็มไปด้วยความเป็นไปได้ที่จะตกหลุมพราง และตัวกิบสันเองก็ยังไม่อยากรับบทนี้
คาวิเซล ค่อนข้างเกรงแต่ก็เกิดพลังในความท้าทายตรงหน้า เขารู้สึกในใจว่ามันอาจจะเป็นการบังเอิญที่ตัวเขานั้นอายุย่างเข้า 33 ซึ่งเป็นอายุเดียวกับที่พระเยซูคริสต์สิ้นพระชนม์ ในฐานะของคาทอลิคที่ดี คาวิเซล ได้พบแรงบันดาลใจความเชื่อความภักดีในศาสนาของเขา โดยใช้บทสวดภาวนาเป็นหนทางที่จะเข้าลึกถึงลักษณะนิสัย คำพูดและความยากแค้นของพระเยซูคริสต์แต่ไม่มีอะไรเลยที่จะสามารถเตรียมตัวเขาเพื่อการเดินทางที่เหลือเชื่อนี้ ระหว่างการสร้าง The Passion of the Christ คาวิเซลอธิบายว่า "ในแต่ละวันของการถ่ายทำนั้น ตัวผมต้องโดนเหยียบย่ำ โบยตีและบังคับให้แบกกางเขนหนักอึ้งอยู่บนหลังท่ามกลางอากาศที่หนาวเหน็บ มันเป็นประสบการณ์ที่โหดร้ายจริง ๆ แทบอธิบายกันไม่ได้เลยทีเดียว แต่ผมว่ามันคุ้มที่ได้รับบทนี้ " กิบสันทำความเข้าใจกับคาวิเซลไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่ามันเป็นความตั้งใจของเขาที่จะให้ภาพการทรมานของพระเยซูเออกมาอย่างสมจริง จะไม่มีการสะดุ้งกับความสับสนอลหม่านและความรุนแรงที่พระเยซูคริสต์ได้รับที่เป็นไปตามเรื่องในไบเบิ้ล แม้แต่ตัวคาวิเซล ความทรมานที่พระเยซูคริสต์ได้รับและต้องทนทุกข์ตลอดเวลาที่ถ่ายทำนั้นเป็นเวลาที่น่ากลัวในบางครั้ง แต่เขากลับบอกว่า "ไม่มีใครตีแผ่พระเยซูคริสต์ในแบบนี้มาก่อนเลย ผมคิดว่าเมลกำลังแสดงให้เห็นความเป็นจริง เมลไม่ได้ใช้ความรุนแรงเพื่อเห็นแก่ความรุนแรง และมันก็ดูไม่ไร้เหตุผลด้วย ผมกลับคิดว่าความเป็นจริงนั้นจะทำให้ผู้ชมตะลึงและนี่เป็นสาเหตุที่ภาพยนตร์เรื่องนี้มันช่างมีพลังอำนาจอย่างเหลือเชื่อ "
ในระหว่างที่ต้องถ่ายทำ คาวิเซลต้องเผชิญหน้ากับสุขภาพร่างกายที่อ่อนแอและย่ำแย่ หนึ่งในฉากที่ทำให้เห็นจริงจังตามลำดับนั้น พระเยซูคริสต์ถูกทรมาน - โบยตี - อย่างรุนแรง และยังโดนถลกหนังด้วยเครื่องทรมานในยุคโรมันที่เรียกกันว่า "แฟรคกรัม" หรือ "แมวเก้าหาง" เป็นเครื่องตีที่ออกแบบมาจากแส้หลาย ๆ เส้นรวมกันด้วยปลายท่อนเหล็กสำหรับจับและฉีกเนื้อออกเป็นชิ้นซึ่งจะทำให้เลือดออกมาเป็นจำนวนมาก ในการที่จะได้แผลอันเป็นผลจากการถูกตีนั้น คาวิเซลต้องผ่านการขั้นตอนตกแต่งบาดแผลโดยใช้เวลานานหลายชั่วโมง แต่นั่นเป็นแค่เพียงการเริ่มต้นเท่านั้น เพราะเมื่อตกแต่งเข้าไปมาก ๆ เข้าก็จะเกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังทำให้เกิดอาการพุพอง ซึ่งทำให้ตัวเขานั้นนอนหลับไม่ลงเอาเลยทีเดียวเขานั้นยังต้องใช้เวลากว่า 2 อาทิตย์ในการถ่ายทำฉากถูกตรึงกางเขน ซึ่งฉากนั้นตัวเขาแบกและยังต้องลากด้วยความอดทนเป็นอย่างมากกับ กางเขนซึ่งหนักว่า 150 ปอนด์ (น้ำหนักเกือบครึ่งหนึ่งของกางเขนจริง) ขึ้นสู่ยอดเขา กัลโกธา และในที่สุดก็โดนแขวนไว้กับมัน คาวิเซลได้ฝึกฝนในท่าทางที่ถูกทรมานต่าง ๆ ที่เขาต้องแสดง โดยการนั่งขัดสมาธิหลังอยู่บนพื้นโดยพิงหลังกับกำแพงจนถึงประมาณ 10 นาทีในแต่ละช่วงและยกน้ำหนัก เพื่อให้หลังส่วนล่างของเขายืดตรง นอกจากนี้ เขายังต้องใช้เวลาในช่วงอาทิตย์เหล่านั้นทำงานภายใต้เสื้อผ้าน้อยชิ้นระหว่างกลางฤดูหนาวของอิตาลี และยังต้องประสบกับอาการไข้และอาการอุณหภูมิร่างกายลดต่ำเกินไป ซึ่งทำให้เขาหนาวสั่นจะเกือบพูดไม่ได้ มีบางครั้งทีมงานต้องเอาถุงร้อนวางลงบนหน้าอันหนาวเหน็บของคาวิเซลเพื่อให้ไออุ่นและทำให้เขาขยับริมฝีปากได้บ้าง มันเป็นทั้งกองไฟและก้อนน้ำแข็งสำหรับตัวคาวิเซล ในเรื่องของความตกใจที่เป็นที่สุดในแต่ฉากที่ทั้งคาวิเซลและผู้ช่วยผู้กำกับการแสดงอย่าง แจน มิเชลลินี ถูกฟ้าผ่าระหว่างการถ่ายทำท่ามกลางพายุกระหน่ำ สายฟ้าฟาดลงมาที่ร่มของ มิเชลลินีและผ่านมาถึงคาวิเซลด้วย น่าอัศจรรย์ที่คนทั้งสองไม่ได้รับบาดเจ็บอะไรมาก ความรู้สึกกดดันทั้งทางร่างกายและจิตใจของคาวิเซลนั้นเป็นไปตลอดการถ่ายทำ เขาต้องทุกข์ทรมานจากการติดเชื้อทางปอดและในช่วงหนึ่ง และต้องเจ็บปวดกับอาการหัวไหล่หลุดและยังได้รับบาดเจ็บและบาดแผลใหญ่น้อยอีกมากมาย "แต่ถ้าตัวผมไม่ได้ผ่านสิ่งเหล่านี้ไปแล้วละก็ ความทรมานนั้นมันจะดูไม่สมจริงสมจัง" คาวิเซลให้ความเห็น "เพราะฉะนั้นเราจึงต้องทำงานให้เสร็จ" มันยังมีช่วงเวลาที่คาดไม่ถึงเกี่ยวกับภาวะทางด้านความท้าทายของจิตใจ "มันประหลาดมาก" เขายอมรับ "ผมได้แต่คิดว่าผมเป็นเพียงนักแสดงคนหนึ่งซึ่งกำลังแสดงอยู่แต่ผมกลับเริ่มมองเห็นว่ามันไม่ใช่เป็นเพียงการแสดง ผมไม่รู้เลยว่าผมต้องสวดภาวนามากขนาดไหนระหว่างการถ่ายทำเพื่อที่จะให้ภาพที่ออกมาลึกซึ้ง" และในที่สุดแล้ว คาวิเซลรู้สึกว่าเขาได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ "บทบาทที่ได้รับนี้ทำให้ ชีวิตของผมเปลี่ยนไป ตอนนี้ผมไม่รู้สึกกลัวที่จะในสิ่งที่ถูกต้องอีกต่อไป " เขาอธิบายว่า "ผมกลับกลัวว่าสิ่งที่ทำมันจะไม่ถูกต้อง" ในบทของพระนางมารี มารดาของพระเยซูคริสต์นั้น กิบสันเฟ้นหาจากชนบทที่แสนไกล และเลือก ไมอา มอร์เกนสเติร์น นักแสดงชาวโรมาเนียเชื้อสาวยิวผู้มีชื่อเสียง กิบสันได้ดู มอร์เกนสเติร์น ในหนังยุโรปที่สร้างมานานกว่าทศวรรษและเมื่อได้เห็นความอ่อนโยนในใบหน้าของเธอ เขาก็คิดถึงเธอในบทนี้ โดยไม่ต้องคิดมากเขาพยายามที่จะตามหาตัวเธอ และได้ค้นพบว่าเธอได้รับการยอมรับในประเทศของเธอว่าเป็นหนึ่งในนักแสดงหญิงยอดเยี่ยมในยุคของเธอเลยทีเดียวมอร์เกนสเติร์นนั้นกล่าวถึงการรับบทนี้ว่า " ไม่มีตัวเลือกมากนักในชีวิตของฉันให้ได้รับโอกาสอันยิ่งใหญ่ที่จะได้ทำอะไรที่สำคัญ ที่จะมีประสบการณ์ครั้งหนึ่งในชีวิต" เพื่อให้เข้าถึงความเป็นพระนางมารี มอร์เกนสเติร์น ต้องสัมผัสกับภาพวาด รูปปั้นและบทประพันธ์สำหรับรูปภาพต่าง ๆ "ฉันได้รับแรงบันดาลใจในศิลปะในช่วงของการเตรียมตัว" เธอกล่าว "เพราะฉันได้เห็นพระนางมารีในหลายรูปแบบ ฉันจึงเปิดใจรับความรู้สึกแท้ ๆ ที่จะเข้ามาสู่จิตวิญญาณของฉัน" เธอเองยังได้อ่านบทไปมา กว่า 200 เที่ยวเพื่อที่จะทำให้เรื่องนี้เป็นเหมือนส่วนหนึ่งในชีวิตของฉัน - และเธอก็ได้พบความหมายที่สำคัญในหลายฉากที่จะต้องแสดงให้เห็นถึงอารมณ์ความรักใคร่และรื่นรมย์ในความสัมพันธ์กับพระเยซูคริสต์ก่อนเหตุการณ์เหล่านี้ เมื่อเธอเข้าถึงธรรมชาติของการเป็นพระนางมารี มอร์เกนสเติร์นเริ่มมองเห็นบทที่แสดงในระดับที่กว้างมากขึ้น "การรับบทเป็นพระนางมารีสำหรับ ตัวฉันแล้วมันเป็นการเข้าใจวิถีทางของชีวิต มันเกี่ยวกับการที่ใครสักคน ที่ต้องทนกับความเจ็บปวดอย่างเหลือล้นและต้องเปลี่ยนสิ่งนั้นออกมาเป็นความรัก" เธออธิบาย "ฉันเชื่อเหลือเกินว่ามันเป็นความเจ็บปวดอย่างเกินคำบรรยายที่เห็นลูกชายของตัวเองได้รับบาดเจ็บอย่างที่พระนางมารีได้รับ ต้องเสียลูกของตัวเองอย่างที่พระนางต้องเสีย แต่สิ่งเดียวที่พระนางจะทำได้ก็คือรักษาความรักและความไว้ใจและใช้ความเมตตาสงสารในหัวใจ นั้นเป็นสิ่งที่ฉันพยายามจะสื่อให้เห็นบนจอภาพยนตร์" ความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้นเพราะในขณะที่รับบทพระนางมารีนั้น ตัวมอร์เกนสเติร์นเองกำลังตั้งครรภ์ทำให้เกิดความรู้สึกของความเป็นแม่ได้อย่างลึกซึ้งแท้จริง มอร์เกนสเติร์นเองเห็นว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีความสัมพันธ์กับผู้ชมในยุคปัจจุบันโดยไม่ต้องคำนึงถึงศาสนาใด ๆ "ความงดงามของหนังเรื่องนี้ สำหรับตัวฉันแล้วมันคือการบ่งบอกพลังของความเป็นมนุษย์ และข้อบกพร่องของการเป็นมนุษย์ ที่ทำให้พวกเราเกิดการรบราฆ่าฟันกันเองมาเป็นเวลากว่า 2000 ปี " เธอกล่าว "มันมีหลายอย่างที่เราควรนำมาคิดกัน" ส่วนผู้ที่อุทิศตนเองให้กับชีวิตของผู้หญิงอันเป็นที่รักมาเป็นเวลากว่าหลายศตวรรษคือดาราดังอย่าง โมนิก้า เบลลุชี่ (จากหนังเรื่อง The Matrix Series) เธอได้รับบทเป็น มารี มัคดารีนา เมื่อเบลุคชี่เองรับรู้ว่าเมล กิบสันกำลังจะทำหนังเกี่ยวกับเรื่อง The Passion นั้นเธอค่อนข้างทึ่งที่ได้ยิน เธอจึงได้ติดตามเขาโดยทันที "ฉันคิดว่ามันเป็นงานที่เข้มแข็งและกล้าหาญ" เธออธิบาย "ฉันรู้ว่ามันไม่ใช่งานง่ายเลยแต่มันจะเป็นหนังที่ผู้ชมทั้งหลายจะต้องคิดถึงไปอีกนานแสนนาน และนี้แหละทำให้ฉันสนใจงานนี้" หลังจากที่ได้พบกับกิบสัน เขาเลือกให้เธอเป็นมารี มัคดารีนา ทำให้เบลุคชี่ตื่นเต้นมาก เธอให้ความคิดเห็นว่า "ฉันต้องการรับบทเป็นมารี มัคดารีนา เพราะสำหรับตัวฉันแล้วเธอเป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดาคนหนึ่ง เมื่อพระเยซูคริสต์ช่วยชีวิตเธอ ทำให้เธอได้รู้ซึ้งถึงคุณค่าในตัวของเธอเองในฐานะความเป็นมนุษย์ และเป็นครั้งแรกที่เธอมีความรู้สึกว่ามีคนมองเธอด้วยความรู้สึกแตกต่างไปอีกแบบหนึ่ง สำหรับฉันแล้วเธอเป็นผู้หญิงที่รู้สักตัวเอง และได้ค้นพบความดีกว่าในตัวเองเกินกว่าที่เธอเคยคิดว่าเธอจะสามารถทำได้ " การเรียนรู้ภาษา อารามิคเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับเบลลุชี่ "อาจเป็นเพราะฉันเป็นคนอิตาเลี่ยน มันทำให้ฉันรู้สึกว่าค่อนข้างคุ้นเคยและสวยงาม " เธอกล่าว "แต่ถึงแม้ว่าเราจะใช้เวลากับการเรียนภาษาอารามิคกันฉันคิดว่าหนังเป็นเหมือนหนังเงียบมากกว่าเพราะพวกเราแสดงออกทางความรู้สึกกันลึกมากกว่าจะแสดงออกมาทางคำพูด" ในฉากนั้น เบลุคชี่ไม่เพียงแต่ทึ่งในความทุ่มเทของตัวแสดง แต่ยังพบความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความเชื่ออีกด้วย "ที่ฉันชอบคือถึงแม้ว่าหนังเรื่องนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตและความตายของพระเยซูคริสต์ แต่มีคนมาจากหลากหลายที่หลายศาสนาและภูมิหลัง พวกเราทั้งหมดทำงานเพื่อสร้างสรรค์ผลงานเรื่องนี้เพียงเรื่องเดียว ไม่ใช่เป็นแค่นักแสดงแต่ในฐานะของมนุษย์ปุถุชนคนหนึ่ง และนี่ถือเป็นประสบการณ์หนึ่งที่สำคัญหนึ่งของชีวิตทีเดียว" เธอยังได้พบกับความผูกพันในสไตล์การกำกับการแสดงของ เมล กิบสัน "เขาเป็นผู้กำกับโดยสัญชาตญาณ"เธอให้ความคิดเห็น "เขาไม่ได้เป็นคนพูดมากมาย แต่ดูเหมือนว่าเขาจะสามารถสื่อให้เราเข้าใจหลายอย่างได้จากภาษากายและท่าทางและกิริยามากกว่าจะเป็นด้วยคำพูด แน่นอนล่ะ เขาเป็นคนที่ปราดเปรื่องมากและเขาจะเป็นคนที่รับรู้หลายสิ่งได้อย่างรวดเร็ว และความรู้ลึก และสิ่งเหล่านี้สำหรับตัวฉันแล้ว สำคัญมากสำหรับการจะเป็นผู้กำกับฯ"
สำหรับการรับบทที่เป็นเหมือนรูปสัญลักษณ์คือนักแสดงสาวชื่อ โรซาลินดา เซลานตาโน ผู้ซึ่งรับบทเป็นซาตานในภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยจะบรรยายให้เห็นความเป็นสองเพศที่สามารถเปลี่ยนรูปไปได้หลายหลากก่อให้เกิดความหวาดกลัวและความสงสัย คิ้วของเธอถูกโกนออกเพื่อสร้างการจ้องสะกดจิตและเธอก็ถูกถ่ายทำด้วยภาพสโลว์โมชั่นเพื่อเพิ่มความรู้สึกไม่เป็นธรรมชาติเข้าไปในรูปลักษณ์ของเธอ และสุดท้าย เสียงของเธอก็ถูกอัดทับเข้าไปใหม่ด้วยเสียงของนักแสดงชายเพื่อเป็นการเพิ่มกลิ่นไอของความสับสนขัดแย้งที่ล้อมรอบตัวของซาตานอยู่ เมล กิบสันอธิบายว่า "สิ่งชั่วร้ายจะต้องจูงใจและเย้ายวน มันจะต้องดูดี เหมือนปกติธรรมดาแต่ก็ไม่เชิงนัก นั่นเป็นสิ่งที่ผมพยายามจะทำให้เกิดกับความชั่วร้ายในหนังเรื่องนี้ และนั่นมันเป็นอะไรที่สิ่งชั่วร้ายเป็น คือ: การนำเอาสิ่งดี ๆ มาบิดเบือนไปบางส่วน" แม้จะมีน้ำหนักและความรุนแรงอย่างมากมายในหัวข้อเรื่องของภาพยนตร์ ซึ่งทำให้เกิดทั้งความรุนแรงและการสนทนาที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของตัวแสดงและทีมงาน อารมณ์ขันก็ยังพบได้ทั่วไปในฉาก "เมลจะเป็นผู้ให้ความกระจ่างเมื่อหลายอย่างมันยุ่งยากเข้า" จิม คาวิเซลบอก "เขารู้ว่าสิ่งที่เรากำลังทำเป็นสิ่งพิเศษของการสร้างหนัง ด้วยความเยือกเย็นและเป็นสิ่งที่ยุ่งยากมากที่สุด เราต้องพยายามหาเรื่องหัวเราะ โชคดีมากที่เมลเป็นตัวตลกที่ใช้ได้คนหนึ่งทีเดียว"
(ยังมีต่อ)
-นท-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ