แกงหน่อไม้สำเร็จรูป ฝีมือนักเรียนทุน พสวท. ร.ร.แก่นนครวิทยาลัย

พฤหัส ๐๑ เมษายน ๒๐๐๔ ๑๕:๓๔
กรุงเทพฯ--1 เม.ย.--สสวท.
นายวุธิวัช จิตจักร นักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้น ม.6 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย ได้จัดทำผลงานวิทยาศาสตร์เรื่องแกงหน่อไม้กึ่งสำเร็จรูปโดยมี อ.วรรณา ปักษีเลิศ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และ ผศ.ดร.ชูศักดิ์ พูนสวัสดิ์ ดร.ไชยวัฒน์ รักสกุลพิวัฒน์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาพิเศษ หนุ่มน้อยคนนี้ได้สังเกตว่าผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปผลิตออกมาสู่ตลาดมากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ เนื่องจากชีวิตความเป็นอยู่ในภาวะปัจจุบันมีความเร่งรีบ จึงเกิดความคิดในการทำแกงหน่อไม้สำเร็จรูปขึ้นมา โดยมีกระบวนการทำดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การทำน้ำใบย่านางเข้มข้น โดยคั้นน้ำใบย่านางสด แล้วต้มให้น้ำระเหยออก ได้น้ำใบย่านางเข้มข้น จากนั้นแบ่งน้ำใบย่านางเข้มข้นที่ได้เขี่ยลงจานเพาะเชื้อที่มีอาหารเลี้ยงเชื้อ 2 ชุด เก็บไว้ในตู้เย็นและอุณหภูมิห้อง
ขั้นตอนที่ 2 เป็นการทำเครื่องปรุงแห้ง นำใบแมงลัก พริกขี้หนูสด ปลาร้า หน่อไม้ ฟักทอง ข้าวสารเหนียว อบด้วยตู้อบลมร้อน จากนั้นทดสอบการคืนตัว โดยนำเครื่องปรุงแห้งต้มในน้ำ แล้วเปรียบเทียบลักษณะกับเครื่องปรุงสดต้ม
ขั้นตอนที่ 3 ทดสอบสีของน้ำใบย่านางเข้มข้นต้มและน้ำใบย่านางสดต้ม ด้วยการวัดค่าดูดกลืนแสงสีเขียว
ขั้นตอนที่ 4 นำเครื่องปรุงแห้งและน้ำใบย่านางเข้มข้น ปรุงเป็นแกงหน่อไม้ แล้วทดสอบรสชาติกลิ่น และสีของแกง จากการกรอกแบบสอบถามของอาสาสมัคร
จากการทดลองได้ผลดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เมื่อเวลาผ่านไป 12 วัน น้ำใบย่านางเข้มข้นที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องเริ่มมีเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้นตามรอยของน้ำใบย่านางเข้มข้นที่เขี่ยลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ แต่น้ำใบย่านางเข้มข้นที่เก็บในตู้เย็น ไม่เปลี่ยนแปลง
ขั้นตอนที่ 2 เมื่อนำเครื่องปรุงแห้งมาทดสอบการคืนตัวโดยการต้ม ปรากฏว่าลักษณะที่สังเกตได้คล้ายกับเครื่องปรุงสด
ขั้นตอนที่ 3 วัดค่าดูดกลืนแสงของน้ำใบย่านางเข้มข้นที่ใช้เนื้อใบย่านางเข้มข้น 1 กรัม ต่อน้ำ 200 กรัมแล้วนำไปต้ม วัดค่าดูดกลืนแสงสีเขียวเท่ากับ 0.375 และค่าดูดกลืนแสงสีเขียวของน้ำใบย่านางสดต้มเท่ากับ 0.377
ขั้นตอนที่ 4 ผลจากความเห็นอาสาสมัครจำนวน 53 คน กับรสชาติพบว่า ร้อยละ 54.72 มีรสชาติดีมาก ร้อยละ 41.50 ดี ร้อยละ 3.78 พอใช้ และร้อยละ 0 ควรปรับปรุง ความเห็นกับกลิ้น ร้อยละ 43.40 ดีมาก ร้อยละ 47.16 ดี ร้อยละ 5.66 พอใช้ และร้อยละ 3.78 ควรปรับปรุง ความเห็นกับสี ร้อยละ 50.94 ดีมาก ร้อยละ 39.62 ดี ร้อยละ 9.44 พอใช้ และร้อยละ 0 ควรปรับปรุง
พบกับความน่าทึ่งของผลงานวิทยาศาสตร์เหล่านี้ได้ในงาน "คลื่นลูกใหม่วิทยาศาสตร์ไทย กลไกพัมนาชาติ" เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี โครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์แลเทคโนโลยี(พสวท.) ระหว่างวันที่ 1-2 เมษายน 2547 ณ Hall 8 อิมแพค เมืองทองธานี ภายในงานจะได้พบกับการบรรยายพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิ เวทีเสวนาการพัฒนาเครือข่ายผู้มีความสามารถ พิเศษ 5 ด้าน และบรรยายทางวิชาการ ผลงานวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเยาวชนและคนรุ่นใหม่กว่าสี่ร้อยผลงาน คลีนิกวัดแววความสามารถพิเศษของเยาวชน ละครวิทยาศาสตร์แสนสนุก การประกวดเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ และพบกับนักเขียนดัง เช่ย ชัยคุปต์ ดร.ป๊อป การตอบปัญหาวิทยาศาตร์ ตื่นเต้นเร้าใจไปกับ Science Show การแข่งขันเครื่องบินเล็ก และกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย จัดโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.)--จบ--
-ดพ/นท-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version