เนคเทคมองทุน โครงการ คอมพิวเตอร์แบบพกพาที่มีคีย์บอร์ดและหน่วยแสดงผลแบบเบรลล์ภาษาไทยและอังกฤษสำหรับผู้พิการทางสายตา

จันทร์ ๐๕ เมษายน ๒๐๐๔ ๐๙:๔๕
กรุงเทพฯ--5 เม.ย.--เนคเทค
ชื่อโครงการ : คอมพิวเตอร์แบบพกพาที่มีคีย์บอร์ดและหน่วยแสดงผลแบบเบรลล์ภาษาไทยและอังกฤษสำหรับผู้พิการทางสายตา
คณะวิจัย : ดร.พิชญา ตัณฑัยย์ (หัวหน้าโครงการ), ผศ.สุนทร วิทูสุรพจน์, นายฉัตรชัย จันทร์พริ้ม, นายวรพรต ชูกำเนิด, นายวีระแมน นิยมพล ที่ปรึกษาโครงการ นายมณเฑียร บุญตัน
สังกัด : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยมหิดล
ระยะเวลาโครงการ : 2 ปี
งบประมาณรวม : 5,400,920 บาท
โครงการ คอมพิวเตอร์แบบพกพาที่มีคีย์บอร์ดและหน่วยแสดงผลแบบเบรลล์ภาษาไทยและอังกฤษสำหรับผู้พิการทางสายตา โดย ดร.พิชญา ตัณฑัยย์ ผศ.สุนทร วิทูสุรพจน์ นายฉัตรชัย จันทร์พริ้ม นายวรพรต ชูกำเนิด จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ นายวีระแมน นิยมพล วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล และ นายมณเฑียร บุญตัน สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาสร้างระบบต้นแบบทางอุตสาหกรรมของคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่มีหน่วยป้อนข้อมูล (คีย์บอร์ด) และหน่วยแสดงผลแบบอักษรเบรลล์ (Braille-character System) เหมาะสำหรับผู้พิการทางสายตา หรือ มีปัญหาทางด้านการมองเห็น
ระบบต้นแบบประกอบไปด้วย หน่วยป้อนข้อมูล (คีย์บอร์ด) และหน่วยแสดงผลแบบอักษรเบรลล์ (ใช้แทนจอภาพ) และหน่วยประมวลผลข้อมูล โดยทั้งสามส่วนนี้จะประกอบกันเป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพา ต้นแบบจะมีคุณลักษณะที่สามารถประมวลผลข้อมูลได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตลอดจนการบันทึกข้อมูลจากหน่วยความจำภายในเครื่อง เพื่อให้สามารถจัดเก็บเป็นแบบข้อมูลถาวรภายใต้รูปแบบมาตรฐานและสามารถแลกเปลี่ยนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไปได้
โครงการวิจัยนี้เป็นการตอบสนองต่อปัญหาความขาดแคลนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับผู้พิการทางสายตา หรือ มีปัญหาทางด้านการมองเห็น โดยในปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีข้อจำกัดสองประการ คือ ราคาสูง และไม่สามารถจะประมวลผลอักษรเบรลล์ภาษาไทยได้ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามาจำหน่ายจากต่างประเทศ รวมถึงผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์นำเข้าที่มีใช้งานภายในประเทศ เป็นเพียงการอ่านออกเสียงข้อความให้ฟัง จึงไม่สนับสนุนการป้อนข้อมูลอักษรเบรลล์ ส่งผลทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับสำหรับผู้พิการทางสายตาหรือมีปัญหาทางด้านการมองเห็นมีข้อจำกัดอย่างน่าเสียดาย และไม่ได้เสริมสร้างการพัฒนาเพื่อให้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอาชีพ เช่น นักพิมพ์งาน หรือนักพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น โครงการนี้เน้นการพัฒนาอุปกรณ์สำหรับผู้พิการทางสายตาที่ให้ผลเหมือนกับอุปกรณ์สำหรับคนสายตาปกติ โดยใช้ทรัพยากรทางอิเล็กทรอนิกส์ที่หาได้ในท้องตลาดภายในประเทศเกือบทั้งสิ้น จึงคาดว่าจะได้ระบบต้นแบบทางอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อถือได้ในระบบสูงและราคาที่สมเหตุสมผลมากกว่าผลิตภัณฑ์นำเข้าจากต่างประเทศในประเภทเดียวกัน
การสนับสนุนทุนวิจัยดังกล่าวเป็นการเชื่อมโยงกับการดำเนินงานวิจัยในโครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เพื่อส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการในประเทศไทยให้ทัดเทียมบุคคลปกติในสังคม
ภาพที่ 1 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาสำหรับผู้พิการทางสายตาจากต่างประเทศ BrailleNote BT 32
ที่มา: http://www.pulsedata.com/Products/Notetakers/BrailleNoteBT.asp
ดร. พิชญา ตัณฑัยย์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อปีพ.ศ. 2532 ปริญญาโทและเอกในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จากมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ประเทศสหราชอาณาจักร เมื่อปีพ.ศ. 2540 และ 2544 ตามลำดับ ดร.พิชญาเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533 มีความชำนาญในด้านการโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming) การจำลองแบบกระจาย (Distributed Interactive Simulation) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networking) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์--จบ--
-นท-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO