กทม. ร่วมโครงการ “บ้านมั่นคง” ยุติปัญหาการไล่รื้อและปัญหาสลัม

พุธ ๐๗ เมษายน ๒๐๐๔ ๑๖:๐๖
กรุงเทพฯ--7 เม.ย.--กทม.
นายสรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดการสัมมนาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2547 เวลา 09.00 น. ณ ห้องบอลรูม โรงแรมบางกอกพาเลซ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ โดยมี นางณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวรายงาน ร่วมด้วย นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และผู้นำชุมชนประมาณ 1,000 คน ร่วมสัมมนา
รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในระดับรากหญ้า เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน โดยกำหนดให้การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจากการรับลงทะเบียนแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่กทม. ซึ่ง 50 สำนักงานเขตรับผิดชอบดำเนินการนั้นพบว่าปัญหาที่อยู่อาศัยเป็นปัญหาสำคัญอันดับแรกในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ซึ่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบการจัดหาที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อยที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองผ่านโครงการบ้านเอื้ออาทร สำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัด รัฐบาลมีนโยบายต้องการให้เกิดความมั่นคงในการอยู่อาศัยบนที่ดินเดิมเป็นหลัก โดยผ่านโครงการบ้านมั่นคง ที่มีสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งในเรื่องนี้ทางกระทรวงฯมีความมุ่งมั่นที่จะให้เกิดการแก้ไขปัญหาโดยเร็ว ด้วยการให้ชุมชนในกทม. เขตต่างๆ และปริมณฑลเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาให้มากที่สุด
โครงการ “บ้านมั่นคง” เป็นโครงการแก้ไขปัญหาแนวใหม่ของรัฐบาล คือ การพัฒนาที่อยู่อาศัยคนจนในชุมชนแออัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุมชนที่มั่นคงและน่าอยู่ รวมถึงให้สิทธิการครอบครองที่ดิน มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งโครงการบ้านมั่นคงมีแผนดำเนินงานอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ โดยในปี 2546 ได้มีการดำเนินงานตามโครงการนำร่อง 10 ชุมชน จำนวน 1,525 หน่วย และในปี 2547 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินการเพิ่มอีก 15,016 หน่วย จำนวน 174 ชุมชน ใน 42 เมือง และมีโครงการจะดำเนินการให้ครบ 300,000หน่วย ภายในปี 2551 ทั้งนี้เพื่อให้สามารถครอบคลุมคนจน ผู้อยู่อาศัยใน ชุมชนแออัด กลุ่มผู้อยู่อาศัยที่จำเป็นต้องบุกรุกที่ดิน ลำน้ำ รวมไปถึงผู้ไร้ที่อยู่ คนเร่ร่อนได้อย่างทั่วถึง
สำหรับการดำเนินการในกรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินการเป็นโครงการนำร่องในปี 2546 จำนวน 6 ชุมชน คือ ชุมชนบ่อนไก่ ชุมชนเจริญชัยนิมิตใหม่ ชุมชนคลองลำนุ่น ชุมชนคลองเตยล๊อก 7-12 ชุมชนร่วมสามัคคี และชุมชนเก้าพัฒนา โดยที่ชุมชนคลอง ลำนุ่น ชุมชนเจริญชัยนิมิตใหม่เป็นการซื้อที่จากเอกชน ส่วนที่ชุมชนบ่อนไก่ ชุมชนร่วมสามัคคี ชุมชนเก้าพัฒนา เป็นการเช่าที่ดินสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และชุมชนคลองเตยล็อก7-12 เป็นการเช่าที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย สำหรับในปี 2547 นี้จะดำเนินการใน 42 เมือง 15,016 หน่วย ซึ่งจะเป็นชุมชนแออัดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 64 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนในที่ดิน การท่าเรือฯ ชุมชนในที่ดินราชพัสดุ ชุมชนในที่ดินสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ชุมชนในที่เอกชน ชุมชนที่ถูกไฟไหม้/ไล่รื้อ ชุมชนใหม่ ชุมชนริมคลอง และชุมชนย่านปริมณฑลอีกจำนวน 3 ชุมชน--จบ--
-นห-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ