TGMA โชว์วิสัยทัศน์ปี 47 พร้อมเปิดตัวทีมคุณภาพ ชูแผนงานหลัก 4 ด้าน - เร่งสานงานเก่าเสริมงานใหม่

ศุกร์ ๒๓ เมษายน ๒๐๐๔ ๑๗:๔๙
กรุงเทพฯ--23 เม.ย.--อินคริสซ์ เน็ทเวิร์ค เอเจนซี แอนด์ คอนซัลแทนส์
เตรียมแผนสร้างผลงานให้สมาชิกอย่างต่อเนื่อง-มั่นใจ 2 ปี ผลงานตามเป้าหมาย
ทั้งนี้การเปิดเผยของนายเธียรชัย มหาศิริ นายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย (Thai Garment ManufactrersAssociation : TGMA) ในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี ครั้งที่ 31 ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมใหญ่ของสมาคม ซึ่งจัดขึ้นเพียงปีละ 1 ครั้ง โดยมีสาระสำคัญของการประชุมอยู่หลายเรื่อง รวมทั้งการรับรองคณะกรรมการชุดใหม่ ซึ่งในปีนี้ตนได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมโดยมีวาระการดำรงตำแหน่งครั้งละ 2 ปี สำหรับวาระการดำรงตำแหน่งนี้จะอยู่ในรอบปีการทำงานปี 2547- ปี 2549 สำหรับคณะกรรมการชุดใหม่จะประกอบด้วยบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านที่จะช่วยผลักดันการทำงานของสมาคมให้ประสบความสำเร็จ สำหรับงานหลักของสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยประกอบด้วยงานหลัก 4 ด้าน คืองานด้านงานการประสานงานและแก้ไขปัญหาอุปสรรค (Government & Industry Co-Operation) งานด้านส่งเสริมการค้า (Trade Promotion) งานด้านประชาสัมพันธ์และสมาชิกสัมพันธ์ (Public Relations & Member Services) และงานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม (Industry Development) โดยงานทั้ง 4 ด้านนั้น TGMA ได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่จัดตั้งสมาคม แต่จะทำการปรับปรุงงานให้เกิดความเหมาะสมต่อสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลาและเน้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสมาชิกของ TGMA และภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการชุดใหม่นี้เชื่อว่าจะสร้างสรรค์ผลงานตรงตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง TGMA ได้อย่างแท้จริง
สำหรับวิสัยทัศน์การดำเนินงานของ TGMA นายเธียรชัย มหาศิริ กล่าวว่าภายใต้การดำเนินงานคณะกรรมการชุดใหม่เรามีหน้าที่หลักอยู่ 2 ประการ นั้นคือสานงานเก่าซึ่งเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิกที่ทางสมาคมโดยท่านอดีตนายกและอดีตกรรมการทุกชุดที่ผ่านมาได้ดำเนินการมาแล้วอย่างต่อเนื่อง ให้ดำเนินต่อไป แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นพร้อมทั้งยังประโยชน์ต่อสมาชิกของสมาคมถ้วนทั่ว ในขณะที่การเริ่มโครงการใหม่ที่เป็นประโยชน์ให้กับสมาชิกของสมาคมคืองานสำคัญประการที่ 2 ที่คณะกรรมการชุดใหม่ภายใต้การดำเนินงานของผมต้องเร่งดำเนินการ เนื่องจากสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศนั้นเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ความสามารถที่จะแข่งขันกับนานาประเทศภายใต้ระบบการค้าเสรีจึงต้องแฝงด้วยความคิดรอบ-ที่รวดเร็ว ซึ่งโครงการใหม่ดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับงานหลักทั้ง 4 ด้านของสมาคม ด้วยเช่นกัน ซึ่งผมเชื่อว่าอุปนายกของสมาคมทั้ง 4 ท่าน คือ นายวัลลภ วิตนากร อุปนายกสมาคมฯซึ่งดูแลงานด้านการประสานงานและแก้ไขปัญหา อุปสรรค นายสุกิจ คงปิยาจารย์ อุปนายกสมาคมฯฝ่ายการส่งเสริมการค้า นายกาสชัย แจ่มขจรเกียรติ อุปนายกสมาคมฯด้านงานด้านประชาสัมพันธ์และสมาชิกสัมพันธ์ และนายเดช พัฒนเศรษฐพงษ์ อุปนายกสมาคมฯ ด้านงานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม ร่วมถึงนายสมบูรณ์ เจือเสถียรรัตน์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสมาคมเป็นสมัยที่ 2 พร้อมทั้งกรรมการทุกท่านจะเป็นกำลังสำคัญที่จะทำให้งานของสมาคมฯก้าวไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
"หลายคนกำลังมองว่าอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยกำลังอยู่ในภาวะวิกฤตย์และก้าวสู่ยุค Sunset Industry คนที่เคยอยู่ในธุรกิจแบบ OEM กำลังจะปรับตัวเองเพื่อเป็น ODM โดยยอมละทิ้งภูมิความรู้ซึ่งได้ถูกสั่งสมมาเนิ่นนาน ถ้าหากเรามองกลับว่าวิกฤตย์ที่เกิดขึ้นนี่แหละคือเหตุแห่งโอกาส เราจะสามารถปรับตัวเพื่อสร้างโอกาสหรือมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจให้กับบริษัทของเราเองโดยไม่ต้องกังวลกับสงครามราคาจากคู่แข่ง เพราะราคาไม่ใช่ปัจจัยเพียงประการเดียวต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ยังมีเรื่องของความน่าเชื่อถือ เสถียรภาพทางการเมืองที่มั่นคง มาตรฐานแรงงานที่สูงกว่าและการสนับสนุนจากรัฐบาลของประเทศคู่ค่าก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพิจารณาสั่งซื้อสินค้าเช่นกัน" นายเธียรชัยกล่าวและว่า ความรุ่งโรจน์จะกลับมาสู่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยได้อีกครั้งด้วยปัจจัย 3 ประการคือการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจด้วยการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิต นำการตลาดในเชิงรุกมาใช้อย่างจริงจัง และประการสุดท้ายคือการสร้างแบรนด์ของตนเอง
นายวัลลภ วิตนากร อุปนายกสมาคมฯ ด้านการประสานงานและแก้ไขปัญหาอุปสรรค (Government & Industry Co-Operation) เปิดเผยถึงงานที่ต้องรับผิดชอบว่า เนื่องจากสาเหตุหลายประการที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มสมาคมฯถือเป็นหน้าที่ในการดำเนินประสานงานและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น โดยได้ร่วมมือประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรมการค้าต่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก กรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจให้กับสมาชิกและผู้ประกอบการโดยมีประเด็นหลักๆ ที่พอสรุปได้เป็น 2 ประการคือ การแก้ไขปัญหาการส่งออกสินค้าเครื่องนุ่งห่มเข้าร่วมประชุมหารือกับหน่วยงานราชการสมาคมฯเป็นตัวแทนสมาชิกนำเสนอปัญหาและอุปสรรคของผู้ส่งออกและเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากข้อกำหนดและระเบียบปฏิบัติทางราชการเพื่อให้มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์การค้าโลก และสภาพเศรษฐกิจเช่นการหารือกับกรมการค้าต่างประเทศ เกี่ยวกับการแก้ไขระเบียบกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการบริหารการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังประเทศที่มีข้อตกลงกับประเทศไทย พ.ศ. 2546 การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด และการเข้าร่วมหารือและสนับสนุนข้อมูลเพื่อการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยและคู่เจรจา สำหรับการดำเนินการประการที่ 2 คือการให้การส่งเสริมสิทธิและประโยชน์ทางการค้าให้การส่งเสริมสิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 36 (1) และ (2) ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งออกแก้ไขสภาพคล่องในการจัดหาวัตถุดิบจากต่างประเทศออกหนังสือรับรองฐานะทางการเงินให้กับผู้ประกอบการส่งออกที่ดีและผู้ประกอบการส่งออกขึ้นทะเบียน เพื่อให้การพิจารณาคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกของประเทศ
นายสุกิจ คงปิยาจารย์ อุปนายกสมาคมฯฝ่ายการส่งเสริมการค้า (Trade Promotion) เปิดเผยว่า งานด้านส่งเสริมการค้าถือเป็นภารกิจหลักของสมาคมฯ เพื่อสนับสนุนมูลค่าการส่งออกของประเทศและการดำเนินกิจการของสมาชิกและผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่ม งานของฝ่ายนี้จะประกอบด้วยงานต่างๆ เช่น งานแสดงสินค้าในต่างประเทศ ซึ่งทางสมาคมฯได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ เพื่อตอบข้อซักถามและให้ข้อมูลอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มกับผู้สนใจ ข้อมูลสมาชิกของสมาคมฯในรูปแบบของ DIRECTORY รายชื่อสมาชิกสมาคมฯ (แยกประเภทสินค้า) และ CD ROM ได้นำไปเผยแพร่ไปให้กับผู้ซื้อในต่างประเทศ ที่สนใจหาแหล่งผลิตสินค้าเครื่องนุ่งห่มประเภทต่างๆในประเทศไทย รวมทั้งได้รวบรวมนามบัตรของผู้ซื้อในต่างประเทศ เผยแพร่ทาง WEB SITE ของสมาคมฯ เพื่อให้สมาชิกได้มีโอกาสหาแหล่งวัตถุดิบประเภท ผ้าผืน เส้นด้ายและวัสดุอุปกรณ์ ใหม่ๆ เพิ่มเติมจากเดิม และเพื่อศึกษาความก้าวหน้าของคู่แข่งขัน และแสวงหาความร่วมมือและพันธมิตรทางธุรกิจในอนาคต งานนิทรรศการและงานแสดงสินค้าในประเทศ เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางแสดงสินค้าสิ่งทอเสื้อผ้าแฟชั่นที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก รวมทั้งเพื่อผลักดันและพัฒนาศักยภาพการผลิตของไทย และเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้เลือกซื้อสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิต เพื่อการส่งออก และมีคุณภาพมาตรฐานดีในราคาถูกแทนการซื้อสินค้าจากต่างประเทศ รวมทั้งบริษัทที่เข้าร่วมงานสามารถระบายสินค้าคงค้างจากการส่งออกได้
ส่วนงานด้านประชาสัมพันธ์และสมาชิกสัมพันธ์ (Public Relation & Member Services) นายกาสชัย แจ่มขจรเกียรติ อุปนายกสมาคมฯ ซึ่งรับผิดชอบงานด้านนี้เปิดเผยว่า งานประชาสัมพันธ์และสมาชิกสัมพันธ์ เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกและบุคคลภายนอก ซึ่งสมาชิกเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสมาคมฯ ดังนั้น สมาคมฯ จึงมีพัฒนาการในด้านการสื่อสารการให้ข้อมูล ข่าวสาร แก่สมาชิก ให้รวดเร็ว รวมถึงการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของสมาคมฯ ต่อสาธารณชนในและต่างประเทศ และให้ความร่วมมืออันดีต่อองค์กรภายนอก สมาคมฯ ได้ดำเนินงานด้านประชาสัมพันธ์และสมาชิกสัมพันธ์ในด้านต่างๆ เช่น การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสมาคมฯ ได้จัดส่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้กับสมาชิกในรูปแบบของสื่อต่างๆ ได้แก่ News letter วารสารข่าวกิจกรรมของสมาคมฯ ราย 2 เดือน จัดพิมพ์สี่สี 3 หน้า เผยแพร่ให้กับสมาชิกของสมาคมฯและองค์กรภายนอกตลอดจนประชาชนทั่วไป Web Site สมาคมฯ ได้เปิดให้บริการ Web Site คือ www.thaifarment.org ซึ่งเป็นสื่อทางระบบ Electronic ( E-market ) และได้มีการปรับปรุงเว็บไซด์ของสมาคมฯ เพื่อให้มีประสิทธิภาพ และเป็นศูนย์กลางข้อมูลของผู้ประกอบการได้ Weekly Report เป็นจุลสารรายสัปดาห์ ออกทุกวันอังคาร โดยเน้นข้อมูลปัจจุบันมากที่สุดที่ทันต่อเหตุการณ์ เช่น ระเบียบ และประกาศกรมการค้าต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การอบรม สัมมนาต่างๆตลอดจนความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม โดยจัดส่งทางระบบ WINFAX และ E-MAIL การจัด Directory เป็นหนังสือนานานุกรมราย 2 ปี บรรจุข้อมูลที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงรายนามสมาชิกของสมาคมฯพร้อมทั้งข้อมูลการค้า การส่งออก และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อเผยแพร่แก่องค์กรทั้งภาครัฐฯ และเอกชนทั้งในและต่างประเทศ โดยหนังสือดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้ลงทุน ผู้ซื้อ และผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าในต่างประเทศ สำหรับ Cut & Sew สมาคมฯได้ให้ความร่วมมือกับผู้จัดทำหนังสือ Cut & Sew ในการให้ข้อมูลข่าวสารและข่าวความเคลื่อนไหวในวงการค้า และอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งเป็นวารสารสำหรับเครื่องนุ่งห่มโดยเฉพาะ และผู้จัดทำได้จัดส่งวารสารดังกล่าวให้กับสมาชิกของสมาคมฯ โดยไม่คิดมูลค่า
" ส่วนงานสมาชิกสัมพันธ์ซึ่งเป็นงานฝ่ายประชาสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเพื่อสร้างความเชื่อมโยงและเครือข่ายในอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เช่นโครงการเพิ่มสมาชิก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขยายฐานสมาชิก เจาะกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เชิญชวนผู้ที่ยังไม่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ เข้าร่วมเป็นสมาชิก เพื่อจะได้เป็นศูนย์รวมของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย ทั้งในด้านการส่งออก การผลิตสินค้าและกอล์ฟกระชับมิตรที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี " นายกาสชัยกล่าวในที่สุด
นายเดช พัฒนเศรษฐพงษ์ อุปนายกสมาคมฯ ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม ( Industry Development ) กล่าวถึงการดำเนินงานด้านนี้ว่า ภาระกิจหลักสำคัญอีกประการหนึ่งของสมาคมฯ คือการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย เพื่อสร้างความเข้มแข็งและมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยทุกระดับให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ภายใต้แผนงานของคณะอนุกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งได้มีการดำเนินการหลักๆดังนี้ การสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลเช่น การผลักดันโครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะมุ่งส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจแฟชั่น ซึ่งอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มได้เป็นสาขาหนึ่งที่อยู่ในธุรกิจแฟชั่น ดังนั้น สมาคมฯในฐานะศูนย์รวมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มได้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ร่วมการผลักดันโครงการ กรุงเทพฯเมืองแฟชั่น มาโดยตลอด ซึ่งต่อมาภาครัฐได้มีการปรับเปลี่ยนแนวนโยบายของโครงการใหม่ สมาคมฯจึงได้ร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ( work-shop ) เพื่อนำเสนอแผนงานต่อนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ( นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ) เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2546 ณ กระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ได้มีการจัดทำแผนงานเสนอภายใต้โครงการ....การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันธุรกิจแฟชั่น สาขาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม... และเพื่อให้การดำเนินงานของโครงการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ และเกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มโดยรวมอย่างแท้จริง จึงได้มีผู้แทนเข้าร่วมในคณะอนุกรรมการและการประชุมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับโครงการมาโดยตลอด
สำหรับการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งถือเป็นงานอีกด้านหนึ่งที่ต้องรับผิดชอบ นายเดชกล่าวเพิ่มเติมว่าจะประกอบด้วยงานการนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการดำเนินการ เพื่อสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องแม่นยำเช่น Rule of Origin Software และ ERP Software การสัมมนาเพื่อให้สมาชิกและผู้ประกอบการได้รับข้อมูลและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการ และการสร้างความร่วมมือในอุตสาหกรรม เพื่อสร้างสายธุรกิจและความเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมโดยมี
สอบถามรายละเอียดข่าวเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
จินตนา ตรีพิชิต , อุบลราช ชาตรี
INAC ; Increase Network Agency & Consultants Co.,Ltd. ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
โทร.02-9861135 , 02-9861854 , 01-8260639 และ 01-4950429--จบ--
-นท-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๗ สถาพร เอสเตท ฟอร์มเยี่ยม ยอดขายทะลุเป้ากว่า 165 ล้านบาท จากงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 46
๑๖:๐๒ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จัดทัพโซลูชั่นสำหรับสมาร์ทซิตี้ในงาน IEEE-ISC2 2024 พร้อมจัดเวทีเสวนาระดับผู้นำทางความคิดด้านสมาร์ทซิตี้
๑๖:๑๘ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ผนึก IMAX Corporation เปิดโรงหนัง IMAX with Laser ครั้งแรกในต่างจังหวัด ส่งมอบประสบการณ์การดูหนังที่ดีที่สุด ที่ เซ็นทรัล เฟสติวัล
๑๖:๒๘ Bitkub Group สร้างปรากฏการณ์เขียวทั่วเมืองไทย!ขึ้น Billboard ต้อนรับ Developer ทั่วโลกบินร่วมงาน Devcon 2024
๑๖:๔๗ ยิบอินซอยจับมือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงนามบันทึกความเข้าใจ ผลิตบุคลากรคุณภาพในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
๑๖:๓๕ RML ปลื้ม 'ดิ เอสเทลล์ พร้อมพงษ์' และ 'เทตต์ สาทร ทเวลฟ์' ปล่อยเช่า Yield สูง
๑๖:๔๓ TPCH สุดแกร่ง! โชว์กำไร 9 เดือนปี 67 แตะ 254.15 ลบ. รับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าชีวมวล-พลังงานขยะ กำลังผลิต 90.2 MW บอร์ดใจดีแจกปันผลระหว่างกาล 0.128
๑๖:๒๖ กลุ่มเซ็นทรัล ชวนทุกท่านร่วมส่งมอบความสุขอันอบอุ่นให้น้องๆ ชายแดนใต้ ผ่านของขวัญแทนความห่วงใย ในโครงการ มิลเลี่ยนกิฟต์ มิลเลี่ยนสมายล์ ปี
๑๖:๑๖ YLG ย้ำทองยังปรับตัวขึ้นได้อีก 2 ปี เป้าหมายถัดไปลุ้นถึง 3,000 ดอลลาร์ ทองแท่งในประเทศได้เห็น 5 หมื่นบาท
๑๖:๒๖ แม็คโคร ชี้เมกะเทรนด์ธุรกิจอาหารที่น่าจับตามอง ปี 2568 หนุนผู้ประกอบการโฮเรก้าเติมศักยภาพ-แข่งขันในตลาดได้