เอสซี แอสเสท แจงข้อเท็จจริง โครงการบางกอกบูเลอวาร์ด

ศุกร์ ๒๑ พฤษภาคม ๒๐๐๔ ๑๑:๕๗
กรุงเทพฯ--21 พ.ค.--โอเอซิส มีเดีย
เอสซี แอสเสท แจงข้อเท็จจริงถูกพาดพิงกรณี " โครงการบางกอก บูเลอวาร์ด รามอินทรา-วงแหวนนวมินทร์ " ได้รับเอื้อประโยชน์จากการเมืองเรื่องการตัดถนนรัชดา-รามอินทรา ชี้เป็นธรรมดาของดีเวลลอปเปอร์ที่ต้องเซอร์เวย์ข้อมูลหาที่ดินที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้บริโภค และการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย ชี้การนำโครงข่ายจราจรมาเป็นจุดขาย เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่น และไม่เกิดความสับสน
นายสุรเธียร จักรธรานนท์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SC เปิดเผยข้อเท็จจริงในรายละเอียด " โครงการบางกอก บูเลอวาร์ด " รามอินทรา-วงแหวนนวมินทร์ ถึงกรณีที่มีการกล่าวพาดพิงว่า โครงการก่อสร้างถนนรามอินทรา วงแหวนรอบนอกสายตะวันออกเส้นรัชดา-รามอินทรา ความยาว 4.5 กม. ได้เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงการ ฯดังกล่าว และบริษัทฯรู้ก่อนว่าจะมีการตัดถนนเส้นนี้จึงได้ไปซื้อที่ดินดักหน้าไว้ ในความเป็นจริงแล้วโครงการตัดถนนสายนี้ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายอนันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2534 แต่โครงการดังกล่าวได้ชะลอไปโดยปริยาย เนื่องจากในช่วงนั้นยังไม่มีงบประมาณก่อสร้าง และตั้งแต่ปี 2539 กรมทางหลวงจึงได้นำโครงการกลับมาพิจารณาใหม่ เพื่อสรุปแนวเวนคืนที่ชัดเจนอีกครั้ง จนในที่สุดคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ( คจร.) วันที่ 4 กรกฎาคม 2546 ได้อนุมัติดำเนินการอีกครั้ง
กรรมการผู้อำนวยการกล่าวว่าที่ดินแปลงดังกล่าว เป็นลักษณะที่บริษัทซื้อต่อจากเจ้าของเดิมที่เป็นการชำระหนี้ NPA และในช่วงระหว่างปี 2539- 2546 ก็มิได้นำมาพัฒนาเป็นโครงการที่อยู่อาศัย หรือทำประโยชน์ใดๆ ใช้เป็นเพียงที่ตั้งชุมสายโทรศัพท์เท่านั้น
เมื่อบริษัทมีการศึกษาข้อมูลและวางรูปแบบที่ชัดเจนรวมถึงความพร้อมเต็มที่ จึงได้นำที่ดินมาพัฒนาเป็นโครงการบางกอก บูเลอวาร์ดในปี 2546 และนำเรื่องถนนเส้นดังกล่าวมาเป็นจุดขายในโบรชัวร์ ด้วยมีเจตนารมณ์ที่จะเปิดเผยข้อมูลให้ผู้บริโภคได้รับทราบถึงข้อเท็จจริง เพราะการที่โครงการมีที่ตั้งอยู่ใกล้แนวถนนนั้น มีผลกระทบทั้งในทางบวกและทางลบ คือ ผู้ที่ไม่รู้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน อาจคิดว่าโครงการอยู่ในแนวเวนคืน ซึ่งมีผลกระทบต่อยอดขายและการดำเนินงานของบริษัทฯ ดังนั้นการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวจึงมีความจำเป็น เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจและเชื่อมั่นว่าโครงการดังกล่าวเป็นการซื้ออนาคต ผู้ที่ซื้อโครงการฯ จะไม่ถูกเวนคืนในภายหลังอย่างแน่นอน เพราะบริษัทได้เผื่อพื้นที่ห่างจากแนวเวนคืนไว้ถึง100 เมตร ตามที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากหน่วงงานที่รับผิดชอบก็ยังไม่มีความชัดเจนในแนวเขต
" หลักการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่ผู้บริหารทุกบริษัทโดยทั่วไปทำก็คือ การหาข้อมูลเรื่องแนวโครงข่ายการจราจร ไม่ว่าจะเป็นระบบถนนหรือทางด่วนต่างๆ เพราะเป็นจุดสำคัญในการบริหารต้นทุนที่ดินในการพัฒนาโครงการจัดสรร คือ จะไม่เป็นการซื้อที่ดินเก็บไว้รอพัฒนานานๆ ดังนั้นโครงการของ
บริษัทจึงเน้นทำเลที่มีศักยภาพ อยู่ใกล้ถนนทางด่วนต่างๆทุกโครงการ ทั้งย่านพระราม 5 ปิ่นเกล้า และวัชรพล เพราะจุดนี้เป็นจุดขายที่สำคัญในการประกอบการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค"
ต่อประเด็นที่ว่าเมื่อมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์จุดขายดังกล่าว จนโครงการขายหมดไปแล้วนั้น ในความเป็นจริงโครงการนี้มียอดขาย 60 กว่ายูนิต จากเฟสแรกที่มีจำนวน 90 กว่ายูนิต และพร้อมที่จะเปิดเฟสสองในช่วงเดือนตุลาคมนี้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ คุณภัทธิรา บุรี หรือคุณฤดี ธรรมเทียร บริษัท โอเอซิส มีเดีย จำกัด
โทร.0-2937-4000 ต่อ 2068 หรือ 0-2937-4658-9 , 0-2937-4735 ต่อ 16-17 โทรสาร. 0-2937-4659 ต่อ 18
Email : [email protected], [email protected]จบ--
-นห-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ