เอบีเอ็น แอมโร แนะบริษัทประกันทำสว็อป

พฤหัส ๒๗ พฤษภาคม ๒๐๐๔ ๑๒:๐๙
กรุงเทพฯ--27 พ.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค (ประเทศไทย)
เมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารเอบีเอ็น แอมโร ประเทศไทย ร่วมกับคณะอนุกรรมการลงทุน สมาคมประกันชีวิตไทย จัดงานบรรยายขึ้นในหัวข้อ Yield Enhancement : Asset Swaps & Structured Products เพื่อเสริมสร้างความรู้ด้านการลงทุนในตราสารใหม่ๆ ให้แก่เจ้าหน้าที่ด้านการลงทุนของบริษัทประกันชีวิตและกรมการประกันภัย
ในภาพ: มร. โจเซฟ เจ. เฮส (แถวหลัง ที่สอง จากซ้าย) ผู้จัดการประจำประเทศไทย ธนาคารเอบีเอ็น แอมโร ถ่ายภาพร่วมกับ ผู้บรรยายจากธนาคารเอบีเอ็น แอมโร คือคุณกิตติ เจริญกิจชัยชนะ (แถวหลังซ้ายสุด) ผู้ช่วยกรรมการฝ่ายการตลาดตราสาร และ คุณอาดา อิงคะวณิช (แถวหน้า ขวาสุด) หัวหน้าส่วนตราสารหนี้ในประเทศ พร้อมด้วย คุณภคินีนาถ ติยะชาติ (แถวหน้า ที่สอง จากขวา) ประธานคณะอนุกรรมการลงทุน สมาคมประกันชีวิตไทย
เกี่ยวกับ เอบีเอ็น แอมโร
เอบีเอ็น แอมโรเป็นธนาคารชั้นนำระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยมีสินทรัพย์รวมกว่า 560.4 พันล้านยูโร (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546) เอบีเอ็น แอมโร มีสาขากว่า 3,000 แห่งในกว่า 60 ประเทศ และมีพนักงานประจำกว่า 110,000 คนทั่วโลก เอบีเอ็น แอมโรนั้นเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ยูโรเน็กซ์ ลอนดอน และนิวยอร์ก--จบ--
-นท-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ