กรุงเทพฯ--15 ก.ค.--สมาคมสร้างคุณค่าแห่งประเทศไทย
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ หนึ่งในคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ชี้ การสนทนาระหว่างกันจะช่วยลดความขัดแย้ง ความรุนแรง และสร้างมิตรภาพ ให้ความไว้วางใจ ย้ำอย่ายึดติดสัญลักษณ์ทางศาสนา เพราะยิ่งทำให้เกิดความแตกแยก
สมาคมสร้างคุณค่าแห่งประเทศไทยได้จัดแนะนำหนังสือ”อารยธรรมโลก พุทธ& อิสลาม สนทนาธรรม สานสัมพันธ์สู่สันติ” ฉบับภาษาไทย เพื่อหวังเป็นสื่อกลางก่อเกิดกระแสหันหน้าเข้าหากันผ่านการสนทนา มุ่งส่งเสริมสร้างสันติภาพ
หนังสือ “อารยธรรมโลก” เป็นบทสนทนาระหว่าง ดร.ไดซาขุ อิเคดะ ประธานองค์กรพุทธศาสนาที่มีสมาชิกมากกว่า 12 ล้านคนใน 190 ประเทศ กับ ดร.มาจิด เตหะราเนี่ยน ศาสตราจารย์ด้านการสื่อสารระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยฮาวาย ตัวแทนของศาสนาอิสลาม ซึ่งบทสนทนาของบุคคลทั้งสองใช้เวลาในการพบปะและสนทนากันทั้งสิ้น 8 ปี จนเกิดหนังสือเล่มนี้
บทสนทนาของทั้งสองท่านได้เรียกร้องให้มีการสนทนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความขัดแย้งและเสริมสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นในโลกนี้ ไม่ว่าบุคคลใดจะนับถือศาสนาพุทธ อิสลาม หรือ ศาสนาอื่น ๆ ก็สามารถสนทนาร่วมกันก่อให้เกิดมิตรภาพ
“ดร.เตหะราเนี่ยน และผมเชื่อว่า ทางออกของปัญหาอยู่ที่การสนทนาระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกัน และการฟื้นฟูจิตสำนึกของมนุษย์ให้ตระหนักถึงความสำคัญของคนแต่ละคนและคุณค่าของชีวิต” คำกล่าวตอนหนึ่งของ ดร.อิเคดะ ในหนังสือ “อารยธรรมโลก”
ในโลกปัจจุบันความขัดแย้งเกิดขึ้นมากมาย หลายระดับ ซึ่งมักเกิดจากปัญหาการเมือง ภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ หากเราเพิกเฉย ความขัดแย้งก็จะขยายวงกว้างกลายเป็นความแตกแยก และจะยากต่อการประสานรอยร้าว
ทั้งๆที่ มนุษย์ทุกชาติทุกภาษา ทุกศาสนา ต่างก็โหยหาสันติภาพ ไม่มีใครต้องการให้เกิดสงคราม ฉะนั้น การสนทนาอย่างจริงใจ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตัวสันติภาพในโลก
หนังสือ “อารยธรรมโลก” ได้รับคำนิยมจาก ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ระบุไว้ในหนังสือว่า การสนทนาเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การแก้ไขความขัดแย้งทั้งมวลในโลกนี้ได้
“การไม่รู้จักกัน ก่อให้เกิดความกลัว ความระแวง ความเข้าใจผิด เพราะฉะนั้นการสนทนจะทำให้เกิดเข้าใจในความคิดของแต่ละฝ่าย” ดร.สุรินทร์ กล่าวในงานเปิดตัวหนังสือ”อารยธรรมโลก” ผ่านวีดิทัศน์ เมื่อเร็วๆนี้
ดร.สุรินทร์กล่าว่า การสนทนาเรื่องศาสนา เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน ในสมัยปัจจุบันมีศาสนาเปรียบเทียบ ในระดับสูงสุดของศาสนาทั้งหลาย มีโครงสร้างหรือสัจจธรรมเหมือนกัน เพียงแต่เราใช้สัญลักษณ์ มาอธิบายสัจธรรมนั้นต่างกัน แต่คนส่วนใหญ่ จะไปยึดติดกับสัญลักษณ์
“คนส่วนใหญ่จะไปยึดติดกับสัญลักษณ์ เพราะคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญ คิดว่าเป็นสาระของคำสอน ถ้าไปติดแค่สัญลักษณ์ ไม่มีทางที่จะเข้าใจกันได้” ดร.สุรินทร์กล่าว
ดร.สุรินทร์ ยังกล่าวถึง ปัญหาไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ ว่า สาเหตุที่เกิดความไม่สงบนั้น เพราะขณะนี้เกิดความระแวงกัน ความไม่เข้าใจกันมากขึ้น การปะทะความรุนแรงผิดจากอดีตที่ชาวพุทธ และมุสลิมอยู่ร่วมกันได้ไม่เคยมีปัญหารุนแรงเช่นปัจจุบัน เป็นเรื่องที่ ทุกคนต้องแสวงหาทางออก ซึ่งคณะกรรมการการสมานฉันท์ฯก็กำลังดำเนินการอยู่
ดังนั้นถ้าจะหาข้อยุติก็คงจะต้องไปดูว่าความกดดันมาจากไหน ความรุนแรง และพื้นที่ทางวัฒนาธรรม เขาเห็นว่าถ้าแต่ละฝ่ายเคารพในความแตกต่างทั้งศาสนาและวัฒนธรรม ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ร่วมรับผิดชอบหาทางออกสังคมร่วมกัน
ด้านดร.สมพงษ์ จิตระดับ คณบดี คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าหนังสือ อารยธรรมโลก พุทธ&อิสลาม สนทนาธรรม สานสัมพันธ์สู่ สันติ จะเป็นสะพานเชื่อมให้เกิดความสงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเชื่อว่าไม่ต้องใช้เวลานาน
โดยกระจายหนังสือเล่มนี้ไปยังมหาวิทยาลัยอิสลามที่กำลังจะเกิดขึ้น ห้องสมุดในโรงเรียนต่างๆ และยิ่งมีการขยายความจากหนังสือเล่นนี้ให้ใช้ภาษาเพื่อเข้าใจง่ายขึ้นและทำเป็นหนังสือฉบับย่อ นำไปกระจายทุกหมู่บ้าน เชื่อว่า หนังสือเล่มนี้จะกระตุ้น โน้มน้าวให้เกิดการสนทนาและสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน หนังสือ อารยธรรมโลกโลก พุทธ&อิสลาม สนทนาธรรม สานสัมพันธ์สู่ สันติ ฉบับภาษไทย ขณะนี้ได้วางจำหน่ายตามร้านหนังสือชั้นนำแล้ว
สมาคมสร้างคุณค่าแห่งประเทศไทย เป็นองค์กร พุทธศาสนา ที่มุ่งทำกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและมิตรภาพให้แก่ประชาชน และเสริมสร้างให้สังคมไทยอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขสงบและสันติ
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณปทุมพร ลิ้มรสสุคนธ์
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทร. 02-962-5777--จบ--
- ๒๓ พ.ย. มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และกระทรวงการต่างประเทศ
- ๒๓ พ.ย. กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดงานเปิดตัวแผนปฏิบัติการร่วมภายใต้ยุทธศาสตร์ฟ้าใส และงานสัมมนาแนวทางการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนในภูมิภาคอาเซียน
- ๒๓ พ.ย. ไทยเบฟ สนับสนุน CaForum : Pioneering the Future of ASEAN Green Procurement