กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เร่งหาความปลอดภัยให้พะยูน

อังคาร ๑๕ มิถุนายน ๒๐๐๔ ๐๙:๐๕
กรุงเทพฯ--15 มิ.ย.--กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เร่งหาความปลอดภัยให้พะยูนนายอุดม ปาติยะเสวี รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลแและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ดำเนินโครงการวิจัยร่วมกันในการศึกษาเสียงพะยูน (Acoustic survey of Dugong dugon) ทั้งนี้เพื่อต้องการศึกษาพฤติกรรมของพะยูนจากเสียง และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดการอนุรักษ์พะยูนในประเทศไทยโครงการวิจัยครั้งนี้มีกำหนดการวิจัยประมาณ 5 ปี โดยใช้พื้นที่บริเวณนอกชายฝั่งของ เกาะตะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง และบริเวณอ่าวมะขามป้อม อ.แกลง จ.ระยอง เป็นพื้นที่ทำการวิจัย ซึ่งวิธีการศึกษาวิจัยนั้นแบ่งเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกเป็นการหย่อนไฮโดรโฟนจากเรือวิจัยลงไปใต้น้ำที่ระยะห่างจากฝั่งประมาณ 2-5 ก.ม.โดยไม่ต้องเข้าใกล้ฝูงพะยูน เพื่อดักฟังเสียงแล้วนำมาวิเคราะห์ รวมทั้งอาจมีการใช้เครื่องบินเล็กตรวจสอบจำนวนพะยูนในบริเวณพื้นที่ศึกษาด้วยสำหรับการศึกษาครั้งที่สองจะทำโดยการใช้อุปกรณ์ไฮโดรโฟน และหน่วยความจำที่เรียกรวมๆ ว่า data logger วางไว้ใต้น้ำเป็นจำนวน 10 เครื่อง ในระยะห่างกันเครื่องละประมาณ 100 เมตร โดยวางเป็นแนวตั้งฉากจากชายฝั่งของเกาะตะลิบงบริเวณอ่าวทุ่งจีน เป็นเวลา 10 วัน โดยได้ทำการทดลองไปแล้วเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งสามารถบันทึกเสียงพะยูน และนำเสียงไปวิเคราะห์ที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว คาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือนจึงจะสรุปผลวิเคราะห์เบื้องต้นได้ “โครงการวิจัยการศึกษาเสียงพะยูนครั้งนี้ จะทำให้เราได้รู้ถึงพฤติกรรมของพะยูนมากขึ้นว่ามีการสื่อสารระหว่างกันหรือไม่ แต่ละเพศ วัย มีการเปล่งเสียงต่างกันหรือเปล่า ซึ่งหากแต่ละตัวมีเสียงต่างกันก็อาจนำมาประเมินจำนวนของพะยูนได้
นอกจากนั้นยังสามารถนำมาคำนวณความเร็วของพะยูน และยังสามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ตรวจสอบติดตามพะยูน ตลอดจนตรวจหาพะยูนในเวลากลางคืนได้และที่สำคัญยังสามารถลดอัตราการตาย หรือการติดเครื่องมือประมงได้ โดยอาจมีการประยุกต์เอาไฮโดรโฟนไปติดเครื่องมือประมงชนิดที่มีความเสี่ยงต่อการที่พะยูนจะมาติด ซึ่งหากพะยูนเข้ามาใกล้ชาวประมงก็จะทราบและระมัดระวังในการใช้เครื่องมือ หรืออาจทำระบบอัตโนมัติให้ปิดเครื่องมือเมื่อพะยูนเข้าใกล้ เช่น ปิดปากโป๊ะก่อนที่พะยูนจะเข้าไป รวมทั้งอาจมีการปล่อยเสียงใต้น้ำให้พะยูนตกใจและว่ายเปลี่ยนทิศทางหนีไป
หากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ประสบผลสำเร็จก็จะทำให้สัตว์ทะเลหายากของประเทศไทยที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 200 ตัว ได้รับความปลอดภัยและมีชีวิตรอดขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นอีกมากมาย” นายอุดม กล่าวในที่สุด
ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักส่งเสริมและเผยแพร่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
49 พระราม 6 ซอย 30 ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ 10400 http://www.deqp.go.th.
โทรศัพท์/โทรสาร: 0-2298-5852-3--จบ--
-นท-

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ