กทม. สนับสนุนการใช้จักรยานทางเลือกใหม่แก้ไขปัญหาจราจร

ศุกร์ ๐๙ กรกฎาคม ๒๐๐๔ ๐๙:๕๗
กรุงเทพฯ--9 ก.ค.--กทม.
กทม. สนับสนุนการใช้จักรยานเป็นทางเลือกใหม่ในการแก้ไขปัญหาจราจรเขตชุมชนเมือง เพิ่มทางจักรยานในถนนสายใหม่ ปรับปรุงถนนสายเก่า เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายระบบขนส่งอย่างครบวงจร และช่วยลดพลังงานของชาติในภาวะน้ำมันราคาสูง
เมื่อวานนี้ (8 ก.ค. 47) เวลา 10.00 น. นายชิตชนก เขมาวุฒานนท์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กทม. เปิดประชุมสัมมนา เรื่อง แนวทางพัฒนาการใช้ทางจักรยานในเขตกรุงเทพมหานคร และร่วมเสวนา เรื่อง การใช้จักรยานเพื่อเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะ พร้อมด้วยนายสมศักดิ์ เศรษฐนันท์
รองผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กทม. ณ โรงแรมเดอะทวินทาวเวอร์ โดยการประชุมสัมมนาในครั้งนี้เป็นความร่วมมือของสำนักการจราจรและขนส่ง กทม. กับ สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจถึงแนวทางในการพัฒนาการใช้จักรยานในบริเวณพื้นที่ชุมชน กทม. ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และความต้องการ และเผยแพร่แนวคิดการพัฒนาการใช้ทางจักรยานในกทม. รวมทั้งให้ผู้วางแผนภาครัฐได้ตระหนักถึงการพัฒนาการใช้จักรยานในพื้นที่ชุมชนและร่วมกันพิจารณา แสดงข้อคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาการใช้ทางจักรยานในกทม.
ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กล่าวว่า ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการวางแผนและออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้จักรยาน และทดสอบใช้ในพื้นที่ศึกษา 2 แห่ง คือ พื้นที่ดินแดง และพื้นที่การเคหะธนบุรี พบว่าสามารถใช้แนวทางพัฒนาการใช้จักรยานที่จัดทำนี้มาวางแผนและออกแบบระบบการใช้จักรยานในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน โดยรูปแบบทางจักรยานที่ศึกษามี 4 รูปแบบ คือ การใช้จักรยานในตรอกซอย การใช้ทางเฉพาะจักรยาน การใช้จักรยานบนทางเท้า และการใช้จักรยานบนถนน ซึ่งทั้ง 4 รูปแบบจะมีลักษณะที่ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้ 1.จัดตามความปลอดภัยในการใช้จักรยานบนทางประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะจักรยานจะมีความปลอดภัยที่สุด รองลงมาได้แก่ทางจักรยานบนทางเท้า และทางจักรยานบนถนนเป็นลำดับสุดท้าย 2.จัดตามขนาดความกว้างของหน้าตัดทาง ที่จำเป็น ในการออกแบบโดยทางเฉพาะจักรยานจะใช้ความกว้างมากที่สุด รองลงมาได้แก่ทางจักรยานบนทางเท้าและทางจักรยาน บนถนนเป็นลำดับสุดท้าย
รองผู้อำนวยการสำนักผังเมือง กล่าวด้วยว่า สำนักผังเมืองได้วางแนวทางพัฒนาการใช้ทางจักรยานในเขตพื้นที่ กทม. ไว้เรียบร้อยแล้ว โดยในเบื้องต้นจะจัดทำเส้นทางสำหรับจักรยานในถนนทุกสายที่สร้างใหม่และเพิ่มเติมเส้นทางจักรยานในถนนที่มีอยู่แล้ว โดยถนนสร้างใหม่จะทำทางจักรยานบนผิวถนนช่องซ้ายสุด มีความกว้างประมาณ 2.50 เมตร ส่วนเส้นทางรถจักรยานสำหรับถนนเก่าจะพิจารณาให้สร้างบนทางเท้าก่อนถ้ามีเนื้อที่มากพอ แต่ถ้ามีไม่มากพอก็จะสร้างบนผิวถนนต่อไป
ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง กล่าวเพิ่มเติมว่า จากแนวคิดในเรื่องการพัฒนาแบบยั่งยืนที่กล่าวถึงกันอย่าง แพร่หลายในปัจจุบัน ส่งผลให้มีการพัฒนาทางด้านการขนส่ง ดังจะเห็นได้จากกระแสการสนับสนุนให้มีการเดินทางแบบไม่ใช้ เครื่องยนต์มากขึ้น ซึ่งหมายถึงการเดินทางด้วยเท้าและการใช้จักรยาน สำหรับกทม.ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการใช้จักรยานเพื่อการเดินทางเป็นอย่างมาก อีกทั้งการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของระบบขนส่งสาธารณะ การใช้จักรยานจึงเป็นทางเลือกที่มุ่งให้การเดินทางเชื่อมต่อจากพื้นที่ที่อยู่อาศัยไปยังสถานีรถสาธาณะต้นทาง และเชื่อมต่อจากสถานีรถสาธารณะปลายทางถึงจุดหมาย เพื่อเป็นการช่วยลดปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อม และช่วยส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีอีกด้วย
นายชิตชนก กล่าวในที่สุดว่า การที่จะให้ประชาชนหันมาให้ความสนใจการเดินทางในรูปแบบจักรยานเพิ่มมากขึ้น คงต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์ และขอความร่วมมือจาก ฝ่ายโยธา ฝ่ายพัฒนาชุมชน และสภาวัฒนธรรมของแต่ละเขตช่วยทำความเข้าใจกับประชาชนในแต่ละชุมชนให้สนับสนุนโครงการดังกล่าว ถ้าในเบื้องต้นทุกเขตสร้างทางจักรยานเขตละ 2 เส้นทาง เป็นระยะทางสั้น ๆ เมื่อรวมแล้วกทม. จะมีเส้นทางจักรยานที่ประมาณ 100 เส้นทาง จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรได้เป็นอย่างดี--จบ--
--อินโฟเควสท์ (นห)--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕:๒๖ ขั้นตอนการขอสินเชื่อบุคคลยังไงให้อนุมัติไว ได้เงินด่วนใช้ทันใจ
๑๔:๔๗ FPI คว้าคะแนน CGR ระดับ 5 ดาว ดีเลิศ 5 ปีซ้อน
๑๔:๕๙ ประโยชน์ของ การทานอาหารเช้า ที่หลายคนคาดไม่ถึง นิวทริไลท์ กระตุ้นคนไทยใส่ใจสุขภาพ สู่ชีวิตบั้นปลายที่มีคุณภาพห่างไกลโรค
๑๔:๓๖ ฮีโร่ (Hero) มอบถุงขยะครบ 1 ล้านใบ ตอกย้ำความมุ่งมั่นช่วยเหลือสังคมไทย
๑๔:๐๓ ทีทีบี ชวนออมโค้งสุดท้ายของปี กับบัญชี ทีทีบี เงินฝากประจำพลัส 7 เดือน ล็อกดอกเบี้ยสูง 1.85% ต่อปี เพื่อต่อยอดความมั่งคั่งพร้อมรับของขวัญสุดพิเศษ
๑๔:๕๑ AF คว้า CGR 5 ดาว 5 ปีซ้อน ตอกย้ำองค์กรกำกับดูแลกิจการระดับ ดีเลิศ
๑๔:๓๕ INSET สุดสตรอง! Q3/67 โชว์รายได้ 767 ลบ. พุ่ง 160 % ลงทุนซื้อหุ้นเจริญปลูกสัดส่วน 30% พัฒนาแอปฯ บนมาร์เก็ตเพลส พร้อมลุยประมูลงาน DC ระดับ Hyperscale
๑๔:๐๘ TFM โชว์กำไร 9 เดือนแรก 384 ล้านบาท โต 430% ทำจุดสูงสุดต่อเนื่อง ตอบรับการคุมต้นทุนดี พร้อมเดินหน้ากลยุทธ์ขยายตลาดในต่างประเทศ
๑๔:๓๙ ไทยพาณิชย์ ตอกย้ำผู้นำดิจิทัลแบงก์กิ้ง โชว์ความสำเร็จบริการ Digital Wealth เติบโตขึ้นกว่า 20% พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่ AI-First Bank
๑๓:๑๒ GIFT คว้าคะแนน CGR 4 ดาว ระดับ 'ดีมาก' พ่วง AGM เต็ม 100 คะแนน