ธ.ไทยพาณิชย์ ประกาศผลประกอบการและฐานะการเงินไตรมาสสองของปี 2547 ก่อนการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอิสระ

อังคาร ๒๐ กรกฎาคม ๒๐๐๔ ๑๑:๑๔
กรุงเทพฯ--20 ก.ค.--ธ.ไทยพาณิชย์
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ประกาศผลประกอบการและฐานะการเงินไตรมาสสองของปี 2547
ก่อนการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอิสระ
ธนาคารไทยพาณิชย์ แจ้งผลประกอบการเบื้องต้นสำหรับงวดครึ่งปีแรกของปี 2547 ก่อนการตรวจสอบโดย
ผู้สอบบัญชีอิสระ ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 11,727 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบกับกำไรสุทธิ 5,971 ล้านบาท
ในงวดครึ่งปีแรกของปีก่อนเนื่องจากในครึ่งแรกของปีนี้ ธนาคารมีกำไรจากเงินลงทุนรวม 5,674 ล้านบาท โดยเป็นการขายหุ้น
บางส่วนในกิจการที่ไม่เกี่ยวกับธุรกิจการเงิน
สำหรับไตรมาสสองของปี 2547 ธนาคารมีกำไรสุทธิ 4,869 ล้านบาท ลดลงจากกำไรสุทธิ 6,858 ล้านบาท
ในไตรมาส 1/2547 เนื่องจากกำไรจากเงินลงทุนลดลงจากไตรมาสก่อน และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน กำไรสุทธิ
เพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 2,895 ล้านบาทในไตรมาส 2/2546
คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม กรรมการผู้จัดการใหญ่ กล่าวว่า "ผลประกอบการจากธุรกิจหลักในไตรมาสสอง
อยู่ในเกณฑ์ที่ดีและสอดคล้องกับนโยบายการเน้นการเจริญเติบโตภายหลังจากที่ธนาคารได้วางรากฐานผ่านโครงการปรับปรุง
ธนาคารที่ดำเนินการต่อเนื่องมากว่า 2 ปี โดยในครึ่งปีแรกธนาคารสามารถขยายสินเชื่อได้สูงถึง 55,052 ล้านบาทหรือ
ร้อยละ 10.9 ธนาคารยังคงรักษาระดับรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิในระดับที่คงที่สม่ำเสมอ
ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการอื่นๆ เพิ่มขึ้นได้ดีเป็นไปตามเป้าหมาย"
ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ได้กล่าวถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลังว่า
"ธนาคารจะดำเนินนโยบายมุ่งเน้นการเจริญเติบโตที่มีคุณภาพ ทั้งในธุรกิจหลักของธนาคาร และกลุ่มธุรกิจการเงิน
ไทยพาณิชย์ตามกลยุทธ์การเป็นสถาบันการเงินที่ครบวงจร"
รายละเอียดผลประกอบการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1. รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ
ธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิจากดอกเบี้ยจ่ายในไตรมาสนี้ จำนวน 4,914 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
169 ล้านบาท และ 290 ล้านบาทเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาส 2/2546 ตามลำดับ
ดอกเบี้ยรับจากเงินให้สินเชื่อปรับตัวดีขึ้น 618 ล้านบาทจากไตรมาสก่อนเนื่องมาจากการขยายตัวของสินเชื่อมากขึ้น
ประกอบกับดอกเบี้ยรับจากการปรับโครงสร้างหนี้พิเศษประมาณ 140 ล้านบาท
ดอกเบี้ยและเงินปันผลรับจากเงินลงทุนลดลงจากไตรมาสก่อนเป็นผลส่วนใหญ่จากการบันทึกเงินปันผลรับจากกองทุน
วายุภักษ์ในไตรมาสก่อน
รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลที่ปรับตัวดีขึ้นขณะที่ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดลงเล็กน้อยทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ
(Net Interest Margin) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.53 ในไตรมาสก่อน เป็นร้อยละ 2.60 ในไตรมาสนี้
(ล้านบาท)
ไตรมาส ไตรมาส % qoq ไตรมาส % yoy
2/47 1/47 2/46
รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผล 6,423 6,262 2.6 7,053 -8.9
- เงินให้สินเชื่อ 5,226 4,609 13.4 5,521 -5.3
- รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน 208 259 -19.6 296 -29.7
- เงินลงทุน 988 1,395 -29.2 1,235 -20.0
ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย 1,509 1,518 -0.6 2,428 -37.9
รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ 4,914 4,745 3.6 4,624 6.3
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ* 2.60% 2.53% 2.60%
*คำนวณโดยเฉลี่ยยอดคงค้าง ณ สิ้นไตรมาส
2. รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย
รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่มาจากธุรกิจหลักของธนาคารในไตรมาส 2/2547 มีจำนวน 2,251 ล้านบาท
ลดลง 107 ล้านบาทจากไตรมาสก่อน เนื่องจากกำไรจากการปริวรรตลดลง 211 ล้านบาทจากการปรับปรุงรายการ
ทางบัญชีและในไตรมาสก่อนมีรายได้พิเศษจำนวนหนึ่ง ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้น 57 ล้านบาท
จากการขยายตัวของธุรกิจสินเชื่อทำให้รายได้จากการรับรอง รับอาวัลและค้ำประกันเพิ่มขึ้น ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียม
และบริการใหม่อื่นๆจากธุรกิจบัตร bancassurance และ cash management ยังอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง
(ล้านบาท)
ไตรมาส ไตรมาส % qoq ไตรมาส % yoy
2/47 1/47 2/46
ค่าธรรมเนียมและบริการ 1,863 1,806 3.2 1,382 34.8
- การรับรอง รับอาวัล และค้ำประกัน 223 162 37.1 146 53.0
- อื่นๆ 1,640 1,644 -0.2 1,236 32.7
กำไรจากการปริวรรต 323 534 -39.6 466 -30.8
รายได้อื่น 65 18 267.3 13 383.7
รวมรายได้จากธุรกิจหลัก 2,251 2,358 -4.5 1,861 21.0
กำไรจากเงินลงทุน 2,039 3,635 -43.9 76 2,579.7
ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อย/ร่วม 110 525 -79.0 235 -52.9
รวมรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย 4,400 6,518 -32.5 2,172 102.6
ในไตรมาสนี้ กำไรจากเงินลงทุนลดลงจาก 3,635 ล้านบาทในไตรมาสก่อนเป็น 2,039 ล้านบาท
เนื่องจากมีการขายหุ้นน้อยลง โดยในไตรมาสนี้ ธนาคารยังคงดำเนินการขายหุ้นในบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
การเงินออกไป นอกจากนี้ ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อย/ร่วมลดลง 415 ล้านบาทจากไตรมาสก่อนเป็น 110 ล้านบาท
เนื่องจากการตั้งค่าใช้จ่ายค้างจ่ายของบริษัทย่อยแห่งหนึ่งและเป็นไปตามภาวะตลาดหลักทรัพย์
โดยรวมแล้ว ธนาคารมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในไตรมาสนี้จำนวน 4,400 ล้านบาท ลดลง 2,118 ล้านบาท
จากไตรมาสก่อนซึ่งมีจำนวน 6,518 ล้านบาท และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
2,228 ล้านบาท จากกำไรจากเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้น 1,963 ล้านบาท และรายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการเพิ่มขึ้น 481
ล้านบาท ในขณะที่กำไรจากการปริวรรตลดลง 143 ล้านบาท และส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อย/ร่วมลดลง 125 ล้านบาท
3. ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย
ธนาคารมีค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยในไตรมาสนี้ จำนวน 3,844 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39 ล้านบาทจาก 3,805
ล้านบาทในไตรมาสก่อน โดยมีรายละเอียดดังนี้
(ล้านบาท)
ไตรมาส ไตรมาส % qoq ไตรมาส % yoy
2/47 1/47 2/46
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน 1,225 1,427 -14.2 1,069 14.5
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่และอุปกรณ์ 917 741 23.8 707 29.7
ค่าภาษีอากร 283 270 4.7 284 -0.5
ค่าธรรมเนียมและบริการ 354 433 -18.3 402 -12.0
ค่าตอบแทนกรรมการ 39 10 291.1 10 291.9
เงินสบทบกองทุนเพื่อการฟื้นฟู 614 614 0 581 5.6
ค่าใช้จ่ายอื่น 412 310 32.8 248 66.6
รวมค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย 3,844 3,805 1.0 3,301 16.4
อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงาน 53.6% 53.6% 50.0%
- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานลดลง 202 ล้านบาทเป็น 1,225 ล้านบาทเนื่องจากในงวดก่อนมีการบันทึก
โบนัสพิเศษให้พนักงาน ขณะเดียวกันในงวดนี้มีการโอนพนักงานจากการยุบบริษัทย่อยที่ดำเนินธุรกิจบัตรเครดิตและธุรกิจ
ด้านเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งของธนาคาร ทำให้ค่าใช้จ่ายพนักงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
- ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่และอุปกรณ์เพิ่มขึ้น 176 ล้านบาทหรือร้อยละ 23.8 เป็นผลส่วนใหญ่
จากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปรับปรุงตกแต่งสาขาทั่วประเทศของธนาคาร รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านระบบงาน
- ค่าภาษีอากรเพิ่มขึ้น 13 ล้านบาทเป็น 283 ล้านบาท
- ค่าธรรมเนียมและบริการลดลง 79 ล้านบาทเนื่องจากการยุบบริษัทย่อยที่ดำเนินธุรกิจบัตรเครดิตมาเป็น
ส่วนหนึ่งของธนาคาร ทำให้ไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้
- ค่าตอบแทนกรรมการเพิ่มขึ้นจาก 10 ล้านบาทเป็น 39 ล้านบาทเนื่องจากมีการจ่ายโบนัสให้กรรมการ
ตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
- ค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มขึ้น 102 ล้านบาทเป็น 412 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการตลาด
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2546 ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 543 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลัก
จากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคาร สถานที่และอุปกรณ์เพิ่มขึ้น 210 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานเพิ่มขึ้น 156 ล้านบาท
และค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มขึ้น 164 ล้านบาท
แม้ว่าค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นดังกล่าวข้างต้น แต่รายได้ก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้
จากการดำเนินงาน (Operating cost to income ratio) คงที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 53.6 แต่เพิ่มขึ้น
จากร้อยละ 50.0 ในไตรมาส 2 ของปี 2546
4. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
ในไตรมาส 2/2547 ธนาคารตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 600 ล้านบาท ซึ่งเป็นการตั้งสำรองเป็นการทั่วไป
(General reserve) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2547 ธนาคารมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 71,312 ล้านบาท และมีอัตราส่วน
สำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพร้อยละ 83.6
(ยังมีต่อ)
--อินโฟเควสท์ (นห)--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ