เลแมน บราเดอร์ส เผยรายงานล่าสุด ระบบพยากรณ์แนวโน้มการเกิดวิกฤติทางการเงิน

ศุกร์ ๓๐ กรกฎาคม ๒๐๐๔ ๑๕:๓๑
กรุงเทพฯ--30 ก.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน—มาร์สเตลเลอร์
ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกยังคงควบคุมได้ดีแต่ช่วงเวลาแห่งการทดสอบยังรออยู่ข้างหน้า
เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลก เปิดเผยรายงานระบบพยากรณ์วิกฤติทางการเงินล่วงหน้า
“เดมอกคลี่ส์” (Damocles) ประจำไตรมาส 3 ปี 2547 ซึ่งเป็นระบบที่ใช้วัดและประเมินความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของตลาดเกิด
ใหม่ (emerging market economies) ที่มีแนวโน้มจะประสบภาวะวิกฤติทางการเงินใน 17 ประเทศ ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าว
บ่งชี้ว่าความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกยังคงควบคุมได้ดี
โดยในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ไทย อินโดนีเซีย โปแลนด์ และเม็กซิโก มีค่าความเสี่ยงต่ำสุดเท่ากับศูนย์คะแนน
ขณะที่อาร์เจนตินา มีค่าความเสี่ยงสูงสุดเท่ากับ 49 คะแนน ทั้งนี้ไม่มีประเทศใดในกลุ่มมีความเสี่ยงเกินกว่า 75 คะแนน ซึ่งหาก
มีคะแนนเกินระดับดังกล่าว แสดงว่าประเทศนั้นมีโอกาสหนึ่งในสามที่อาจเกิดวิกฤติทางการเงิน ภายใน 12 เดือนข้างหน้า ขณะที่
ประเทศที่มีคะแนนในระดับต่ำแสดงว่า ประเทศนั้นมีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดวิกฤติทางการเงิน
สำหรับภูมิภาคเอเชียโดยรวม ประเทศต่างๆ รวม 9 ประเทศ มีค่าความเสี่ยงโดยเฉลี่ยเท่ากับ 13 สะท้อนว่าภูมิภาค
เอเชียมีความเสี่ยงโดยเฉลี่ยต่ำกว่าประเทศในภูมิภาคละตินอเมริกาและยุโรปตะวันออก ขณะที่มีปริมาณเงินทุนสำรองเงินตราต่าง
ประเทศสูง ซึ่งเป็นเสมือนกันชนป้องกันการไหลออกของเงินทุนอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศต่างๆ ในเอเชียยกเว้น
ญี่ปุ่น มีปริมาณเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นเกือบ 1 เท่านับตั้งแต่สิ้นปี 2543 เป็นต้นมา
ช่วงเวลาแห่งการทดสอบ
เลแมน บราเดอร์ส ระบุว่า ช่วงเวลาแห่งการทดสอบยังคงรออยู่ข้างหน้า ซึ่งประเทศตลาดเกิดใหม่ทุกประเทศยังคง
ต้องเผชิญความวิตกอย่างน้อยที่สุด 1 เรื่อง คือ ภัยก่อการร้าย สำหรับความวิตกเรื่องอื่นๆ ประกอบด้วย ปัญหาทางการเมืองและ
ปัญหาเกี่ยวกับระบบธรรมาภิบาล ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ระบบเดมอกคลี่ส์ อาจประเมินแนวโน้มการเกิดวิกฤติที่ต่ำกว่าความเป็นจริง
และเมื่อพิจารณาการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกขณะนี้ ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐ
กิจในประเทศตลาดเกิดใหม่มากขึ้น นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ ได้แก่ ปัญหาต่างๆ ที่เคลื่อนย้ายจากประเทศอุต
สาหกรรมไปยังประเทศกำลังพัฒนา อาทิ ความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจระดับมหภาคในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น การขาดดุลบัญชีเดินสะ
พัดและการขาดดุลทางการเงินในสหรัฐอเมริกา ตลอดจน การขยายตัวมากเกินไปของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในหลายประเทศ ซึ่งอาจ
ส่งผลให้เกิดผลเสียตามมา
สำหรับปริมาณเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอันมหาศาลของภูมิภาคเอเชียทำให้เอเชียมีสถานภาพที่แข็งแกร่งเพียงพอ
ที่จะรับมือกับความเสี่ยงจากภายนอกได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม เอเชียยังคงต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการแทรกแซงอัตราแลก
เปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง ผนวกกับนโยบายทางการเงินที่ ผ่อนคลายของแต่ละประเทศ อาจจะทำให้ประ
เทศอื่นๆ ในเอเชียมีสภาพเช่นเดียวกับประเทศจีน นั่นคือ มีจุดยืนที่ แข็งแกร่งในตลาดโลก โดยขณะเดียวกันก็ประสบปัญหาภายในประ
เทศเพิ่มขึ้น
“ภูมิภาคเอเชียจำเป็นต้องเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับแรงท้าทายภายในประเทศที่เกิดจากการรักษาค่าเงินสกุลเอเชียให้
อ่อนตัวเกินจริงเป็นระยะเวลายาวนาน” นายร็อบ ซับบาราแมน นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของเลแมน บราเดอร์ส และหนึ่งในผู้เรียบ
เรียงรายงานฉบับนี้ กล่าว
ไทย
การที่ระบบเดมอกคลี่ส์ให้ค่าความเสี่ยงสำหรับประเทศไทยประจำเดือนมิถุนายน 2547 เท่ากับศูนย์ เป็นสิ่งที่ตอกย้ำให้
เห็นถึงสถานภาพอันแข็งแกร่งของไทยในตลาดโลก ทั้งยังบ่งชี้ว่า ไทยมีสถานะทางการเงินที่ดีขึ้น โดยเป็นประเทศหนึ่งในเอเชียที่มี
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วที่สุด
ความท้าทาย
แม้ว่าไทยจะมีความเสี่ยงต่อปัจจัยภายนอกในระดับต่ำ แต่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะเสี่ยงต่อการเติบโตเร็วเกินไปเช่น
เดียวกับเศรษฐกิจของจีน
“เมื่อพิจารณาถึงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ติดลบ จะพบว่า ไทยมีความเสี่ยงด้านการปล่อยสินเชื่อที่ไม่ตรงกับ ความต้องการ
ที่แท้จริง ขณะที่ภาคธุรกิจการเงินและภาคธุรกิจอื่นๆ ของไทยยังคงไม่มีความแข็งแกร่งและมั่นคงนัก” นายร็อบกล่าวเพิ่มเติม
ผลสรุปการพยากรณ์วิกฤติทางการเงินสำหรับภูมิภาคเอเชีย
ตารางต่อไปนี้ เป็นผลสรุปการพยากรณ์วิกฤติทางการเงิน "เดมอกคลี่ส์" สำหรับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย
พร้อมด้วยปัจจัยที่ควรระวังที่อาจมีผลกระทบในอนาคตได้
ประเทศ คะแนนล่าสุด คะแนน ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการประเมินในอนาคตและข้อควรระวัง
(มิ.ย.2547) (มี.ค.2547)
จีน 24 24 การตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
ฮ่องกง 26 10 การขาดดุลงบประมาณ/ปัจจัยทางการเมือง/อัตราการว่างงานที่สูง
อินโดนีเซีย 0 0 ระบบการพิจารณาคดีที่ไร้ประสิทธิภาพ/ การขาดแคลนเงินลงทุน/ ปัจจัยทางการเมือง
เกาหลีใต้ 10 10 ความต้องการภายในประเทศที่อ่อนตัวลง/ธุรกิจขนาดกลางและเล็ก
มาเลเซีย 10 10 การขาดแคลนทรัพยากรบุคคล /ปัจจัยทางการเมือง
ฟิลิปปินส์ 11 11 หนี้สาธารณะ/ภาคธุรกิจการเงิน/ปริมาณเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศต่ำ
สิงคโปร์ 10 24 แรงกดดันจากการแข่งขัน
ไต้หวัน 24 24 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับจีน
ไทย 0 0 การปล่อยสินเชื่อที่ไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริง
สำหรับสำเนารายงานเรื่อง "ระบบเดมอกคลี่ส์ : ช่วงเวลาแห่งการทดสอบในอนาคต" พร้อมนำออกเผยแพร่แก่
สื่อมวลชน โดยสามารถติดต่อขอรับได้ที่ บริษัท อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ จำกัด โทร. 0 2252 9871 หรืออีเมล์
[email protected]
ระบบ “เดมอกคลี่ส์” (Damocles)
ระบบ “เดมอกคลี่ส์” ประกอบด้วยดัชนีทางการเงินและเศรษฐกิจระดับมหภาค 10 ข้อ ซึ่งผ่านการทดสอบอย่าง รอบ
คอบเพื่อให้มั่นใจว่า การประเมินวิกฤติทางการเงินและการธนาคารมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ ระบบพยากรณ์วิกฤติทางการเงิน
“เดมอกคลี่ส์” ได้นำวิกฤติทางการเงินที่เคยเกิดขึ้นในเอเชีย ยุโรป และละตินอเมริกา มาใช้เป็นแนวทางในการกำหนดค่าและ
ความสำคัญของดัชนีทั้ง 10 ข้อ หากดัชนีทั้ง 10 ข้อมีคะแนนรวมกัน 75 คะแนน หรือสูงกว่านั้น “เดมอกคลี่ส์” จะส่งสัญญาณเตือนว่า
ดุลการชำระเงินของประเทศนั้นๆ มีโอกาสที่จะเกิดวิกฤติได้ และหากคะแนนรวมกันมากกว่า 100 คะแนน หมายความว่า วิกฤติ
สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ระบบเดมอกคลี่ส์ มีดัชนีชี้วัด 10 ข้อ คือ 1) เงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ/การนำเข้า (foreign reserve/
imports) 2) เงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ/หนี้ต่างประเทศระยะสั้น (foreign reserves/short-term external
debt) 3)หนี้ต่างประเทศซึ่งคิดเป็นร้อยละของจีดีพี (external debt as a percentage of GDP) 4) หนี้ต่างประเทศระยะ
สั้นคิดเป็นร้อยละของการส่งออก (short-term external debt as a percentage of exports) 5) ดุลบัญชีเดินสะพัดคิด
เป็นร้อยละของจีดีพี (current account as a percentage of GDP) 6) ปริมาณเงิน/เงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ
(broad money/foreign reserves) 7) สินเชื่อภาคเอกชนในประเทศคิดเป็นร้อยละของจีดีพี (domestic private credit
as a percentage of GDP) 8) อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่แท้จริง (real short-term interest rate) 9) ดัชนีตลาดหลัก
ทรัพย์ (stock market index) และ 10) อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง ถ่วงน้ำหนักด้วยดุลการค้า (real trade-weighted
exchange rate)
เลแมน บราเดอร์ส (ตัวย่อในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ค: LEH) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2393 เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในธุรกิจ
การเงินของโลก โดยเป็นผู้ให้บริการด้านการเงินแก่บริษัทเอกชน รัฐบาล และองค์กรของรัฐ ตลอดจนกลุ่มลูกค้าประเภทสถาบันและป
ระเภทบุคคลชั้นนำทั่วโลก เลแมน บราเดอร์ส ยังเป็นผู้นำในด้านการขายหุ้นทุนและตราสารหนี้ การซื้อขายและวิเคราะห์หลักทรัพย์
การเป็นที่ปรึกษาด้านการลงทุน การให้บริการปรึกษาเพื่อร่วมทุน และ การให้บริการลูกค้าส่วนบุคคลระดับสูง เลแมน บราเดอร์ส
มีสำนักงานใหญ่ในนิวยอร์ก ลอนดอน และโตเกียว และมีการดำเนินงานในรูปแบบของเครือข่ายสำนักงานซึ่งมีอยู่ทั่วโลก สำหรับ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลแมน บราเดอร์ส สามารถเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของบริษัทได้ที่ www.lehman.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
อาซิแอม เบอร์สัน—มาร์สเตลเลอร์
วราพร สมบูรณ์วรรณะ
สาธิดา ศรีธัญญาธรณ์
โทร 0 2252 9871--จบ--
--อินโฟเควสท์ (นท)--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ