เอกรัฐวิศวกรรมเตรียมแต่งตัวเข้าตลาด หลังผ่านฉลุยกระบวนการฟื้นฟูกิจการ พร้อมขยายกิจการใหม่ หันจับ ธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์

จันทร์ ๑๓ กันยายน ๒๐๐๔ ๑๑:๐๒
กรุงเทพฯ--13 ก.ย.--คิง พาวเวอร์
นายจุลจิตต์ บุณยเกตุ ประธานกรรมการ บมจ. เอกรัฐวิศวกรรม เปิดเผยภายหลังการลงนามในสัญญากู้ยืมเงินระยะยาว จำนวน 330 ล้านบาทและวงเงินสำหรับการดำเนินธุรกิจอีกกว่า 287.5 ล้านบาท จาก บมจ. ธนาคารนครหลวงไทย เพื่อเสริมสภาพคล่องและเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานของกิจการว่า หลังจากที่บริษัทฯ ได้ประสบกับภาวะวิกฤติทางการเงินเมื่อปี 2540 ก็ได้เริ่มปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินภายใต้คณะกรรมการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (CDRAC) ของธนาคารแห่งประเทศไทย มาตั้งแต่ปี 2542 และเมื่อปลายปี 2546 ได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ โดยการจัดหานักลงทุนมาซื้อหนี้จากเจ้าหนี้สถาบันการเงิน เพื่อให้ภาระหนี้ของบริษัทฯ อยู่ในระดับที่สามารถชำระคืนได้ ส่งผลให้ในปัจจุบัน บริษัท วี แอนด์ เอ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นนักลงทุนรายดังกล่าว ได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และในเร็ว ๆ นี้ บริษัทฯ มีแผนจะนำเสนอขายหุ้นแก่หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เฉพาะราย (STRATEGIC PARTNER) เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและจากนั้นจึงจะนำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในช่วงปลายปี 2547
แม้ว่าบริษัท วี แอนด์ เอ โฮลดิ้ง จำกัด จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่การบริหารและจัดการนั้น จะยังคงเป็นทีมผู้บริหารชุดเดิมที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจมาอย่างยาวนาน คือ นายเกียรติพงศ์ น้อยใจบุญ จะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร และดร. วิวัฒน์ แสงเทียน ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ทั้งนี้ผู้แทนจากผู้ถือหุ้นใหญ่ จะเข้าไปเป็นคณะกรรมการบริษัท 4 คนด้วยกันคือ นายจุลจิตต์ บุณยเกตุ, นายมานัส กำเหนิดงาม, นายโอภาส รางชัยกุล และนายสมพงศ์ เอื้ออัชฌาสัย โดยมีนายจุลจิตต์ บุณยเกตุ เป็นประธานกรรมการบริษัท ทั้งนี้คาดว่า ผลประกอบการเป็นกำไรก่อนหักภาษีสำหรับปี 2547 นี้ จะอยู่ที่ประมาณ 120 ล้านบาท
ปัจจุบัน บมจ. เอกรัฐวิศวกรรม มีธุรกิจ 3 ประเภทด้วยกัน คือ การผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าทั้งหม้อแปลงน้ำมันและหม้อแปลงแห้ง มีกำลังการผลิตประมาณ 3,000 เมกะโวลต์แอมแปร์ (MVA) ต่อปี เป็นธุรกิจที่ทำรายได้หลักให้บริษัท คือมากถึง 90% ของรายได้รวม, งานบริการซ่อมและบำรุงรักษาหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์บริการ 10 แห่งกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคและสามารถให้บริการได้ครอบคลุม 76 จังหวัดทั่วประเทศ สายงานนี้ สามารถทำรายได้ให้กับบริษัท 10% ของรายได้รวม และธุรกิจด้านพลังงาน ซึ่งเป็นสายงานธุรกิจใหม่ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2545 โดยเป็นที่ปรึกษาการอนุรักษ์พลังงานและออกแบบติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลส์แสงอาทิตย์ ซึ่งบริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุรกิจดังกล่าวด้วยการผลิตเซลส์เอง ล่าสุด บมจ. เอกรัฐวิศวกรรมได้สัญญาโครงการจ้างเหมาก่อสร้างพร้อมติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลส์แสงอาทิตย์จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มูลค่าโครงการประมาณ 125 ล้านบาท
บมจ. เอกรัฐวิศวกรรม ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2524 ดำเนินธุรกิจการผลิตและจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้าในระบบจำหน่าย (DISTRIBUTION TRANSFORMER) โดยจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ ทั้งในทวีปเอเชีย และตะวันออกกลาง โดยมีลูกค้ารายใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง สำหรับลูกค้าในประเทศนั้น มีทั้งภาครัฐและเอกชน--จบ--
--อินโฟเควสท์ (นท)--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ