สมาคมผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์ ปรับภาพลักษณ์ครั้งใหญ่ ตอกย้ำการวิจัยพร้อมเปิดตัวรางวัล PReMA

พุธ ๒๙ กันยายน ๒๐๐๔ ๑๓:๐๖
กรุงเทพฯ--29 ก.ย.--เบรคธรู พีอาร์
สมาคมผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์ หรือ PPA ปรับโฉมครั้งใหญ่ เป็นสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์” หรือ PReMA ตอกย้ำจุดยืนด้านการวิจัย--เส้นเลือดใหญ่ของการผลิตยานวัตกรรม พร้อมสนับสนุน R&D เต็มที่ ออกสตาร์ทด้วย “การมอบทุนเพื่อการวิจัย” สนับสนุนนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ เพื่อเชิดชูเกียรติและส่งเสริมนักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานยอดเยี่ยม ที่สร้างความก้าวหน้าให้กับวงการวิทยาศาสต์ของประเทศไทย
นายพรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมฯ เปิดเผยว่า สมาคมผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์หรือ PPA ซึ่งเป็นองค์กรตัวแทนของบริษัทผู้วิจัยและพัฒนายานวัตกรรม ที่มีสาขาในประเทศไทย ดำเนินการมานานกว่า 30 ปี ได้เปลี่ยนชื่อและตราสัญลักษณ์ใหม่เป็น “สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์” หรือ PReMA -- Pharmaceutical Research and Manufacturers Association แล้ว นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป
“ที่ผ่านมานั้น สมาคมผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานด้วยดี แต่ยังขาดการประชาสัมพันธ์ในพันธกิจที่สำคัญของสมาคมฯ ทั้งนี้การปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์และแนวทางขององค์กรภายใต้ชื่อ PReMA หรือสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เพื่อดำเนินงานเชิงรุก ในการสื่อสารกับประชาชนและวงการแพทย์ ถึงความมุ่งมั่นของเราต่อการสร้างสรรค์สุขภาพที่ดีให้แก่คนไทยให้เทียบเทียมมาตรฐานของประเทศที่พัฒนาแล้ว”
นายพรวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันการวิจัยและพัฒนามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อประชากรของโลกและในวงการแพทย์และเภสัชกรรมในระดับสากล แม้ว่าจะต้องใช้เงินมหาศาล และมีอัตราความเสี่ยงสูงระหว่างการลงทุนกับผลสำเร็จที่จะค้นพบตัวยาใหม่ แต่บริษัทวิจัยและพัฒนายา มุ่งมั่นเดินหน้าเพื่อสร้างนวัตกรรมยาที่จะพิชิตโรคและรักษาชีวิตของชาวโลกให้ยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
“บริษัทผู้ผลิตยาที่เน้นการวิจัย ยืนอยู่แถวหน้าในการค้นคว้ายาใหม่ที่มีคุณภาพดีกว่ายาตัวเดิม ความมุ่งมั่นของบริษัทเหล่านี้ ส่งผลสะท้อนให้การวิจัยและพัฒนามีความสำคัญมากขึ้นในทางการแพทย์และการสาธารณสุขของโลก” นายพรวิทย์กล่าว
นายพรวิทย์เปิดเผยต่อไปว่า การปรับองค์กรครั้งนี้ สมาคมฯ จะสนับสนุนนักวิทยาศาสตร์ไทย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการวิจัย โดยเฉพาะทางสาขาชีวเวชศาสตร์ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการสร้างองค์ความรู้ใหม่ในทางวิทยาศาสตร์และระบบสุขภาพของประเทศ
“เรามีเจตจำนงที่จะสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และชีวเวชศาสตร์ภายในประเทศ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้แก่นักวิทยาศาสตร์ การวิจัยนั้นเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนายาและระบบสุขภาพที่มีคุณภาพและประสิทธิผลคุ้มค่า ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนคนไทยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตดีขึ้น ส่งผลถึงความก้าวหน้าทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในที่สุด”
เพื่อแสดงให้เห็นชัดถึงเจตนารมณ์นี้ นายพรวิทย์กล่าวว่า สมาคมฯ ได้ก่อตั้ง “ทุนเพื่อการวิจัย PReMA” ขึ้น เพื่อมอบทุนและรางวัลให้แก่นักวิจัยและผู้มีผลงานวิจัยดีเด่น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ การให้ทุนสนับสนุนการวิจัยทางชีวเวชศาสตร์ และรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นของนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่
“ทุนสนับสนุนการวิจัย จะมอบให้แก่นักวิจัยที่เพิ่งเริ่มต้นหรือกำลังดำเนินโครงการวิจัยทางด้านชีวเวชศาสตร์อยู่ สมาคมฯ ได้จัดสรรเงินจำนวน 1,440,000 บาท ทุกปีเป็นเวลา 4 ปี ๆ ละ 6 ทุนๆ ละ 240,000 บาท โดยมอบหมายให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นผู้บริหารจัดการ
ส่วนรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สมาคมฯ ได้ร่วมมือกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ (มูลนิธิ ส.ว.ท.) มอบเงินรางวัลทุนวิจัย ปีละ 400,000 บาท ให้แก่นักวิทยาศาสตร์ หรือผู้อยู่ในวิชาชีพแพทย์ พยาบาลและเภสัชกรรมรุ่นใหม่ ซึ่งมีผลงานวิจัยดีเด่นตามการคัดเลือกของมูลนิธิ ส.ว.ท.
นายพรวิทย์กล่าวในตอนท้ายว่า ทางสมาคม PReMA ยังจะจัดให้มีโครงการการศึกษาส่งเสริมองค์ความรู้อีกมาก เพื่อช่วยผลักดันให้เป้าหมายดังกล่าวข้างต้น บรรลุผลสำเร็จด้วยดี ภายใต้แนวคิดหลักว่า “นวัตกรรมยา เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า"
สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2513 ในชื่อของสมาคมผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์ หรือ PPA ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของบริษัทผู้วิจัยและพัฒนายาระหว่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทย ปัจจุบัน สมาคมฯมีสมาชิกทั้งหมด 43 บริษัท มีพนักงานทำงานรวม 12,000 คน ได้กำหนดมาตรฐานต่างๆ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเภสัชอุตสาหกรรมในระดับสากล รวมถึงส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานในการผลิตยา ตลอดจนการพัฒนาและส่งเสริมการขายเภสัชภัณฑ์ นอกจากนั้นยังให้บริการทางด้านการศึกษาและองค์ความรู้ต่างๆ แก่ผู้อยู่ในวิชาชีพทางการแพทย์ เภสัชกรรม และการพยาบาล ตลอดไปจนถึงบุคลากรสาธารณสุขอื่น ๆ ในฐานะสมาชิกของหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมไทย PReMA ได้ประสานงานและแลกเปลี่ยนมุมมองใหม่ๆ กับหน่วยงานของรัฐบาลและสมาคมการค้าต่าง ๆ ในเรื่องราวและประเด็นที่น่าสนใจ เพื่อแสวงหาหนทางที่ดีที่สุดในการพัฒนาเภสัชอุตสาหกรรม รวมถึงสังคมและเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
ข้อมูลสมาคมฯ โดยสังเขป
สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์
สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี 2513 ในชื่อของสมาคมผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์ หรือ PPA ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นชื่อและตราสัญลักษณ์ใหม่เป็น PReMA หรือ สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2547 ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นตัวแทนและพัฒนาความก้าวหน้าของวงการเภสัชอุตสาหกรรมที่เน้นการวิจัยในประเทศไทย
ปัจจุบัน สมาคมฯ มีสมาชิกทั้งหมด 43 บริษัท มีพนักงานรวมทั้งสิ้นกว่า 12,000 คน สมาชิกเหล่านี้ ถือได้ว่าเป็นผู้นำในการวิจัยและพัฒนา รวมถึง ผลิตและจำหน่ายยาที่มีคุณภาพสูง เพื่อให้ประชาชนมีชีวิตที่ยืนยาว มีสุขภาพที่สมบูรณ์และคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม
พันธกิจหลักของ PReMa คือ ส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ด้วยการเข้าถึงยานวัตกรรมที่ผ่านขบวนการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อทางการแพทย์และระบบสาธารณสุข สมาคมสนับสนุนสิทธิของประชาชนและผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ เภสัชกรรม และพยาบาล ในการเลือกใช้ยาคุณภาพที่สามารถให้ผลการรักษาโรคได้สูงสุด
เพื่อให้บรรลุพันธกิจดังกล่าว สมาชิกสมาคมฯ ได้ผลิตและจำหน่ายเภสัชภัณฑ์ในประเทศไทย อย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล โดยยึดถือหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา หรือ GMP (Good Manufacturing Practices) ซึ่งเป็นหลักประกันสำหรับผู้ป่วย แพทย์ เภสัชกรและผู้จัดจำหน่ายว่า ผลิตภัณฑ์นั้นมีประสิทธิภาพและความปลอดภัย
สมาชิก PReMA ทุกบริษัทยึดมั่นในธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัดในการจำหน่ายเภสัชภัณฑ์ที่ผลิตขึ้น โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แก่วงการแพทย์อย่างมีจริยธรรมและโปร่งใส และดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการให้ข้อมูลที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนในการส่งเสริมการขาย ทั้งนี้เพื่อผลดีด้านสุขภาพและความปลอดภัยของประชาชน
ทั้งนี้ PReMA ได้จัดทำหลักเกณฑ์จริยธรรมทางการตลาด หรือ Code of Ethical Marketing Practices ขึ้นตามข้อบังคับของสมาคม ซึ่งขณะนี้แก้ไขปรับปรุงเป็นครั้งที่ 6 แล้ว และยังได้ผนวกเอา หลักเกณฑ์จริยธรรมทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพต่อร้านค้าเข้าไว้ด้วย เพื่อควบคุมการจำหน่ายยาสามัญ (ยาที่ประชาชนซื้อมารักษาตนเองได้โดยถูกกฎหมาย) หลักเกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้ได้ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์จริยธรรมขององค์การอนามัยโลก --World Health Organization’s (WHO) Ethical Criteria, กฎเกณฑ์ปฏิบัติเพื่อการจำหน่ายเภสัชภัณฑ์ ของสหพันธ์สมาคมผู้ผลิตยานานาชาติ -- IFPMA Code of Marketing Practices for prescription products และกฎเกณฑ์การตลาดสำหรับยาที่ประชาชนสามารถซื้อมารักษาตนเองได้ -- World Self-Medication Industry’s (WSMI) Code of Marketing Practices for OTC productsใ
PReMA ยังส่งเสริมให้สมาชิก ยึดมั่นในการรักษามาตรฐานทางจริยธรรมของการทำธุรกิจ รวมทั้งการดำเนินการพัฒนาผลิตเภสัชภัณฑ์และกิจกรรมส่งเสริมการตลาดซึ่งสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของสหพันธ์สมาคมผู้ผลิตยานานาชาติ และเป็นไปตามกฎหมายไทย
PReMA และกลุ่มบริษัทที่เป็นสมาชิกได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อสังคมเป็นจำนวนมาก โดยบทบาทสำคัญที่สุดคือ การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนายานวัตกรรมต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วยให้ประชาชนในชนบทยากจน มีโอกาสได้รับยามากขึ้น, ทำการวิจัยและพัฒนายาเพื่อต่อสู้กับโรคที่แพร่หลายในประเทศไทย และจัดโปรแกรมให้การศึกษาทางด้านสุขภาพแก่ประชาชน
ยิ่งไปกว่านี้ นับตั้งแต่ก่อตั้ง PReMA ได้บริจาคเงินช่วยเหลือให้แก่องค์กรและโครงการต่างๆ ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น โครงการในพระราชดำริ กาชาด Thai-Muslim Hajji Mission และมหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากนี้ยังได้ให้ความช่วยเหลือแก่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ในด้านทรัพยากรบุคคลและความช่วยเหลือทางเทคนิคด้วย
สมาคมฯ มีบริการต่างๆ มากมาย อาทิ รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลสถิติต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ ระเบียบ การพัฒนาตลาดตลอดจนอุตสาหกรรมที่ทันสมัย พร้อมทั้งเปิดคอร์สอบรมสัมมนาให้แก่สมาชิกและหน่วยงานรัฐบาลทางด้านการพัฒนาทางเทคนิคใหม่ๆ นอกจากนั้นยังจัดประชุมสมาชิก บรรยายและสัมมนาเป็นประจำทุกเดือน ในฐานะสมาชิกของหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมไทย PReMA ได้ประสานงานและแลกเปลี่ยนมุมมองใหม่ๆ กับหน่วยงานของรัฐบาลและสมาคมการค้าต่าง ๆ ในเรื่องราวและประเด็นที่น่าสนใจ ทั้งนี้เพื่อแสวงหาหนทางที่ดีที่สุดในการพัฒนาเภสัชอุตสาหกรรม รวมถึงสังคมและเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
ทุนเพื่อการวิจัย PReMA
การจัดตั้งทุนเพื่อการวิจัย PReMA
สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) ได้จัดตั้งทุนเพื่อการวิจัย PReMA เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นและพันธกิจของสมาคมฯ ในการส่งเสริมการวิจัยในประเทศไทย
PReMA ได้อุทิศตนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีส่วนในการเสริมสร้างสุขภาพพลานามัยและความกินดีอยู่ดีของประชาชนในประเทศไทย โดยผ่านการพัฒนาและคิดค้นยานวัตกรรม ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันนำมาซึ่งความสมบูรณ์พูนสุขทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปด้วยพร้อมๆ กัน
ทุนเพื่อการวิจัย PReMA ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมนักวิทยาศาสตร์ไทย เกิดแรงบันดาลใจในการวิจัย ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากองค์กร 2 แห่งคือ มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
วัตถุประสงค์ของทุนเพื่อการวิจัย
สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) จะมอบทุนเพื่อการวิจัย PReMA เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์หลักดังต่อไปนี้ :
สนับสนุนเงินทุนเพื่อใช้ในโครงการวิจัยและพัฒนาต่าง ๆ ในประเทศไทย ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้แก่การทำงานวิจัยต่าง ๆ
ส่งเสริมการค้นคว้าและพัฒนาตัวยาใหม่ที่ดีกว่า ด้วยการวิจัยทางชีวเวชศาสตร์
ทุนเพื่อการวิจัย PReMA 2548
ทุนเพื่อการวิจัย PReMA มุ่งเน้นหนักการวิจัยทางด้านชีวเวชศาสตร์ (Biomedicine
Science) ด้วยตระหนักดีว่า ความก้าวหน้าทางชีวเวชศาสตร์ และเทคโนโลยี จะนำไปสู่ความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาอันซับซ้อนของมนุษย์ รวมทั้งค้นพบและพัฒนาการรักษาโรคต่างๆ ด้วยยาได้เป็นจำนวนมาก
ทุนเพื่อการวิจัย PReMA จำแนกได้ดังนี้
ทุนสนับสนุนการวิจัย — มอบให้นักวิจัยที่กำลังเสนอโครงการใหม่หรือหรือดำเนินการวิจัยอยู่ในสาขาวิชาชีวเวชศาสตร์
รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ — มอบให้เพื่อประกาศเกียรติคุณนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ที่มีผลงานหรือผลงานวิจัยดีเด่นในทางวิทยาศาสตร์
ปี 2548 จะเป็นปีแรกที่มีการมอบทุน และทุนสนับสนุนการวิจัย PReMA โดยทุนวิจัยจะบริหารจัดการโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มีจำนวนรวม 6 ทุน ส่วนรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ จะมอบให้ภายใต้ความร่วมมือกับมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
ทุนเพื่อการวิจัย PReMA จะเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ผู้ขอรับทุนจะต้องมีสัญชาติไทย ทำโครงการต่าง ๆ ในประเทศไทย รวมถึงต้องทำงานอยู่ในสถาบันหรือองค์กรต่างๆ ภายในประเทศ เช่น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย สถาบันหรือมูลนิธิทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือสถาบันทางวิชาชีพและวิชาการอื่นๆ ที่เหมาะสม
การสมัครเพื่อขอรับทุนเพื่อการวิจัย PReMA
ผู้สมัครจะต้องกรอกใบสมัครของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งสามารถขอรับได้จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ชั้น 14 เอส เอ็ม ทาวเวอร์, 979/17-21 ถนนพหลโยธิน, สามเสนใน, พญาไท กรุงเทพ 10400 โทรศัพท์ 0-2298-0455 โทรสาร 0-2298-0476-77
www.trf.or.th
กำหนดปิดรับสมัครวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 (ไม่รับใบสมัครหลังวันหมดเขต) ทั้งนี้ผู้ขอรับทุน จะทราบผลในภายในเดือนพฤษภาคม 2548
รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่
การคัดเลือกผู้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ดำเนินการโดย มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย คณะวิทยาศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท, ปทุมวัน, กรุงเทพ 10500 โทรศัพท์/โทรสาร 0-2252-7987
รายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์
คุณพรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมฯ
ภญ.พนิดา ปัญญางาม ผู้อำนวยการบริหารสมาคมฯ โทร. 0-2619-0729-32
เสนอข่าวในนาม สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ โดยเบรคธรู พีอาร์
เบรคธรู พีอาร์
คุณรัตนา ปัทมาลัย โทร. 0-2719-6446-8--จบ--
--อินโฟเควสท์ (นท)--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ