กรุงเทพฯ--5 พ.ย.--คอร์ แอนด์ พีค
บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์. ผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์และการบริการด้านการป้องกัน
ไวรัสบนเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต รายงานผลประกอบการประจำไตรมาส
สามของปี 2547 โดยมียอดขายสุทธิ 15,800 ล้านเยน (143 ล้านดอลลาร์ โดยคิดจากอัตราการแลก
เปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2547 ซึ่ง 111 เยนเท่ากับ 1 ดอลลาร์ ), ราย
ได้จากการดำเนินงาน 6,800 เยน (61 ล้านดอลลาร์) และรายได้สุทธิ 4,200 ล้านเยน
(38 ล้านดอลลาร์)
ทั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่า รายได้ในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียว
กันของปีที่แล้ว
ยอดขายสุทธิของผลิตภัณฑ์สำหรับองค์กรธุรกิจเพิ่มขึ้น 28% และคิดเป็นรายได้รวมทั้งไตรมาส
สามถึง 78% ขณะที่ยอดขายสุทธิของผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคคิดเป็น 22% ของรายได้ทั้งไตรมาส
ถ้าแปลงผลประกอบการไตรมาสสามจากเยนญี่ปุ่นเป็นดอลลาร์สหรัฐ* ยอดขายรวมสุทธิเพิ่มขึ้น
36% ยอดขายสุทธิผลิตภัณฑ์สำหรับองค์กรธุรกิจเพิ่มขึ้น 36% และยอดขายสุทธิผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคเพิ่มขึ้น
38%
นายสตีฟ ชาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ และผู้ก่อตั้งเทรนด์ ไมโคร กล่าวว่า
“ไตรมาสนี้ รายได้ของเทรนด์ ไมโคร ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเน็ตเวิร์ก ไวรัสวอลล์
ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อต้นปี ซึ่งเติบโตเกือบ 100% ขณะที่แบรนด์ของเรายังได้รับการยอมรับจากลูกค้า และ
อยู่ในฐานะผู้นำของตลาด”
จากข้อมูลที่ทางบริษัทมีอยู่ในปัจจุบัน ทำให้คาดการณ์ว่า ยอดขายรวมสุทธิของไตรมาสสี่ ซึ่ง
สิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2547 นั้น จะมีมูลค่าทั้งสิ้น 16,000 ล้านเยน (144 ล้านดอลลาร์)
มีรายได้จากการดำเนินงาน และรายได้สุทธิ 6,100 ล้านเยน (55 ล้านดอลลาร์) และ 3,700 ล้านเยน
(33 ล้านดอลลาร์) ตามลำดับ
*ตัวเลขเหล่านี้ คำนวณโดยอิงกับอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์=117.35 เยน สำหรับไตรมาสสาม ปี 2546
และ 1 ดอลลาร์=109.99 เยนสำหรับไตรมาสสามของปี 2547 ซึ่งเป็นอัตราการแลกเปลี่ยนโดยเฉลี่ยที่ใช้
แปลงยอดขายสุทธิจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเยนสำหรับไตรมาสต่างๆตามลำดับ
เหตุการณ์ทางธุรกิจที่สำคัญในไตรมาสสาม
ช่วงไตรมาสสาม จากบทวิเคราะห์ส่วนแบ่งตลาดของไอดีซี (“การคาดการณ์ธุรกิจผลิตภัณฑ์
ต่อต้านไวรัสทั่วโลกระหว่างปี 2547-2554 และส่วนแบ่งตลาดของผู้ผลิตในปี 2546” ไอดีซี, กรกฎาคม
2547) เทรนด์ ไมโคร ได้รับการยอมรับในฐานะผู้นำตลาดซอฟต์แวร์ต่อต้านไวรัสระดับเกตเวย์ติดต่อกันเป็น
ปีที่ 5 ขณะที่การมีส่วนแบ่งในตลาดเครื่องแม่ข่ายอีเมล และเครื่องแม่ข่ายไฟล์มากที่สุด ยังทำให้เทรนด์
ไมโคร กลายเป็นผู้นำในส่วนตลาดผลิตภัณฑ์ต่อต้านไวรัสระดับเครื่องแม่ข่ายด้วย
เทรนด์ ไมโคร ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มดัชนีวัดความมั่นคงดาวโจนส์ (the Dow Jones
Sustainability Indexes) 2004 เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2547 ซึ่งติดตามผลดำเนินการทางการเงิน
ของหลายบริษัททั่วโลกเป็นประจำทุกปี โดยประเมินจากผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจ ความรับผิดชอบต่อ
สังคม และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ เทรนด์ ไมโคร ซึ่งมีมูลค่าแบรนด์ทั้งสิ้นเกือบ 1,000 ล้านดอลลาร์นั้น
ยังได้รับเลือกจากบริษัทอินเตอร์แบรนด์ ให้เป็นบริษัทลำดับแรก ในการจัดแบรนด์ 10 อันดับของไต้หวันเป็น
ปีที่สองติดต่อกัน
ในไตรมาสสามของปี 2547 เทรนด์ ไมโคร ยังได้รับอีกหลายรางวัล อาทิ รางวัลเออาร์ซี
สำหรับ “นวัตกรรมผลิตภัณฑ์”จากนิตยสารวาร์บิสซิเนส , “ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ยอดเยี่ยม” และ”กลยุทธ์ช่อง
ทางการจัดจำหน่ายยอดเยี่ยม”ที่งานประชุมผู้วางระบบวาร์วิชั่น (กันยายน 2547)
เมื่อเร็วๆนี้ เทรนด์ ไมโคร ได้ทำข้อตกลงจัดหาอุปกรณ์เน็ตเวิร์ค ไวรัสวอลล์ให้กับบริษัท
เอ็นทีที คอมมิวนิเคชันส์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น โดยอุปกรณ์ที่ว่านี้ จะติดตั้งและบริหาร
จัดการโดย”ศูนย์ปฏิบัติการรักษาความปลอดภัย” ของบริษัทเอ็นทีที คอมมิวนิเคชันส์ เพื่อให้บริการจัดการ
ความปลอดภัยแก่องค์กรธุรกิจต่างๆ
กลุ่มลูกค้าใหม่ทั้งระดับผู้ใช้ทั่วไป และองค์กรธุรกิจในไตรมาสสาม เป็นสถาบันการศึกษา,
ภาคเทคโนโลยี และพลังงาน ซึ่งประกอบไปด้วย มหาวิทยาปักกิ่ง นอร์มอล,มหาวิทยาลัย ปักกิ่ง ฟอร์ริน
สตัดดีส์ รวมถึงเบลกาคอม บริษัทโทรคมนาคมชั้นนำของเบลเยี่ยม และทีไอ ออโต้โมทีฟ ซัพพลายเออร์ระบบ
เชื้อเพลิง และระบบบรรจุเชื้อเพลิงชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก
ในช่วงไตรมาสสาม เทรนด์ ไมโคร ได้ประกาศว่า ทางบริษัทได้รับการสนับสนุนเทคโนโลยี
เน็ตเวิร์ค แอคเซส โปรเทคชัน จากไมโครซอฟท์ และจะสนับสนุนบริการเซอร์วิส แพค2 สำหรับวินโดว์ส
เอ็กซ์พีของไมโครซอฟท์ด้วยเทรนด์ ไมโคร ออฟฟิศสแกน คอร์เปอเรท อีดิชัน และเทรนด์ ไมโคร
พีซี-ซิลลิน อินเทอร์เน็ต ซีเคียวริตี้ ชุดโปรแกรมสำเร็จรูปเทรนด์ ไมโคร ไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์/เมสเซน
จิงสำหรับเอสเอ็มบี เวอร์ชัน 2.0 ยังได้รับเลือกให้ติดตั้งไว้ในเซิร์ฟเวอร์เอชพี โปรไลแอนท์ที่ใช้ไมโคร
ซอฟท์ วินโดว์ส สมอลล์ บิสซิเนส เซิร์ฟเวอร์ (เอสบีเอส) 2003
ข้อสังเกตในการพิจารณารายงานการเงิน
รายงานการเงิน ที่ทางเทรนด์ ไมโคร จัดทำขึ้นประกอบข่าวประชาสัมพันธ์ในครั้งนี้ เป็นบัญชี
การเงินที่จัดทำขึ้นล่วงหน้า และอิงอยู่กับข้อสมมุติ และความเชื่อในข้อมูลเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่นับรวม
ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่ไม่สามารถคาดเดาได้
สำหรับปัจจัยสำคัญที่อาจเป็นสาเหตุให้ผลประกอบการที่แท้จริงแตกต่างจากรายงานการเงินที่จัด
ทำขึ้นล่วงหน้า ประกอบไปด้วย
1 อุปสรรคในการกำจัดไวรัสสายพันธุ์ใหม่ และปัญหาด้านความปลอดภัยบนคอมพิวเตอร์อื่นๆ
2 การเลือกเวลาที่เหมาะสมเพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ และตลาดไม่ให้การยอมรับสินค้าใหม่
3 ระดับความต้องการที่ต่อเนื่อง และการควบคุมการขายสินค้าที่วางขายอยู่ในปัจจุบัน
4 การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ต่อต้านไวรัส
5 ความต้องการซอฟต์แวร์ต่อต้านไวรัสเปลี่ยนแปลงไป
6 ผลิตภัณฑ์เก่า และการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ของคู่แข่ง และราคาของสินค้าเหล่านี้
7 ราคาบริการและผลิตภัณฑ์ของบริษัทลดลง
8 ผลกระทบจากการเข้าซื้อกิจการในอนาคตที่เกิดขึ้นกับฐานะทางการเงิน และผลการดำเนิน
งานของบริษัท
9 แนวโน้มทางเศรษฐกิจที่ส่งผลร้ายกับตลาดหลักของบริษัท
10การผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศที่กระทบกับผลการดำเนินงานของ
บริษัท
11ลูกค้าส่งคืนสินค้าเป็นจำนวนมาก
12ไม่มีเป้าหมายการลงทุนที่น่าสนใจ
13และอุปสรรคในการบริหารกลยุทธ์การลงทุนให้ประสบความสำเร็จ
ทั้งนี้ ทางบริษัท สมมุติว่าไม่มีภาวะจำเป็นใดๆที่จะ เปลี่ยนแปลงรายงานการเงินได้
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลกับผลประกอบการในอนาคต หาได้จาก
เอกสารที่ทางบริษัทยื่นให้กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ
ข้อมูลเกี่ยวกับ บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์
บริษัท เทรนด์ ไมโคร อิงค์ เป็นผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์และการบริการด้านการป้องกัน
ไวรัสบนเครือข่าย และการรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงโตเกียว
ประเทศญี่ปุ่น และมีหน่วยธุรกิจอยู่ทั่วโลก สำหรับผลิตภัณฑ์ของเทรนด์ ไมโคร ได้จำหน่ายไปยังองค์กรธุรกิจ
ตัวแทนจำหน่ายแบบมูลค่าเพิ่ม และผู้ให้บริการสนใจข้อมูลและชุดทดลองใช้งานผลิตภัณฑ์จากเทรนด์ ไมโคร
ได้ที่ เว็บไซต์ www.trendmicro.com
เทรนด์ ไมโคร, โลโก้ที-บอลล์, ออฟฟิศสแกน, พีซี-ซิลลิน, ไวรัสวอลล์ เป็นเครื่องหมาย
การค้าของเทรนด์ ไมโคร อิงค์. ส่วนชื่อสินค้า หรือบริษัทอื่นๆ เป็นเครื่องหมายการค้า หรือชื่อจดทะเบียน
ของบริษัทนั้นๆ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด
โทร. 0-2439- 4600 ต่อ 8300
อีเมล์ [email protected]
ภาคผนวก
1 ผลการดำเนินงานรวม
ปีงบการเงิน 2547 ปีงบการเงิน 2546
ไตรมาสสาม ผลการดำเนินงาน ไตรมาสสามของปีที่แล้ว ผลการดำเนินงาน
จากวันที่ 1 ก.ค.2547 จากเดือนม.ค. 2547 จากเดือนก.ค.2546 จากเดือนม.ค.2546
ถึงวันที่ 30 ก.ย.2547 ถึงเดือนก.ย.2547 ถึงเดือนก.ย.2546 ถึงเดือนก.ย.2546
ล้านเยน % ล้านเยน % ล้านเยน ล้านเยน
ยอดขายสุทธิ 15,850 27.9 44,314 27.7 12,389 34,699
ต้นทุนในการขาย 675 -13.6 2,577 11.6 781 2,310
กำไรเบื้องต้น 15,175 30.7 41,737 28.9 11,608 32,389
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ 8,380 11.3 23,539 4.7 7,527 22,486
รายได้จากการดำเนินการ 6,795 66.5 18,198 83.8 4,081 9,903
รายได้ (ค่าใช้จ่าย)อื่นๆ 372 598.2 496 356.8 53 109
รายได้สุทธิก่อนหักภาษี 7,167 73.3 18,694 86.7 4,134 10,012
ภาษีรายได้ 3,017 65.9 7,592 72.7 1,818 4,395
เงินทุนจากบริษัทในเครือ 17 -7.6 35 33.3 19 26
รายได้สุทธิ 4,167 78.5 11,137 97.4 2,335 5,643
2 รายละเอียดแยกเป็นส่วน
ยอดขายสุทธิให้กับบริษัทภายนอก
ปีงบการเงิน 2547 ปีงบการเงิน 2546
ไตรมาสสาม ผลการดำเนินงาน ไตรมาสสามของปีที่แล้ว ผลการดำเนินงาน
จากวันที่ 1 ก.ค.2547 จากวันที่ 1 ม.ค. 2547 จากวันที่ 1 ก.ค.2546 จากวันที่ 1 ม.ค.2546
ถึงวันที่ 30 ก.ย.2547 ถึงวันที่ 30 ก.ย.2547 ถึงวันที่ 30 ก.ย.2546 ถึงวันที่ 30 ก.ย.2546
ล้านเยน ล้านเยน ล้านเยน ล้านเยน
ญี่ปุ่น 6,510 18,576 5,163 14,694
อเมริกาเหนือ 3,233 8,575 2,588 7,050
ยุโรป 3,973 11,347 2,978 8,452
เอเชีย แปซิฟิก 1,612 4,434 1,294 3,463
ละติน อเมริกา 522 1,382 366 1,040
ทั้งหมด 15,850 44,314 12,389 34,699
รายได้ที่ได้รับมาแล้วแต่ยังไม่ถือเป็นรายได้
ปีงบการเงิน 2547 ปีงบการเงิน 2546
ณ วันที่ 30 ก.ย.2547 ณ วันที่ 30 ก.ย.2546
ล้านเยน ล้านเยน
ญี่ปุ่น 11,573 8,913
อเมริกาเหนือ 5,565 3,903
ยุโรป 6,268 4,189
เอเชีย แปซิฟิก 1,774 1,247
ละติน อเมริกา 453 304
ทั้งหมดl 25,633 18,556
1.ประเทศ และภูมิภาคแบ่งตามส่วนการดำเนินงานของบริษัท
2. แต่ละส่วนแบ่งได้ดังต่อไปนี้แบ่งเป็นแต่ละส่วนได้ดังนี้
อเมริกาเหนือ/ยุโรปเอเชีย แปซิฟิกละติน
อเมริกา: สหรัฐ
เหนือ: อิตาลี, เยอรมนี, ฝรั่งเศล, อังกฤษ, ไอร์แลนด์
ยุโรป: ไต้หวัน, เกาหลี, ออสเตรเลีย, ฮ่องกง, มาเลเซีย, นิวซีแลนด์, จีน, สิงคโปร์
ละตินอเมริกา: บราซิล, เม็กซิโก
3 หลักฐานการรวมสินทรัพย์ของบริษัทที่มาร่วมควบกิจการ
จำนวนบริษัทสาขาที่รวมสินทรัพย์ 19 (19 สาขาในต่างประเทศ)
จำนวนของบริษัทสาขาที่ยังไม่ได้รวมสินทรัพย -
4 การเพิ่มขึ้น (ลดลง) ของทรัพย์สิน, หนี้ และเงินลงทุนของผู้ถือหุ้น
ณ วันที่ 30 ก.ย.2547 เพิ่มขึ้น(ลดลง) ณ วันที่ 31 ธ.ค.2546
(ทรัพย์สิน) ล้านเยน ล้านเยน ล้านเยน
เงินสด และสินทรัพย์ที่เทียบเท่ากับเงินสด 46,870 151 46,719
ตั๋วเงิน และหนี้พึงเก็บได้ และการค้าขาย 12,800 1,119 11,681
-เงินสำรองจ่ายหนี้สงสัยจะสูญ และยอดการคืนสินค้าน้อยกว่า
หลักทรัพย์ที่ขายได้ และเงินลงทุนซื้อหุ้น/ 22,138 11,260 10,878
(หนี้)
รายได้ที่ได้รับมาแล้วแต่ยังไม่ถือเป็นรายได้ 25,633 5,130 20,503
(ยอดรวมทั้งหมดในปัจจุบัน และระยะยาว)
หนี้ระยะยาว - 6,500 6,500
(รวมกับหนี้ปัจจุบัน)
(เงินลงทุนของผู้ถือหุ้น)
หุ้นสามัญที่บริษัทซื้อคืนมาบางส่วน 7,235 2,818 4,417
เพื่อออกใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ หรือวอร์เรนท์ ให้กับผู้อำนวยการ
และพนักงานของบริษัท และผู้อำนวยการ และพนักงานของบริษัทในเครือ เทรนด์ ไมโคร จึงออกพันธบัตรที่
ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน พร้อมวอร์เรนท์ที่เปลี่ยนมือได้
ตามมาตรา 341-8-4 ก่อนแก้ไขใหม่ของประมวลกฏหมายการค้าของญี่ปุ่น ระบุไว้ว่า
การไถ่ถอน และซื้อคืนพันธบัตร จะทำได้ก็ต่อเมื่อ มูลค่าพันธบัตรทั้งหมด ต่ำกว่ามูลค่าทั้งหมดของราคาพันธบัตร
หุ้นจากวอร์เรนท์ที่ยังไม่ได้แปลง
เพื่อลดค่าใช้จ่ายเรื่องดอกเบี้ย ทางบริษัท ได้ซื้อหุ้นบางส่วนที่แปลงวอร์เรนท์แล้ว จากเหตุผล
ข้างต้น ทางบริษัทมีเจตนาถือครองพันธบัตรรัฐบาล จนหมดอายุตามกฏหมาย ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับการซื้อคืน
ดังนั้น พันธบัตร และพันธบัตรรัฐบาล (10,000 ล้านเยน ณ วันที่ 30 ก.ย. 2547และ 10,000 ล้านเยน
ณ วันที่ 31 ธ.ค.2546 ตามลำดับ) จึงถูกนำมาเปิดเผยในยอดสุทธิในบัญชีงบดุล
5 ตัวเลขคาดการณ์รายได้รวม (US GAAP)
รายได้คาดการณ์ของไตรมาสหน้า (1 ต.ค.2547-31 ธ.ค.2547)
ยอดขายสุทธิ รายได้จากการดำเนินงาน รายได้สุทธิ
ล้านเยน ล้านเยน ล้านเยน
ไตรมาสสี่ 16,000 6,100 3,650
เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของเทรนด์ ไมโคร กรุ๊ป มีแนวโน้มจะเปลี่ยน
แปลงในช่วงสั้นๆ ซึ่งยากจะจัดทำตัวเลขคาดการณ์ที่ถูกต้องได้ ดังนั้น ทางบริษัท ได้ตัดสินใจประกาศรายได้
ลประจำไตรมาสของปีงบการเงินที่จะสิ้นสุดลงในเดือนธ.ค.2547 และตัวเลขรายได้ประเมินของไตรมาส
หลังจากนั้น
หากทางบริษัทพบว่าผลการคำนวณในแต่ละครั้ง ยอดขายสุทธิเปลี่ยนแปลงจากตัวเลขคาดการณ์
ในไตรมาสปัจจุบันมากกว่า 10% หรือรายได้จากการดำเนินงาน หรือรายได้สุทธิเปลี่ยนแปลงมากกว่า 30%
ทางบริษัท จะประกาศตัวเลขคาดการณ์รายได้ใหม่--จบ--
- พ.ย. ๒๕๖๗ เทรนด์ ไมโคร เผยผลวิจัยล่าสุดพบว่าสาเหตุของการละเมิดข้อมูลมาจากพนักงานในองค์กร
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: เทรนด์ ไมโคร จับมือ ซิป้า และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ในโครงการซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ราคาพิเศษสำหรับเอสเอ็มอีไทย
- พ.ย. ๖๑๐๓ ทีที เน็ตเวิร์ค อินทิเกรชั่น เอเชีย จับมือ เทรนด์ ไมโคร นำเสนอบริการตรวจสอบความปลอดภัยให้กับองค์กรธุรกิจของญี่ปุ่นในภูมิภาคเอเชีย