ก.พลังงาน ยันสนับสนุนทุกพื้นที่ เปลี่ยนขยะจากภาระของชาติ สู่พลังงานของประเทศ

พฤหัส ๑๑ พฤศจิกายน ๒๐๐๔ ๑๑:๐๐
กรุงเทพฯ--11 พ.ย.--สนพ.
ก.พลังงาน ยันสนับสนุนทุกพื้นที่ เปลี่ยนขยะจากภาระของชาติ สู่พลังงานของประเทศ ชี้สร้างประโยชน์ต่อประเทศมหาศาล พร้อมหนุนชุมชนประหยัดพลังงาน ปี 48 ตั้งเป้า 100 ชุมชนลดการใช้ 10%
นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
เปิดเผยภายในการเยี่ยมชมโครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และพลังงาน จ.ระยองว่า ปัจจุบันหน่วยงานปกครองท้องถิ่น ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการขยะมูลฝอย จะพบกับปัญหาด้านการจัดเก็บและการกำจัด ซึ่งวิธีการกำจัดขยะส่วนใหญ่ มักจะใช้วิธีเผาหรือฝังกลบโดยที่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งสิ้น และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กระทรวงพลังงานจึงได้สนับสนุนให้ เทศบาลนครระยองที่ได้ทำโครงการนำเทคโนโลยีการคัดแยกขยะมูลฝอย และการนำก๊าซชีวภาพมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า ซึ่งดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่ปี 2544 เป็นโครงการนำร่องในการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน สำหรับเทศบาลจังหวัดทั่วประเทศ โดยที่กระทรวงพลังงานพร้อมจะนำงบประมาณจากกองทุนอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม สนับสนุนในทุก ๆ โครงการฯ ที่นำขยะเหลือใช้มาผลิตเป็นพลังงานในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศต่อไป
ปัจจุบันประเทศไทย ต้องประสบปัญหาจากภาวะการกำจัดขยะ ซึ่งในแต่ละปีประชาชน 1 คนจะก่อให้เกิดขยะสูงถึง 220 กิโลกรัม และประชาชนในประเทศทั้งหมดปัจจุบัน 64 ล้านคน ก็จะก่อให้เกิดปริมาณขยะสูงถึง ปีละ 14.2 ล้านตัน ซึ่งหากมีการนำขยะทั้งหมดดังกล่าว มาผลิตเป็น พลังงาน เพื่อเป็นกระแสไฟฟ้า
จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงถึงเทียบเท่ากับโรงไฟฟ้าขนาด 1100 เมกะวัตต์
สำหรับโครงการของเทศบาลนครระยอง ได้ใช้เทคโนโลยีการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน
เพื่อผลิตเป็นไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 5000 ตันต่อปี รวมทั้งยังเป็นศูนย์สาธิตและเผยแพร่ความรู้การจัดการขยะมูลฝอย และแปรรูปให้เป็นพลังงาน โดยมีผู้เยี่ยมชมโครงการประมาณ 10,000 คนต่อปี
โดยนับได้ว่าเป็นโครงการตัวอย่างที่ดี ที่ได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งเหลือใช้จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด และยังสามารถปรับนำไปใช้กับเทศบาลอื่นๆ ของประเทศไทยได้ซึ่งนอกจากจะได้พลังงานไฟฟ้าแล้วยังไม่มีปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วยหลังจากนั้นเวลา 13.00 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดชุมชนประหยัดพลังงาน ในโครงการบ้านมั่นคง(ด้านพลังงาน) เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐเพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกการประหยัดพลังงาน ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน
แก่ผู้มีรายได้น้อย เพื่อสร้างโอกาสการมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานในชีวิตประจำวัน โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมจากชุมชนในการวางแผนการใช้พลังงานและเทคโนโลยีทางเลือกในท้องถิ่น เพื่อลดการใช้ไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 10 %
โครงการดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างยั่งยืน โดยอาศัยความร่วมมือท้องถิ่นร่วมเป็นแรงขับเคลื่อนพลังงานชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการประยุกต์ใช้พลังงานทดแทน ควบคู่พลังงานหลักและการอนุรักษ์พลังงานในชุมชน โดยมีพื้นที่เป้าหมายที่จะดำเนินการร่วมกันภายในปี 2548 จำนวน 100 ชุมชน และอีก 400 ชุมชนให้แล้วเสร็จภายในปี 2551 หลังจากประสบผลสำเร็จและได้ประโยชน์ตรงตามความต้องการของชาวบ้าน ในชุมชนด้วยโครงการนำร่อง ที่ชุมชนแหลมรุ่งเรือง จ.ระยอง ชุมชนเก้าเส้ง จ.สงขลา และชุมชนบุ่งตกและไผ่สีทอง จ. อุตรดิตถ์
อย่างไรก็ตาม จากการประเมินผลใน 3 โครงการนำร่อง สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ตามเป้าหมาย ที่ชุมชนแหลมรุ่งเรือง สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้มากถึงปีละ 485,794 บาท คิดเป็น 10.32 %
ชุมชนเก้าเส้งสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 432,581 บาท คิดเป็น 11% ชุมชนบุ่งตกและไผ่สีทอง สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 1,443,223 บาท ทำให้เกิดการออมในชุมชนจากการอนุรักษ์พลังงาน และทำให้ชุมชนในท้องถิ่นมีชีวิตที่ดีขึ้น--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ