สรุปบทวิเคราะห์ของ เลแมน บราเดอร์ส “รายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ประจำสัปดาห์”

พฤหัส ๒๕ พฤศจิกายน ๒๐๐๔ ๑๓:๓๘
กรุงเทพฯ--25 พ.ย.--อาซิแอม เบอร์สัน—มาร์สเตลเลอร์
หมดกังวลเรื่องค่าเงินลอยตัว เลแมน บราเดอร์ส ชี้สกุลเงินต่างๆ ในเอเชีย ยกเว้นเงินเยน ที่มีค่าแข็งตัวขึ้น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น
เลแมน บราเดอร์ส บริษัทที่ปรึกษาด้านการลงทุนระดับโลก ชี้ว่า ธนาคารกลางต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียอาจเข้ามาแทรกแซงอัตราการแข็งตัวของค่าเงิน ด้วยเหตุผลที่ว่า สภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียยังคงอ่อนตัว ประกอบกับสถานการณ์ต่างๆ ยังคงไม่แน่นอน อย่างไรก็ดี เลแมน บราเดอร์ส ยังมีทัศนคติที่ดีต่อสถานการณ์ในปีหน้า ทั้งนี้ เลแมน บราเดอร์ส คาดว่า สภาพเศรษฐกิจขาลงของจีนจะเป็นอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป (soft landing) และราคาน้ำมันจะปรับตัวลงเป็นต่ำกว่า 40 เหรียญสหรัฐ ซึ่งปัจจัย เหล่านี้น่าจะเพียงพอต่อการฟื้นตัวของความต้องการภายในประเทศของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ทั้งยังช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายประเทศของประเทศในเอเชียสามารถปรับอัตราแลกเปลี่ยนถ่วงน้ำหนักด้วยดุลการค้า (trade-weighted exchange rates) ให้สูงขึ้น
มุมมองเชิงบวก
เลแมน บราเดอร์ส มีความเห็นว่า การที่ผู้กำหนดนโยบายจะปรับอัตราแลกเปลี่ยนถ่วงน้ำหนักด้วย ดุลการค้าให้สูงขึ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับการขยายตัวของความต้องการภายในประเทศเป็นปัจจัยสำคัญ
เลแมน บราเดอร์ส มองว่า การปรับตัวลงของราคาน้ำมันจะส่งผลต่อการผ่อนคลายนโยบายเชิงมหภาคของประเทศในภูมิภาค ซึ่งจะส่งผลทำให้มีความต้องการภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2548 จากการที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงระยะสั้นโดยเฉลี่ยของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ใน ไตรมาส 3 มีค่าติดลบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2538 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น เลแมน บราเดอร์ส ยังมองว่า เศรษฐกิจในภูมิภาคมีการปรับตัวไปในทางที่ดี ดุลรายจ่ายของภูมิภาคมีความแข็งแกร่ง ภาคการเงินและภาคธุรกิจเอกชนแม้จะยังมีสภาพที่ไม่สมบูรณ์เสียทีเดียว แต่ก็มีความมั่นคงมากขึ้นภายหลังการปฏิรูปเศรษฐกิจในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยระยะยาวอื่นๆ อีกมากที่สนับสนุนการเติบโตของความต้องการภายในประเทศในภูมิภาคเอเชีย อาทิ การขยายตัวของชนชั้นกลาง สินเชื่อในภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น และการขยายตัวของชุมชนเมือง รวมทั้งสัดส่วนของประชากรในวัยทำงานของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) โดยรวมมีอัตราขยายตัวอย่างรวดเร็ว ต่างจากภูมิภาคอื่นๆ ของโลก
เลแมน บราเดอร์ส ยังเห็นว่า ผู้กำหนดนโยบายของประเทศในภูมิภาคเอเชียมักจะกำหนดนโยบายเงินตึงโดยการให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นมากกว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากการที่ค่าเงินอ่อนตัวทำให้เศรษฐกิจของเอเชียต้องพึ่งพิงการส่งออกมากเกินไปซึ่งจะส่งผลให้ประเทศในเอเชียมีความเสี่ยงต่อ การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกรวมถึงการกีดกันทางการค้า เลแมน บราเดอร์ส คาดว่า ผู้กำหนดนโยบายในภูมิภาคเอเชียจะลดปัจจัยความเสี่ยงนี้ลง ด้วยการปรับกลยุทธ์การเติบโตของเศรษฐกิจ โดยการมุ่งสร้างความต้องการภายในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไอเอ็มเอฟสนับสนุนให้ปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลก
เลแมน บราเดอร์ส คาดว่า จะมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วด้านความต้องการภายในประเทศในภูมิภาค เอเชียในปี 2548 แม้ว่าสภาพเศรษฐกิจในปี 2548 ค่อนข้างจะมีความไม่แน่นอน แต่ เลแมน บราเดอร์สยังคงมีทัศนคติที่ดีต่อสถานการณ์ในปีหน้า ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยแรกคือ ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) เป็นสองเท่าของ ผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ราคาน้ำมันเริ่มปรับตัวต่ำลง ปัจจัยเสี่ยงที่สอง คือ การดิ่งตัวของเศรษฐกิจขาลงของจีน อย่างไรก็ดี การที่เศรษฐกิจของจีนมีการชะลอตัวลงทำให้อัตราการเจริญเติบโตมีความสมดุลมากขึ้น ซึ่ง เลแมน บราเดอร์ส มองว่า จะช่วยบรรเทา ผลกระทบของการดิ่งตัวของสภาพเศรษฐกิจ และปัจจัยเสี่ยงที่สาม คือ ความต้องการของตลาดโลกในด้านสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของเอเชียอาจปรับตัวลง อย่างไรก็ดี จากดัชนีเศรษฐกิจที่จัดทำโดย เลแมน บราเดอร์ส ชี้ให้เห็นว่า การส่งออกอาจไม่มีการอ่อนตัวลงมากนัก
เลแมน บราเดอร์ส คาดว่า ความต้องการภายในประเทศของภูมิภาคเอเชียจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วใน ปี2548 ซึ่งจะเป็นการเปิดสัญญาณไฟเขียวให้กับผู้กำหนดนโยบายของประเทศในภูมิภาคเอเชียใน การกระตุ้นค่าเงิน ซึ่งจะช่วยให้อัตราจีดีพีเติบโตขึ้นตามการปรับตัวของความต้องการภายในประเทศ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
อาซิแอม เบอร์สัน—มาร์สเตลเลอร์
วราพร สมบูรณ์วรรณะ
สาธิดา ศรีธัญญาธรณ์
โทร 0 2252 9871
--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version