กรุงเทพฯ--30 พ.ย.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
ผลการศึกษาล่าสุดเผย เกษตรกรอินเดียได้รับผลผลิตและกำไร เพิ่มขึ้นจากการปลูกฝ้ายดัดแปร
พันธุกรรมหรือฝ้ายบีทีเมื่อเทียบกับผลจากการปลูกฝ้ายธรรมดาโดยสำรวจจากเกษตรกรที่เพาะปลูกฝ้ายบีทีเพื่อ
การค้าในปี 2545 และปี 2546 การศึกษาดังกล่าวใช้ชื่อว่า “ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจของฝ้ายดัดแปรพันธุ
กรรมในอินเดีย” ดำเนินงานโดย คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเรดดิ้ง ประเทศอังกฤษ ได้รับการตีพิมพ์ใน
วารสาร AgBioForum เมื่อเร็วๆ นี้
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ได้มีการศึกษาข้อมูลเรื่องฝ้ายบีทีจากแปลงทดลอง และแสดงผลว่า ฝ้ายบีทีให้
ผลผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 80 และมีการใช้สารฆ่าแมลงน้อยลงร้อยละ 33 อย่างไรก็ดี ผลการสำรวจเหล่า
นั้นได้รับการวิจารณ์ว่า ผลการศึกษาที่ได้จากแปลงทดลองปลูกนั้นไม่เพียงพอที่จะสะท้อนสภาพที่แท้จริงของพื้น
ที่เพาะปลูกในอินเดีย การศึกษาครั้งใหม่จึงได้รับการจัดทำขึ้น โดยมีฐานข้อมูลจากการเก็บตัวอย่างจาก
เกษตรกรที่ปลูกฝ้ายบีที และฝ้ายธรรมดาเพื่อการพาณิชย์ ในมลรัฐมหาราชตระจำนวน 2,709 คน ในปี
2545 และ 787 คน ในปี 2546 ครอบคลุมพื้นที่ 1,275 หมู่บ้านในภาคที่มีการเพาะพันธุ์ฝ้าย ซึ่งการ
สำรวจในครั้งนี้ได้แสดงผลด้านสภาพเกษตรกรรมและเศรษฐศาสตร์ที่เกษตรกรอินเดียประสบอยู่ได้ตรงกับ
ความเป็นจริง ทั้งนี้ การสำรวจโดยส่วนใหญ่ เก็บข้อมูลจากเกษตรกรที่ปลูกทั้งฝ้ายบีทีและฝ้ายธรรมดาใน
ไร่เดียวกัน ซึ่งช่วยให้ได้ผลการเปรียบเทียบที่ชัดเจนขึ้น ทั้งยังช่วยตัดทอนความผันผวนที่เกิดจาก การ
เปรียบเทียบพื้นที่และวิธีการเพาะปลูกที่ต่างกัน
ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ช่วยสนับสนุนผลการศึกษาครั้งอื่นๆ โดยผู้จัดทำรายงานฉบับนี้ระบุ
ว่า เมื่อเปรียบเทียบกับฝ้ายธรรมดา ฝ้ายบีทีให้ผลผลิตมากกว่าถึงร้อยละ 45 ในปี 2545 และมากกว่าถึง
ร้อยละ 63 ในปี 2546 ซึ่งหมายความถึงผลกำไรที่มากขึ้นสำหรับเกษตรกรที่ปลูกฝ้ายบีที นั่นคือ กำไร
ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 49 ในปี 2545 และร้อยละ 74 ในปี 2546 ยังมีรายงานเพิ่มเติมด้วยว่า เกษตรกรใช้
สเปรย์กำจัดหนอนฝ้ายลดลงร้อยละ 72 ในปี 2545 และร้อยละ 83 ในปี 2546
นายคงทัศน์ จันทร์ฉาย ผู้จัดการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ของบริษัท มอนซานโต้ ไทยแลนด์ จำกัด
กล่าวว่า “เราเชื่อว่าเกษตรกรชาวไทยจะได้รับโอกาสที่จะเพิ่มความหลากหลายให้กับพันธุ์พืช และเพิ่ม
ผลิตผลของตน โดยการใช้เทคโนโลยีที่ได้รับการวิจัย ศึกษาทดลองมาอย่างดี และแสดงให้เห็นแล้วว่า
ปลอดภัยในหลายประเทศและมีการใช้เพิ่มขึ้นทุกปี”
สิ่งที่จำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับการศึกษาชิ้นนี้ก็คือ ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลของสองปีแรกของการ
วางตลาดฝ้ายดัดแปรพันธุกรรม ซึ่งยังมีจำนวนจำกัด ความกดดันจากหนอนฝ้ายยังอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ
และเกษตรกรชาวอินเดียยังอยู่ในช่วงการศึกษาและสร้างความคุ้นเคยกับการปลูกฝ้ายพันธุ์นี้ ซึ่งมีความ
เป็นไปได้ว่าประโยชน์จากฝ้ายดัดแปรพันธุกรรมจะมีมากขึ้น เมื่อได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อ
เกษตรกรคุ้นเคยกับการเพาะปลูกพันธุ์ฝ้ายดังกล่าวมากขึ้น
นายคงทัศน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า “นอกจากผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและผลิตผลที่เพิ่มขึ้น การ
ปลูกฝ้ายบีทียังช่วยลดการใช้สารฆ่าแมลงลงถึงร้อยละ 50 ต่อฤดูการเก็บเกี่ยว ซึ่งมีผลถึงการลดลงของ
สารฆ่าแมลงตกค้างที่สามารถเข้าไปเจือปนในแหล่งน้ำได้”
ผลกระทบ 2545 2546
ฝ้ายบีที ฝ้ายธรรมดา ความต่าง ฝ้ายบีที ฝ้ายธรรมดา ความต่าง
ผลผลิต1 0.34 0.23 + 45 % * 0.35 0.22 + 63 % *
กำไร2 $6,055 $4,059 + 49 % * $7,945 $4,570 + 74 % *
สารฆ่าแมลง3 0.22 0.6 - 63 % * 0.11 0.49 - 77 % *
หน่วยวัดคือ ตัน/ไร่
หมายเหตุ
มอนซานโต้ (NYSE: MON) เป็นผู้นำระดับโลกในการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตร
เพื่อให้เกษตรกร
มีขีดความสามารถในการผลิตสูงขึ้นและผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพดีเยี่ยม ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
มอนซานโต้สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.monsanto.com
ราวด์อั้พ เร้ดดี้ และราวด์อั้พ เป็นเครื่องหมานการค้าจดทะเบียนของบริษัท มอนซานโต้ เทคโน
โลยี แอลแอลซี
รายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:
ศรีเบญจา เสมมีสุข หรือ สาธิดา ศรีธัญญาธรณ์
อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
โทร. 0-2252-9871
[email protected]จบ--
- พ.ย. ๒๕๖๗ กลุ่มทรู จัดแคมเปญ “Together Forever” เอาใจคู่รัก รับวันวาเลนไทน์ ชวนคู่หวานเปิดเบอร์ใหม่เสริมดวงความรัก จากทรูมูฟ เอช พร้อมรับฟรี บัตรภาพยนตร์True 4DX มูลค่า 1,200 บาท
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: กรมการค้าภายในเยี่ยมชมกิจการ “ร้านติดดาว” โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตร้านค้าปลีกของกลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์
- พ.ย. ๒๕๖๗ ประเทศไทยจัดงานประชุมนานาชาติเรื่องโรคเอดส์ ใช้ Live Streaming ถ่ายทอดสดการประชุมเป็นครั้งแรกแก่บุคลากรทางการแพทย์