6 ชาติ อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงร่วมผลักดันการพัฒนาระบบพลังงานระหว่างชาติร่วมกัน

อังคาร ๐๗ ธันวาคม ๒๐๐๔ ๑๒:๐๔
กรุงเทพฯ--7 ธ.ค.--สนพ.
นายชวลิต พิชาลัย ผู้อำนวยการสำนักวิเคราะห์แผนพลังงาน สำนักงานนโยบายและ แผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการประสานความร่วมมือการ ซื้อขายไฟฟ้าอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (RPTCC ครั้งที่ 2) และการประชุมคณะกรรมการเจ้าหน้าที่อาวุโสสาขาพลังงาน (EPF ครั้งที่ 11) โดยมีผู้แทนจาก 6 ประเทศ เข้าร่วม ได้แก่ จีน ลาว พม่า กัมพูชา เวียดนาม และไทย ณ โรงแรมแชงกรีล่า ประเทศไทย ว่าทุกประเทศเห็นด้วยกับแนวทางของหลักเกณฑ์การซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประเทศ การก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้า รวมถึงการกำหนดมาตรฐานทางด้านเทคนิค เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน
โดยที่ประชุมเห็นควรให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานอีก 2 คณะ ภายใต้คณะกรรมการ RPTCC ได้แก่ คณะทำงานวางแผนระบบ และคณะทำงานวางแผนด้านปฏิบัติการ ทำหน้าที่พิจารณาในรายละเอียดของโครงการ ความเป็นไปได้ของหลักเกณฑ์การซื้อขายไฟฟ้า และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดผลสู่การปฏิบัติต่อไป
ทั้งนี้ 6 ประเทศ ยังได้เห็นชอบตามข้อเสนอของประเทศไทย ที่จะให้มีการขยายขอบเขตความร่วมมือที่นอกเหนือจากสาขาพลังงานไปสู่พลังงานประเภทอื่น โดยเฉพาะการใช้พลังงานทดแทน ได้แก่ เอทานอล ไบโอดีเซล และพลังงานหมุนเวียน เป็นต้น ควบคู่กับการใช้ประโยชน์จากพลังงานอย่าง รู้คุณค่าและประหยัด ที่คำนึงถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยจะมีการส่งเสริมและจัดหาแหล่งเงินทุนจากเอกชนเข้ามาช่วยเหลือ
การประชุมครั้งนี้ มีความร่วมมือร่วมกันที่จะสำรวจทรัพยากรด้านพลังงานในอนุภูมิภาคเพิ่มเติม เช่น ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นต้น เพื่อนำมาใช้ประโยชน์และก่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานของทุกประเทศ นอกจากนั้นเห็นควรให้มีการจัดหาและขยายระบบไฟฟ้าให้มีใช้อย่างพอเพียงและทั่วถึง โดยเฉพาะตามชนบทหรือพื้นที่ห่างไกล ซึ่งอาจให้มีการแลกเปลี่ยนพลังไฟฟ้าระหว่างชายแดนกัน
นายชวลิต กล่าวต่อว่า ในการประชุมร่วมกันระหว่าง ไทย ลาว จีน รวมถึงผู้แทนจากธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย และผู้แทนจากธนาคารโลก เพื่อพิจารณาแนวทางการศึกษาความเป็นไปได้ในการส่งพลังไฟฟ้าจากประเทศจีนมายังประเทศไทย โดยก่อสร้างสายส่งผ่านประเทศลาวนั้น ผู้แทนจากธนาคารโลกเสนอที่จะให้ความช่วยเหลือในการศึกษาดังกล่าว คาดว่าจะใช้ระยะเวลาการศึกษาประมาณ 1 ปี ซึ่งโครงการนี้จะสนับสนุนความร่วมมือตามข้อตกลงในบันทึกความเข้าใจ (MOU) การ ซื้อไฟฟ้าจากจีน จำนวน 3,000 เมกะวัตต์
“ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการประชุมครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญของความร่วมมือในการจัดหาพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การกระจายแหล่งเชื้อเพลิง โดยเฉพาะพลังน้ำ และพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดและมีต้นทุนต่ำ เป็นการเพิ่มเสถียรภาพและความมั่นคงทางด้านพลังงานใน อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงทั้ง 6 ประเทศ ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และมีการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนต่อไป“--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ