ความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกและธนาคารโลก

พฤหัส ๐๙ ธันวาคม ๒๐๐๔ ๑๑:๕๗
กรุงเทพฯ--9 ธ.ค.--ธนบุรินทร์ เอเชีย แปซิฟิก
จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกและธนาคารโลกพบว่าอุบัติเหตุทางถนนคร่าชีวิตเยาวชนที่มีอายุตั้งแต่ 5-29 ปีเป็นอันดับหนึ่ง และจัดอยู่ในอันดับสองสำหรับกลุ่มคนอายุ 30-44 ปีทั่วโลก จากสถิติพบว่าในแต่ละปีอุบัติเหตุทางถนนได้คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกถึง 1.2 ล้านคนและยังทำให้มีผู้บาดเจ็บหรือต้องกลายเป็นอัมพาตหรือไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ถึง 20-50 ล้านคนหรือสูงกว่านั้น
ว่ากันว่าหากไม่มีการปรับปรุงในเรื่องความปลอดภัยในเรื่องการใช้ถนนอย่างปลอดภัยแล้วล่ะก็ คาดกันว่าจะมีอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนาเพิ่มสูงขึ้นราว 80 เปอร์เซนต์ในปี พ.ศ. 2563
อาจจะมีคำถามว่า “ถนนปลอดภัย” หมายความว่าอย่างไร เพราะจริง ๆ แล้ว “ถนนปลอดภัย” ไม่ได้หมายความถึงว่า “ไม่มีอุบัติเหตุ” แต่อย่างใด ในหลาย ๆ ประเทศได้มีการตระหนักและให้ความสำคัญเกี่ยวกับการปรับปรุงความปลอดภัยทางถนนเพื่อปกป้องทรัพย์สินและชีวิตของประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศซึ่งรวมถึงประเทศกัมพูชา คอสตา ริก้า กาน่า และประเทศไทยด้วย
ความสำเร็จต่าง ๆ เหล่านี้เกิดจากการปรับปรุงด้านการออกแบบยวดยานพาหนะและถนน โดยเน้นเรื่องการตราพระราชบัญญัติ ออกกฎหมายบังคับใช้ และการให้ข่าวสารเรื่องความสำคัญของการคาดเข็มขัดนิรภัยเมื่อนั่งโดยสารรถ หรือการสวมหมวกกันน็อก รวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของการขับขี่รถเร็ว และการเมาสุราในระหว่างขับขี่ ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการให้ข่าวสาร และการฝึกอบรม ซึ่งมีทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจัดกิจกรรมขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ผู้สนใจอยู่เสมอ ๆ
ประเทศไทย ก็เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเซียนที่เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องการพัฒนาถนนและความปลอดภัยของถนนและถือว่าเป็นภาระสำคัญของชาติ ในการนี้กระทรวงคมนาคมได้ประสานงานร่วมกับ แจแปน-โกลบอล โร้ด พาร์ทเนอร์ชิพ องค์การสหประชาชาติ และสถาบันแห่งเอเชีย หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า “สถาบันเอไอที” ในการริเริ่มพัฒนาปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน โดยการกระตุ้นให้ภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมผลักดัน นอกจากนั้น ยังมีการวางนโยบายและแผน ตลอดจนถึงการวางระบบถนนปลอดภัย (Safe Road System) อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
เนื่องจากความปลอดภัยทางถนนอยู่ในแผนงานแห่งชาติ แต่มีข้อสงสัยว่าตอนนี้มีความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว
ในการนี้ ฯพณฯ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายนิกร จำนง ซึ่งรับผิดชอบการคมนาคม ทางบก ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า “ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ก้าวแรกที่จำเป็นต้องทำคือ การหาสาเหตุของอุบัติเหตุที่แท้จริงว่ามีสาเหตุมาจากอะไร ขั้นตอนแรกต้องทราบว่าปัญหาคืออะไร และทำไมถึงมีอุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้นมากมาย และอะไรคือต้นเหตุของการเกิดอุบัติเหตุนั้น ๆ”
“สำหรับข้อแตกต่างที่เห็นหรือพบได้จากการเกิดอุบัติเหตุบนถนนหลวงคือสภาพของถนน หรืออาจจะเนื่องมาจากการขับขี่รถอย่างไม่ระมัดระวัง หรือยังขับรถไม่แข็งพอ ปัญหาที่เกิดขึ้นจากมูลเหตุต่าง ๆ กันย่อมต้องมีแนวทางแก้ไขที่ต่างกันไปแล้วแต่ข้อมูลและแนวทางในการแก้ไข” ฯพณฯ นิกรกล่าว
“จะเห็นได้ว่าบนท้องถนน มียานพาหนะหลากหลายบนท้องถนน ซึ่งนับเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ความแตกต่างของการใช้รถทางยุโรป และสหรัฐอเมริกากับทางแถบเอเชียอยู่ที่ในยุโรปและอเมริกาส่วนใหญ่จะใช้รถยนต์เพื่อการโดยสารมากกว่าใช้รถมอเตอร์ไซด์ ขณะที่ในทางตรงกันข้าม ผู้คนส่วนใหญ่ในแถบเอเชียจะใช้รถมอเตอร์ไซด์ ซึ่งถือได้ว่าไม่ค่อยปลอดภัย” ฯพณฯ นิกรกล่าวเสริม
จากการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นราว 75 เปอร์เซนต์เกิดจากรถมอเตอร์ไซด์ โดยปัจจุบันประเทศไทยกำลังมองหาความเป็นไปได้ในการแยกเลนมอเตอร์ไซด์ออกมาอีก 1 เลน เหมือนในประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีเลนรถมอเตอร์ไซด์แยกออกมาต่างหาก ซึ่งช่วยลดอุบัติเหตุทางถนนได้เป็นอย่างมากระหว่างอุบัติเหตุทางรถยนต์และรถมอเตอร์ไซด์ ในการนี้ สำหรับในประเทศ
ไทย รัฐบาลกำลังมองหาความเป็นไปได้การปรับกฎหมายการจราจร และกฎข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อหา
หนทางลดอุบัติเหตุ ซึ่งถือเป็นอีกก้าวหนึ่งในการนำมาตรการการตรวจเช็คความเร็วในการขับขี่โดยการ ติดตั้งกล้องจับความเร็วในการขับขี่ ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศในแถบยุโรปได้มีการใช้กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนนได้เป็นอย่างดี ซึ่งคาดว่าในประเทศไทยก็น่าจะสามารถลดอุบุติเหตุได้ด้วยเช่นกัน
ฯพณฯ นิกรกล่าวย้ำว่า “เราต้องการที่จะเจาะประเด็นดังกล่าว แต่ปัจจัยหลักอยู่ที่ว่าเราต้องการพัฒนาถนนที่สามารถรองรับการจราจรทุกรูปแบบ ถนนในบ้านเราได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับการจราจรในแถบเอเชีย ขณะที่การก่อสร้างถนนในบ้านเราเป็นแบบยุโรป ซึ่งมีความแตกต่างกันในเรื่องการจราจรเนื่องจากมีจำนวนรถยนต์เป็นจำนวนมาก จึงเป็นเรื่องยากสำหรับการจราจรของรถมอเตอร์ไซด์ ไม่ใช่เรื่องที่ว่าผู้คนจะต้องปรับตัวตามสภาพของถนนหนทาง ไม่มีถนนที่ไหนที่จะปรับให้เข้ากับผู้คนที่ใช้ถนน” ฯพณฯ นิกรกล่าว
การปลูกฝังและการจัดการเรียนการสอนในเรื่องกฎจราจรควรเริ่มตั้งแต่เด็กในวัยเรียน การเริ่มต้นจากการจัดทำหลักสูตรการเรียนเรื่องความปลอดภัยทางการจราจรในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา ระดับวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยจะสามารถช่วยส่งเสริมและพิสูจน์ให้เห็นถึงกลยุทธ์และแนวทางสำคัญในการลดอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้
จากสถิติของกระทรวงสาธาราณสุขเกี่ยวกับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ในช่วงระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2546 จนถึง 2 มกราคม 2547 พบว่า 39.3 เปอร์เซนต์ของอุบัติเหตุทางถนนนั้น จะมีผู้ได้รับบาดเจ็บต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล โดยในจำนวนนี้ผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี มีอัตราสูงสุดของจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด ในเรื่องนี้ ทางภาครัฐคาดหวังในการลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในช่วงปีใหม่ซึ่งการขับรถโดยระมัดระวังโดยการไม่ขับรถเร็วเกินกว่าที่กฏหมายกำหนด หรือการขับรถในขณะมึนเมาสุรา ดังจะเห็นได้ว่าภาครัฐได้เข้มงวดในเรื่องนี้และเอาจริงเอาจังเป็นอย่างมาก
นอกจากนั้น จากการที่ประเทศไทย โดยกระทรวงคมนาคมและสมาคมทางหลวงแห่งประเทศไทย ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดประชุมนานาชาติ “อินเตอร์ เนชั่นแนล โร้ด เฟดเดอเรชั่น เวิลด์ มีตติ้ง 2005 ครั้งที่ 15” (International Road Federation World Meeting 2005) และ อินเตอร์ทราฟฟิก เอเชีย 2005 (Intertraffic Asia 2005 Exhibition) ระหว่างวันที่ 14-18 มิถุนายน 2548 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ซึ่งรัฐบาลไทยถือเป็นวาระแห่งชาติ ที่จะเป็นเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในกิจการคมนาคมของประเทศไทย รวมทั้งยังจะเป็นการช่วยยกระดับมาตรฐานการคมนาคมของไทยให้เจริญทัดเทียมนานาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและผลงานวิจัยในเรื่องความปลอดภัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับถนนจากผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย
ดังนั้น อย่าลืมร่วมกันเป็นเจ้าภาพต้อนรับสมาชิกสมาพันธ์ทางหลวงนานาชาติและผู้ที่จะเข้ามาร่วมประชุมจากกว่า 3,000 คน จาก 70 ประเทศเพื่อศักดิ์และศรีของประเทศไทย.
สื่อมวลชนต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
เกษมศรี ยูเฟมิโย / ยุวดี ชมบุญ
บริษัท ธนบุรินทร์ เอเชีย แปซิฟิก จำกัด
โทรศัพท์ 02 231 6158-9 โทรสาร 02 231 6230
อีเมล์ [email protected] และ [email protected]
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ