กรุงเทพฯ--27 ธ.ค.--Aziam Burson-Marsteller
บทบาทของภูมิภาคเอเชีย
ภูมิภาคเอเชียมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการถ่วงดุลเศรษฐกิจโลก
เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเด่นชัดนับตั้งแต่ช่วงวิกฤติ
ทางการเงินใน ปี 2540-2541 เป็นต้นมา กล่าวคือ ภาคการเงินและภาคเอกชนในภูมิภาคมีการปรับตัวไป
ในทิศทางที่ดีขึ้น จุดยืนทางการค้าในต่างประเทศมีเสถียรภาพ และจีดีพีของประเทศต่างๆ มีการปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นมากกว่าก่อนช่วงวิกฤติ
อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงคือ ภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ยังคงดำเนิน
นโยบายการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเร่งการส่งออก ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลในระดับสูงติดต่อกัน
เป็นระยะเวลา 7 ปี และสกุลเงินที่อ่อนค่ากว่าที่ควรจะเป็นยิ่งเป็นส่วนเสริมให้เกินดุลมากขึ้นซึ่งจากนี้ไป
สถานการณ์จะเริ่มเปลี่ยนแปลง
โดยจากแรงกดดันภายนอกและความมั่นใจที่เพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชียทำให้ธนาคารกลางใน
หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียเริ่มปล่อยให้ค่าเงินของประเทศตนแข็งค่าขึ้น ซึ่ง เลแมน บราเดอร์ส เห็นว่า
การเคลื่อนไหวนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น โดยในปี 2548 ภูมิภาคเอเชียจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สุด
ในหลากหลายด้านนับตั้งแต่การเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ เสมือนการเปลี่ยนจากภาวะวิกฤติกลับสู่ภาวะที่มี
เสถียรภาพ เลแมน บราเดอร์ส คาดการณ์ว่า ค่าเงินสกุลหลักของเอเชียจะแข็งค่าเพิ่มขึ้นขณะที่อัตราดอก
เบี้ยจะลดต่ำลง ตลอดจนความต้องการภายในประเทศจะดีดตัวพุ่งสูงขึ้นขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลง
ปัจจัยพื้นฐานมีความแข็งแกร่งมากขึ้น
ภูมิภาคเอเชียมีความแปรปรวนจากปัจจัยภายนอกในระดับต่ำ เนื่องจากประเทศต่างๆ ในภูมิ
ภาคเอเชียมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล และมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นเหนือระดับพอเพียง นอก
จากนี้ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจตลอด 7 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ภาคเอกชนและภาคการเงินของ
ภูมิภาคมีการปรับตัวที่ดีขึ้นมาก แม้ว่าจะไม่ได้พุ่งขึ้นสู่ระดับที่ดีที่สุดก็ตาม ทำให้ภูมิภาคเอเชียมีความสามารถใน
การทำกำไรและมีงบดุลที่ดีขึ้น รวมทั้งมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนลดลงและสอดคล้องตามมาตรฐานสากล นอกจาก
นี้ การที่ธนาคารในภูมิภาคเอเชียได้ให้ความสำคัญกับประเด็นความเสี่ยงในการให้สินเชื่อส่งผลให้ธนาคารมี
เงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงโดยเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นประมาณร้อยละ 8 ขณะที่สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ปรับตัว
ลดลงประมาณร้อยละ 10 อย่างไรก็ดี ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียประสบความคืบหน้าในระดับที่แตกต่าง
กัน โดยภาคการเงินของจีน ไทย และฟิลิปปินส์ ยังคงมีความอ่อนแอแต่โดยรวมแล้ว การปรับเปลี่ยนโครง
สร้างทางเศรษฐกิจมีความคืบหน้าอย่างมาก อาทิ การลงทุนเพื่อดำเนินธุรกิจต่างๆ ที่ช่วยหนุนเสริมให้จีดีพี
ของภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ในปี 2547 ปรับตัวสูงขึ้นกว่าหลายปีที่ผ่านมาก่อนช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ และ
ธนาคารต่างๆ เริ่มปล่อยสินเชื่ออีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อภาคครัวเรือน
ทิศทางของสินเชื่อภาคครัวเรือน
ด้วยนโยบายการเปิดเสรีทางการเงิน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตของธุรกิจบัตรเครดิต)
และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่
ในระดับต่ำ นับเป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ภาคครัวเรือนในภูมิภาคเอเชียมีการกู้ยืมมากขึ้น ซึ่งปรา
กฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นแล้วในประเทศเกาหลีที่มีการกู้ยืมมากเกินไปจนทำให้เกิดวิกฤติการณ์บัตรเครดิตขึ้น
ในปี 2545 อย่างไรก็ตาม
การกู้ยืมสินเชื่อของภาคครัวเรือนในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดย
ยังมีอัตราการออมเงินที่สูง
การขยายตัวของชนชั้นกลาง
เมื่อพิจารณาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ เลแมน บราเดอร์ส คาดว่า รายได้ต่อหัวโดยเฉลี่ย
ของภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 5,770 เหรียญสหรัฐในปี 2541 เป็น 7,470
เหรียญสหรัฐในปี 2547 โดยรายได้
ส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ความต้องการซื้อสินค้าภายในประเทศขยายตัวอย่างมาก โดยเฉพาะ
ในประเทศจีน ซึ่งมีจำนวนโทรศัพท์มือถือในทุกๆ 100 ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเพิ่มขึ้นจาก 3 เครื่อง
ในปี 2541 เป็น 109 เครื่อง
ในปัจจุบัน นอกจากนี้ ปริมาณนักท่องเที่ยวชาวจีนยังเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2546 ชาวจีนเดิน
ทางไปท่องเที่ยว
ในต่างประเทศสูงถึง 20 ล้านคน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีจำนวนสูงกว่านักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น
และมีแนวโน้มที่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนจะพุ่งสูงถึง 24 ล้านคนในปี 2547
แนวโน้มพฤติกรรมของประชากรวัยทำงานรุ่นใหม่
สัดส่วนของประชากรวัยทำงานในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างเด่นชัด
ซึ่งแตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆ ของโลก และเมื่อเทียบกับรุ่นบิดามารดาที่มีความประหยัดมัธยัสถ์ ประชากรรุ่น
ใหม่ในภูมิภาคเอเชียจะใช้ชีวิตแบบเสรีมากขึ้น โดยแยกออกจากครอบครัวบิดามารดาเพื่อมาใช้ชีวิตอย่าง
อิสระ และมีการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวและกิจกรรมยามว่างเพิ่มขึ้น
การขยายตัวของสังคมเมืองที่รวดเร็ว
ประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกประมาณร้อยละ 40 อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง ซึ่งถือเป็น
สัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำ
เมื่อเทียบกับภูมิภาคละตินอเมริกาและสหรัฐอเมริกาที่มีอัตราการขยายตัวของชุมชนเมืองประ
มาณร้อยละ 75 และ 60 ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) กำลังมีการขยายตัวของสัง
คมเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากมีการบริหารจัดการที่ดีแล้วจะส่งผลให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวและ
เพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ (Economy of scale) ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นในการสร้างผลกำไรและ
รายได้สูงขึ้น ทั้งนี้ ธนาคารโลก คาดการณ์ว่า ประชากรในสังคมเมืองของภูมิภาคเอเชียจะเพิ่มขึ้นถึง
500 ล้านคนในระหว่างปี 2543 — 2568
การคาดการณ์การขยายตัวของจีดีพีในปี 2548
ประเทศที่มีการเติบโตของจีดีพีในระดับสูง เลแมน การประมาณการของตลาดโดยรวม ความแตกต่าง
บราเดอร์ส (ร้อยละ)
ฮ่องกง 5.5 4.5 1
อินโดนีเซีย 5.8 4.9 0.9
ไต้หวัน 5 4.2 0.8
เกาหลีใต้ 4.9 4.1 0.8
มาเลเซีย 6 5.3 0.7
ไทย 6 5.6 0.4
จีน 8.3 8 0.3
ประเทศที่มีการเติบโตของจีดีพีในระดับปานกลาง
สิงคโปร์ 4.5 4.4 0.1
ประเทศที่มีการเติบโตของจีดีพีในระดับต่ำ
ฟิลิปปินส์ 3.7 4.2 -0.5
การคาดการณ์จีดีพีที่แท้จริงและดัชนีราคาผู้บริโภค*
จีดีพีที่แท้จริง ดัชนีราคาผู้บริโภค
(การเติบโตเทียบเป็นร้อยละปีต่อปี) (การเติบโตเทียบเป็นร้อยละปีต่อปี)
ไตรมาส 3 ปี 2547 2547 2548 2549 พฤศจิกายน 2547** 2547 2548 2549
จีน 9.1 9.2 8.3 8.5 2.8 4.1 3.5 2.5
ฮ่องกง 7.2 8 5.5 4.8 0.2 -0.4 2.5 4.5
อินโดนีเซีย 5 4.9 5.8 6.5 6.2 6.2 6.4 5.5
มาเลเซีย 6.8 7 6 6 2.1 1.5 3 3.5
ฟิลิปปินส์ 6.3 5.9 3.7 4 8.2 5.9 7.5 7.5
สิงคโปร์ 7.5 8 4.5 4.3 2 1.7 1.8 1.5
เกาหลีใต้ 4.6 4.3 4.9 5.5 3.3 3.8 3.4 3
ไต้หวัน 5.3 5.7 5 5 1.5 1.9 3 2.5
ไทย 6 6 6 6 3 2.8 3 2.5
ภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) 7.1 7.2 6.5 6.7 2.9 3.4 3.5 3
* เป็นการคาดการณ์แบบ modal forecast ซึ่งเป็นการคาดการณ์ผลที่มีแนวโน้มเป็นไปได้
มากที่สุด
** ดัชนีราคาผู้บริโภคของฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์ เป็นข้อมูลประจำเดือนตุลาคม
Satida Sritunyatorn
Media Relations Manager
Aziam Burson-Marsteller
Tel: 0 2252 9871 x122
Fax: 0 2254 8353--จบ--