ปรส. เริ่มจำหน่ายสินทรัพย์หลักประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัยจัดกลุ่มเดียว

พุธ ๒๔ มิถุนายน ๑๙๙๘ ๑๑:๕๓
กรุงเทพ 24 มิ.ย.--ปรส.
องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ประกาศจำหน่ายสินทรัพย์หลักครั้งที่ 2 ของสถาบันการเงินที่ถูกสั่งระงับการดำเนินกิจการทั้ง 56 แห่ง ในวันนี้ สินทรัพย์หลักที่จำหน่ายครั้งนี้ ประกอบด้วยสัญญาสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงิน 53 แห่ง จำนวน 17,620 สัญญา โดยจัดจำหน่ายเป็นกลุ่มเดียว มียอดลูกหนี้คงค้างประมาณ 24,400 ล้านบาท ปรส.ได้แต่งตั้งบริษัท เลแมน บราเดอร์ส รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ในการจำหน่ายสินทรัพย์หลักครั้งนี้
สำหรับผู้สนใจศึกษา ข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์ประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัยและขั้นตอนการประมูลสามารถขอรับเอกสารดังกล่าวได้ ณ ที่ทำการปรส. หรือดูจากเว็บไซต์ของปรส.ได้ที่ www.fra.or.th ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2541 ผู้สนใจเข้าประมูลจะต้องยื่นแบบคำขอใช้แฟ้มข้อมูลพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินการเป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท ซึ่งไม่สามารถขอคืนได้ เพื่อรับแฟ้มข้อมูลการจำหน่ายที่จัดทำในรูปซีดีรอม ซึ่งจะให้รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับสินเชื่อที่อยู่อาศัยแต่ละสัญญาที่นำออกจำหน่าย
ปรส. จะเปิดห้องเก็บข้อมูลซึ่งมีแฟ้มสินเชื่อที่อยู่อาศัยและเอกสารข้อมูลอื่น ๆ ให้ผู้เข้าประมูลที่ ยื่นแบบคำขอ และชำระค่าธรรมเนียม เป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท ซึ่งไม่สามารถรับคืนได้ รวมทั้งวางเงินมัดจำจำนวน 10 ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว เข้าใช้บริการในห้องเก็บข้อมูลได้ระหว่าง วันที่ 11 กรกฎาคม ถึง 29 กรกฎาคม 2541 ผู้เข้าประมูลจะต้องยื่นซองเสนอราคา พร้อมกับ วางเงินมัดจำการประมูลเป็นจำนวนร้อยละ 2 ของราคาประมูลภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2541 เวลา 10.00 น.และคาดว่าผู้ชนะการประมูลสามารถลงนามในสัญญาซื้อขายได้ภายใน 7 วันนับแต่วันปิดประมูลการจำหน่ายสัญญาสินเชื่อที่อยู่อาศัยนี้ นับเป็นการจำหน่ายสินทรัพย์หลักครั้งที่ 2 ของปรส. เนื่องจากกระบวนการจำหน่ายสินทรัพย์หลักครั้งแรก ซึ่งประกอบด้วยสัญญาสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์รวม 336,973 สัญญา ซึ่งมีจำนวนยอดลูกหนี้คงค้างประมาณ 52,000 ล้านบาท ใกล้จะเสร็จ
สมบูรณ์แล้ว โดยปรส. จะปิดรับซองประมูลสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในวันที่ 25 มิถุนายน 2541 และจะมีการจำหน่ายสินทรัพย์หลักอื่นๆ ในลำดับต่อไป นอกจากสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อ เช่าซื้อรถยนต์แล้ว สินทรัพย์หลักของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ 56 แห่ง ยังรวมถึง สินเชื่อธุรกิจ และสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ และอสังหาริมทรัพย์ สินเชื่อธุรกิจหลักทรัพย์ และสินเชื่อรายย่อย ซึ่ง ปรส.คาดว่าจะจำหน่ายสินทรัพย์หลักทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในปี 2541
นายอมเรศ ศิลาอ่อน ประธานกรรมการ ปรส. กล่าวว่า "การประกาศจำหน่ายสินเชื่อที่อยู่อาศัย ในขณะที่การจำหน่ายสินทรัพย์หลักประเภทสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์กำลังจะเสร็จสิ้นลงและกระบวนการจำหน่ายสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลักก็ใกล้จะเสร็จสิ้นแล้วนั้น นับว่า ปรส. ได้ทำงานรุดหน้าไปมากเทียบเท่ามาตรฐานสากล ทั้งนี้ ปรส. ต้องการให้ภารกิจนี้เสร็จสมบูรณ์ในปลายปี 2541"
หากเปรียบเทียบกับองค์กรอื่นๆ การทำงานของ ปรส. นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงการจำหน่ายสินทรัพย์หลักครั้งแรก นับว่าสามารถปฏิบัติภารกิจได้รวดเร็วกว่าองค์กรอื่นใดในโลก ตัวอย่างเช่น อาร์ทีซี (Resolution Trust Corp.) ซึ่งทำหน้าที่จำหน่ายสินทรัพย์ที่ทางการยึดจากสถาบันการเงินประเภท Savings & Loans ในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินในสหรัฐอเมริกาในระหว่างปี ค.ศ. 1980-9 ปรากฏว่าอาร์ทีซีใช้เวลาถึง 19 เดือน ศูนย์การจำหน่ายแห่งชาติก็ยังไม่สามารถจำหน่ายสินทรัพย์ครั้งแรกได้ ส่วนในเม็กซิโก ก็ใช้เวลามากกว่า 31 เดือน จึงสามารถจำหน่ายสินทรัพย์ครั้งแรกได้ โดยสินทรัพย์ดังกล่าวมีมูลค่าเพียง 19 ล้านเหรียญสหรัฐ”
กระบวนการจำหน่ายสินทรัพย์หลักของ ปรส. นั้น ความจริงใช้เวลาเพียง5-6 สัปดาห์เท่านั้น นับตั้งแต่วันประกาศการจำหน่ายจนถึงวันปิดรับซองเสนอราคา แต่ ปรส. ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีจำนวนมหาศาล การจำหน่ายสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งมี 17,620 สัญญา และสัญญาเช่าซื้อจำนวน 336,973 สัญญา ข้อมูลเกี่ยวกับสัญญาเหล่านี้ได้รวบรวมจากสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่ง ซึ่งมีระบบการทำรายงานและการจัดเก็บเอกสารแตกต่างกันไป รวมทั้งมีพนักงานจำนวนจำกัด ข้อมูลที่รวบรวมได้ต้องถูกจัดแบ่งเป็นประเภททำการตรวจสอบความถูกต้อง และวิเคราะห์เพื่อแยกความแตกต่าง และจัดหมวดหมู่ ให้เหมาะสมเพื่อการจำหน่ายและเพื่อให้เป็นที่สนใจของผู้ลงทุนให้มากที่สุด
นายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ เลขาธิการ ปรส. กล่าวว่า จากการวิเคราะห์กลุ่มสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ ปรส. จะจัดจำหน่ายครั้งนี้ พบว่าสินเชื่อดังกล่าวมียอดหนี้คงค้างมูลค่าโดยเฉลี่ยประมาณ 1.38 ล้านบาท ทั้งนี้ประมาณร้อยละ 83 ของสินเชื่อทั้งหมด มียอดลูกหนี้คงค้างเป็นจำนวนเงินตั้งแต่ 0-2 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของสินเชื่อ คิดเป็นร้อยละ 16.5 โดยร้อยละ 84 ของสินเชื่อทั้งหมด คิดดอกเบี้ยเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว สินเชื่อที่อยู่อาศัยที่นำออกจำหน่ายนี้ มีอายุสัญญาเฉลี่ยประมาณ 166 เดือน
สินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ เป็นสินเชื่อที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯและเขตปริมณฑล ถึงร้อยละ 81 เขตภาคกลาง ร้อยละ 6 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 3 ภาคใต้ ร้อยละ 3 ภาคเหนือ ร้อยละ 3 ภาคตะวันออก ร้อยละ 2 และส่วนที่เหลือไม่สามารถระบุได้
หากพิจารณายอดลูกหนี้คงค้างแบ่งตามประเภทของอสังหาริมทรัพย์ จะพบว่า สัญญาสินเชื่อ บ้านเดี่ยว มีจำนวนร้อยละ 33 ทาวน์เฮ้าส์ ร้อยละ 22 ที่ดินเปล่า ร้อยละ 19 คอนโดมิเนียม ร้อยละ 18 สำนักงานขนาดเล็ก และบ้านกึ่งสำนักงาน ร้อยละ 7 และอสังหาริมทรัพย์ประเภท อื่นๆ อีกร้อยละ 1
(ยังมีต่อ)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ