ผลเจรจาหาทางออกการก่อสร้างถนนเชื่อมวิภาฯ-พหลฯ - หลังม.เกษตร น่าพอใจ

ศุกร์ ๐๑ เมษายน ๒๐๐๕ ๑๔:๕๕
กรุงเทพฯ--1 เม.ย.--กทม.
นายอภิรัตน์ ศิวพรพิทักษ์ รองผู้อำนวยการสำนักการโยธา กทม. เป็นประธานการประชุมหารือวิธีการเคลื่อนย้ายผู้ได้รับ ผลกระทบจากการก่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายถนนเลียบคลองบางเขน โดยมีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานเขต บางเขน กองจัดกรรมสิทธิ์ สำนักการโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การเคหะแห่งชาติ กรมประมง กรมส่งเสริมวิชาการเกษตร เป็นต้น รวมทั้งผู้แทนชาวชุมชนที่ได้รับผลกระทบร่วมหารือ เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 48 ที่ห้องประชุมสำนักงานเขตจตุจักร
เพื่อบรรเทาปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างฯ การเคหะแห่งชาติได้ก่อสร้างแฟลตจำนวน 8 อาคาร รวม 800 หน่วย เพื่อรองรับประชาชนที่จะต้องถูกรื้อย้าย แต่ผู้ได้รับผลกระทบยังไม่ยินยอมย้ายขึ้นไปอยู่บนแฟลตดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าพื้นที่ใช้สอยของแต่ละห้องคับแคบไม่เหมาะสมกับขนาดครอบครัวของตน ประกอบกับผู้ได้รับผลกระทบฯ เกรงว่าจะเสียสิทธิในการเข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคงหากยินยอมย้ายขึ้นไปอยู่บนแฟลต ซึ่งการเข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคงนั้นอยู่ระหว่างประสานงานกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เพื่อขอให้ พอช. เป็นตัวกลางเจรจาเช่าที่ดินราชพัสดุบริเวณใกล้เคียง
อย่างไรก็ดีที่ผ่านมาชาวชุมชนได้รวมตัวต่อต้านไม่ยินยอมให้กรุงเทพมหานครเข้าสำรวจพื้นที่เพื่อประมาณค่าช่วยเหลือ ในการรื้อย้าย แต่จากการหารือครั้งนี้ได้มีการตกลงว่าจะลงทะเบียนรับรองสิทธิชาวชุมชนเพื่อเข้าร่วมโครงการบ้านมั่นคง และกรุงเทพมหานครจะพยายามจัดหางบประมาณช่วยเหลือผู้ที่ยินดีให้ความร่วมมือรื้อย้ายออกจากพื้นที่เพื่อให้การก่อสร้างดำเนินการ ต่อไปได้ โดยชาวชุมชนได้ยินยอมให้กรุงเทพมหานครจะเข้าไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ ซึ่งจะเข้าดำเนินการในวันเสาร์ที่ 9 เม.ย. 48 เวลาประมาณ 10.00 น.
ถนนเลียบคลองบางเขนเป็นถนนเชื่อมระหว่างถนนวิภาวดีรังสิตบริเวณสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กับถนนพหลโยธินบริเวณซอยพหลโยธิน 49/1 โดยการก่อสร้างถนนดังกล่าวเป็นตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจร เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร บนถนนงามวงศ์วานบริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันการจราจรแออัดและคับคั่งมาก สำหรับการก่อสร้างถนนดังกล่าวแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 จากถนนวิภาวดีฯ เข้าไปประมาณ 500 เมตร ระยะที่ 2 จากจุดสิ้นสุดโครงการระยะที่ 1 ถึงบริเวณกรมประมง ระยะทางประมาณ 600 เมตร และระยะที่ 3 จากจุดสิ้นสุดระยะที่ 2 ถึงถนนพหลโยธิน ระยะทางประมาณ 1,000 เมตร ซึ่งขณะนี้กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าวในระยะที่ 1 ไปได้ประมาณกว่า 300 เมตร แต่มีอุปสรรคไม่สามารถดำเนินการต่อได้ เนื่องจากติดปัญหาชุมชนบุกรุกบริเวณริมคลองบางเขนบางส่วนในแนวการก่อสร้างระยะที่ 1 และ 2 ไม่ยอมรื้อย้ายออกจากแนวเขตทางก่อสร้าง ส่งผลให้การก่อสร้างในระยะที่ 2 และ 3 ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากเงื่อนไขการเบิกจ่ายงบประมาณกำหนดว่าผู้รับเหมาก่อสร้างจะต้องเข้าพื้นที่ได้ก่อน จึงจะสามารถเบิกจ่าย งบประมาณได้ ทั้งนี้หากการก่อสร้างดำเนินการแล้วเสร็จจะส่งผลให้การจราจรรอบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และบริเวณเกี่ยวเนื่องโดยรอบบริเวณดังกล่าวคล่องตัวมากขึ้น--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ