"คางคกผัดเผ็ด"...อาหารที่ไม่ควรลอง

จันทร์ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๙๙๘ ๑๙:๐๔
กรุงเทพ--16 ก.พ.--กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เตือนนักเปิบพิศดาร "คางคกผัดเผ็ด" อาจได้รับพิษตกค้างจนถึงตาย เพราะพิษในตัวคางคกเป็นพิษที่ทนต่อความร้อนแม้จะปรุงสุกแล้วก็ยังเป็นอันตราย จึงไม่ควรนำเนื้อหรือส่วนต่าง ๆ ของคางคกมารับประทาน
ดร.เรณู โกยสุโข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยถึงกรณีที่มีผู้บริโภค "คางคกผัดเผ็ด" แล้วเกิดอาการอาหารเป็นพิษจนถึงแก่ความตายว่า โดยปกติชาวชนบทจะบริโภคคางคกค่อนข้างน้อย จึงมักไม่ค่อยมีรายงานการเกิดพิษ แต่จากการศึกษาของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทราบว่า คางคกเป็นสัตว์ในตระกูล มูโฟนิดี (Bufonidae) ประเภทเดียวกับกบ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ คางคกตามบ้านทั่วไปและคางคกพันธุ์ใหญ่ ที่ผิวหนังบริเวณใกล้หูของคางคกทั้ง 2 ชนิดจะมีต่อมที่เรียกว่า "พาไรทอยด์" ซึ่งต่อมนี้สามารถขับน้ำเมือกที่มีสารพิษออกมาได้หลายอย่าง และยังพบสารพิษในเลือดของคางคกทั้ง 2 ชนิด ซึ่งสารพิษที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ บูโฟไดอีน สารดิจิทาลอยด์ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ต่อหัวใจและสารอัลคาลอยด์อีกหลายชนิดที่มีปริมาณน้อย รวมทั้งสารประกอบชนิดอื่นที่มีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองและคันบริเวณผิวหนัง ซึ่งสารพิษดังกล่าวอยู่บริเวณผิวหนังของตัวคางคก
สารพิษประเภท บูโฟไดอีนและดิจิทาลอยด์นี้เป็นสารพิษชนิดที่ทนต่อความร้อน ถึงแม้ผู้บริโภคจะปรุงสุกแล้วสารพิษดังกล่าวก็จะยังคงอยู่และมีอันตรายเท่าเดิม เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วหลายชั่วโมงจึงจะมีอาการเกิดพิษ โดยเริ่มจาก คลื่นไส้ อาเจียร เบื่ออาหาร ปวดท้อง หรือถ้ารับประทานมากเกินไปก็จะทำให้การไหลเวียนของโลหิตไม่ดี เกิดอาการอ่อนเพลีย เวียนศรีษะ และมีอาการทางระบบรับความรู้สึก เช่น เพ้อ สับสน ง่วงซึม ความจำเลอะเลือน หมดสติและตายในที่สุด
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวในตอนท้ายว่า ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยที่เกิดจากการบริโภคชิ้นส่วนต่าง ๆ ของคางคก แพทย์มักจะใช้วิธีการล้างท้องเพื่อไล่อาหารที่ตกค้างอยู่ในกระเพาะอาหารออกให้หมด และรับประทานโปตัสเซียมคลอไรด์ โดยผสมในน้ำผลไม้ให้ดื่มทุก ๆ 4 ชั่วโมง ถ้าผู้ป่วยดื่มไม่ได้ก็จะต้องให้ทางหลอดเลือดดำ โดยให้ตามขนาดที่เหมาะสมกับระดับโปตัสเซียมในเลือดที่ลดลง หรือรักษาตามอาการ เช่น ถ้าชีพจรเต้นช้า ก็ให้อะโทรปีน ถ้าผู้ป่วยอาเจียนหรือถ่ายอุจจาระบ่อยก็ให้มอร์ฟีน ซัลเฟต และให้ยาอื่น ๆ ตามอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ขณะนี้ยังไม่มียารักษาหรือแก้พิษที่เกิดจากการบริโภคคางคกโดยเฉพาะได้ ผู้บริโภคจึงไม่ควรบริโภคเนื้อหรือชิ้นส่วนใด ๆ ของคางคก และหากพบผู้ป่วยที่เกิดจากสาเหตุดังกล่าวก็ควรนำผู้ป่วยส่งแพทย์โดยเร็ว เพื่อแพทย์จะได้รักษาผู้ป่วยได้ทันท่วงทีต่อไป--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version