ญี่ปุ่นและไทยร่วมสนับสนุนสินเชื่อให้แก่โครงการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนของ SSM

อังคาร ๓๐ มิถุนายน ๑๙๙๘ ๑๕:๐๘
กรุงเทพ--30 มิ.ย.--บ.สยามสตริปมิลล์
กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (MITI) สถาบันการเงินญี่ปุ่นและบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ เยน และบาท รวมทั้งสิ้น 17,930 ล้านบาท ให้แก่บริษัท สยามสตริปมิลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ SSM ซึ่งนับเป็นสินเชื่อที่มีวงเงินสูงที่สุดเท่าที่ MITI เคยอนุมัติให้แก่ภาคเอกชนไทย การสนับสนุนครั้งนี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาวะการลงทุนของประเทศ
นายสมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามสตริปมิลล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สยามสตริปมิลล์ เป็นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 5 พันล้านบาท ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารซิตี้แบงก์ (ญี่ปุ่น) อิโตเชียว คอร์เปอเรชั่น (ญี่ปุ่น) ธนาคาร ซูมิโตโม (ญี่ปุ่น) เป็นวงเงิน 380 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น MITI ให้การค้ำประกัน นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า (ญี่ปุ่น) J-Exim อีกจำนวน 4 พันล้านเยน และจากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยอีก 390 ล้านบาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยระหว่าง 5% ถึง 8% เงินกู้ดังกล่าวบริษัทฯ จะนำไปใช้ในการดำเนินโครงการผลิตแผ่นเหล็กรีดร้อนชนิดม้วน โครงการดังกล่าวมีมูลค่าโครงการรวมทั้งสิ้นประมาณ 22,000 ล้านบาท โดยจะสามารถดำเนินการผลิตได้ประมาณเดือนมีนาคมปีหน้า
"การเข้าค้ำประกันวงเงินสินเชื่อของ MITI เป็นการแสดงความเชื่อมั่นต่อภาวะการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะที่กำลังปรับตัวอยู่นี้ทางประเทศญี่ปุ่นก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า มีความเชื่อมั่นต่อโอกาสและการเติบโตของเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ที่จะมีส่วนช่วยดึงเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศได้เป็นจำนวนมาก และวงเงินสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติครั้งนี้ยังเป็นจำนวนสูงสุดเท่าที่ประเทศญี่ปุ่นเคยอนุมัติให้แก่ภาคเอกชนไทย"
และเมื่อบ่ายวันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน ที่ผ่านมา มร.ฮิโรชิ โอตะ เอกอัครราชฑูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ชวน หลีกภัย ที่ทำเนียบรัฐบาลพร้อมด้วยคณะผู้แทนจาก MITI คณะตัวแทนการค้าญี่ปุ่น JETRO คณะผู้บริหารจากสถาบันการเงินที่ให้ความสนับสนุน ตลอดจนคณะผู้บริหารระดับสูงของบริษัท SSM นำโดยนายพงศ์ สารสิน ประธานกรรมการบริหาร นายสมศักดิ์ ลีสวัสดิ์ตระกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ดร.วีระ สุสังกรกาญจน์ กรรมการบริหาร ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยืนยันถึงความช่วยเหลือและสนับสนุนระหว่างทั้งสองประเทศที่มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกันมาโดยตลอด โดย ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรีได้แสดงความขอบคุณรัฐบาลญี่ปุ่นที่ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนภาคเอกชนไทย อันแสดงถึงนิมิตหมายที่ดีต่อภาวะการลงุทนของไทย และขอให้มีการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันนี้ในภาคอื่น ๆ อีก เช่น สาธารณูโภค พลังงาน ท่าเรือ ระบบบำบัดน้ำเสีย การขนส่ง และอื่น ๆ โดยในขณะเดียวกันรัฐบาลไทยพร้อมมุ่งการพัฒนาไปในทางเดียวกันโดยเฉพาะระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ และท้ายที่สุดท่านนายกยังให้ความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของไทย
บริษัท สยามสตริปมิลล์ จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในบริษัทในเครือของกลุ่มบริษัท SSP ก่อตั้งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 1995 และได้เป็นบริษัทมหาชน จำกัด เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 1995 โดยมีทุนจดทะเบียน 5 พันล้านบาท SSM ทำการผลิคแผ่นเหล็กรีดร้อนชนิดม้วน โดยมีกำลังการผลิต 1.5 ล้านตัน ในขั้นแรกและจะมีกำลังการผลิตเต็มที่ถึง 3 ล้านตัน โครงการนี้ได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI เมื่อเดือนพฤศจิกายน 1995 โรงงานดังกล่าว พร้อมเปิดดำเนินการได้ในราวเดือนมีนาคมปีหน้า
สัดส่วนผู้ถือหุ้นของบริษัท SSM ประกอบด้วย บริษัท อิโตเชียว คอร์ปอเรชั่น จำนวน 10% บริษัท นิปปอน พลานท์ เมเนจเมนท์ จำกัด (สิงคโปร์) จำนวน 10% และส่วนที่เหลือถือโดยกลุ่มบริษัท SSP และลูกค้าของ SSM
บริษัท SSM มีความมุ่งมั่นในการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนที่มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานสากลหลากหลายชนิด โดยมีโรงงานตั้งอยู่ที่อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง โดยลงนามในสัญญาระบบ turnkey ร่วมกันกับ บริษัท ซูมิโตโม บริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสตรี และบริษัทแมนเนสมานเดอแมก
บริษัทฯ จะทำการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนด้วยคุณภาพตามมาตรฐานสากลซึ่งมีขนาดความหนาตั้งแต่ 1.0 ถึง 12.0 มิลลิเมตร และความกว้างขนาด 900 ถึง 1,550 มิลลิเมตร โดยเฉพาะขนาดความหนาที่ 1.0 ถึง 1.8 มิลลิเมตร เป็นขนาดคุณภาพพิเศษเป็นที่ต้องการสูงในตลาดปัจจุบัน
"ผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนของบริษัทฯ จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการวัตถุดิบภายในประเทศและช่วยลดการนำเข้า นอกจากนี้ บริษัทฯ จะทำการส่งออกมากกว่า 50% ไปยังประเทศต่าง ๆ อีกด้วย" นายสมศักดิ์ กล่าว
ด้วยเทคโนโลยีของเครื่องจักรและการผลิตที่ทันสมัยที่สุด ได้ช่วยส่งเสริมให้บริษัทฯ ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กแผ่นรีดเย็นให้เป็นวัสดุหลักและวัสดุทดแทน และเหมาะสำหรับการใช้งานหลายประเภท อาทิ อุตสาหกรรมท่อเหล็ก อุตสาหกรรมเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ อุตสาหกรรมเหล็กแผ่นรีดเย็น ตู้คอนเทนเนอร์ ถังบรรจุก๊าซและอื่น ๆ อีกมากมาย
ระบบการผลิตที่ยืดหยุ่นคล่องตัว สามารถย่นระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตสินค้า สามารถดำเนินการผลิตในปริมาณน้อยและให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว โรงงานแห่งนี้ซึ่งมีระบบการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยช่วยให้ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มขีดความสมารถในการแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ นับว่าเป็นแนวโน้มที่ดีต่ออุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการยกระดับสินค้าของเราให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณศุภาดา ใจดี บริษัท สยามพีอาร์ คอนซัลแทนท์ จำกัด โทร.693-7835-8--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version